ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

Public Hearing หัวข้อ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ....

คำชี้แจงสำหรับการแสดงความคิดเห็น

การรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ....

คำชี้แจงสำหรับการแสดงความคิดเห็น

ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ วรรคสาม กำหนดให้
“รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว” และคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี  (นายวิษณุ  เครืองาม) กำกับดูแลให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินการเตรียมการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับผิดชอบการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมบุคคลของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗๖ วรรคสาม และมาตรา ๒๕๘ ข.(๔) ร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ

บัดนี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ ยกร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับ “เจาหนาที่ของรัฐ”ซึ่งครอบคลุมกลุมเปาหมายที่มีความหลากหลาย โดยจํานวนเจาหนาที่ของรัฐในภาพรวมมีประมาณ ๒.๕ ลานคน ประกอบดวย ขาราชการ ลูกจางประจํา พนักงานราชการ หรือพนักงานสวนทองถิ่นซึ่งมีตําแหนงหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือบุคคลผูปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหนวยงานของรัฐ.เจาพนักงานตามกฎหมายวาดวยลักษณะปกครองทองที่ และใหหมายความรวมถึง เจาหนาที่ลูกจาง หรือผูปฏิบัติงานประเภทอื่นของสวนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ
เจาหนาที่ ลูกจางในหนวยงานของรัฐ

2. กําหนดใหมีคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมของเจาหนาที่ของรัฐ (ก.ม.จ.)
ประกอบดวย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเปนประธาน ผูแทนคณะกรรมการขาราชการพลเรือน เปนรองประธานผูแทนองคกรกลางบริหารงานบุคคล นอกจากคณะกรรมการขาราชการพลเรือน ผูแทนคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผูแทนศูนยคุณธรรม (องคการมหาชน) และใหมีกรรมการผูทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแตงตั้งจากผูมีความรูความเชี่ยวชาญดานการบริหารทรัพยากรบุคคล ดานกฎหมาย ดานจิตวิทยา ดานสังคมวิทยาและดานการสงเสริมจริยธรรม ที่มีผลงานและความประพฤติดีเปนที่ประจักษมาแลว จํานวนไมเกินหาคน และใหเลขาธิการ ก.พ. เปนกรรมการและเลขานุการโดยตําแหนง

3. กําหนดใหหนวยงานของรัฐนําพฤติกรรมในการรักษาจริยธรรมไปใชในกระบวนการบริหารงานบุคคล เชน การทดลองปฏิบัติงาน การแตงตั้ง การเลื่อนตําแหนง และการใหบําเหน็จความชอบ
ซึ่งการนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใชในกระบวนการบริหารงานบุคคล อาจกระทบตอสิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดยเฉพาะในกรณีที่เจาหนาที่ของรัฐฝ่าฝืนจริยธรรมที่จะสงผลกระทบตอการพิจารณาใหคุณใหโทษ อาทิ การยายผูที่มีพฤติกรรมไมเหมาะสมหรือมีความเสี่ยงตอการฝาฝนจริยธรรม การนําพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใชประกอบการแตงตั้งตําแหนงระดับสูง (ปลัดกระทรวง อธิบดี) การสั่งไมเลื่อนเงินเดือน นอกจากนี้ การนําพฤติกรรมในการรักษาจริยธรรมไปใชในกระบวนการบริหารงานบุคคลดังกลาว อาจนําไปสูการพิจารณาดําเนินการทางวินัยตอเจาหนาที่ของรัฐในกรณีที่ไมปฏิบัติตามขอปฏิบัติ หรือฝาฝนประมวลจริยธรรม และทําใหเกิดความเสียหายแกราชการ

4. ในระหวางที่ยังไมไดมีการจัดทําประมวลจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หรือในระหวางที่ยังมิไดออกระเบียบหรือขอบังคับ ก.ม.จ. หรือกําหนดกรณีใด
เพื่อปฏิบัติการตามรางพระราชบัญญัติจริยธรรมเจาหนาที่ของรัฐ พ.ศ. .... ใหนําประมวลจริยธรรม
กฎ ระเบียบ หรือกรณีที่กําหนดไวแลวซึ่งใชอยูเดิมมาใชบังคับเทาที่ไมขัดหรือแยงกับรางพระราชบัญญัติจริยธรรมเจาหนาที่ของรัฐ พ.ศ. ....

ส่วนรับฟังความคิดเห็น

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดและแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พรบ.ฯ ได้ระหว่างวันที่ 5 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

 

ประเภทข่าว: 

Share this post

สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) องค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการ บริหารกำลังคนในราชการ ให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ