ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

การทำงานในฝรั่งเศสสำหรับนักศึกษา

การทำงานในฝรั่งเศส

1. รัฐบาลฝรั่งเศสอาจอนุญาตให้นักเรียนต่างต่างที่ถือวีซ่าแบบนักเรียนทำงานในระหว่างศึกษาได้แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ทั้งนี้กรณีที่ถือวีซ่านักเรียนถ้าประสงค์ทำงานทั่วไป ที่ไม่ใช่ในองค์กร หรือ บริษัทต่างๆ หรือ ต้องการทำงานแบบ Part-time ไม่ต้องทำการขออนุญาตทางการฝรั่งเศส

2. กรณีทำงานเนื่องจากเป็นข้อบังคับของหลักสูตรในการฝึกงานเพิ่มเติม หรือ Internship เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว(อย่างน้อยระดับMaster2) สามารถขออนุมัติเพื่อทำงานเป็นแบบวีซ่าชั่วคราวได้ไม่เกิน 6 เดือน

3. หรืออาจจะขอสมัครวีซ่าประเภท « Skills and talents residencey permit » หากมีโครงการหรือการทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศของตนเองและประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะได้อนุมัติให้อยู่ทำงานได้ประมาณ 3 ปี และอาจจะขอต่ออายุได้ตามความจำเป็น

ประเภทข่าว: 

การรับรองคุณวุฒิการศึกษา

สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ดำเนินการพิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ที่ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นจากสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน กำหนดเงินเดือนที่ควรจะได้รับ และระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง

สำหรับสถานศึกษาในต่างประเทศ โดยหลักการ สำนักงาน ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิที่ได้รับจากการศึกษาในหลักสูตรปกติจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับรองวิทยฐานะจากรัฐบาลในประเทศนั้นๆ ให้บรรจุเข้ารับราชการได้ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. จะตรวจสอบจากหลักฐานการศึกษา เช่น ใบปริญญาบัตร ใบรายละเอียดคะแนน (Transcript of records) ซึ่งระบุสาขาวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาในสาขา เพื่อเทียบว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเป็นคุณวุฒิทางต่างๆ

ประเภทข่าว: 

หนังสือเดินทาง-บัตรเครดิต สูญหายหรือถูกขโมย

หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ดำเนินการดังนี้

1.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ หรือที่ใกล้สะดวกแก่การไปมากทีี่สุด ในกรณีที่สถานีตำรวจที่สะดวกไปแจ้งความไม่ใช่ท้องที่เกิดเหตุ ให้บอกว่าไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใด แต่มารู้ตัวเมื่ออยู่ในท้องที่เขตรับผิดชอบของสถานีนั้น สถานีตำรวจเปิดรับแจ้งความตลอด 24 ชั่วโมง

2.นำหลักฐานใบแจ้งความ พร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎร์ที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่ สถานทูต ณ กรุงปารีส (www.ambassadethaïe.fr) เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 อาทิตย์ หากในกรณีต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสามารถออกเอกสารดังนี้

1)เอกสารเดินทาง (Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้ว เอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งานหรือ

ประเภทข่าว: 

การเลือกสาขาศึกษา (หลังจบมัธยม 6 จากประเทศไทย)

ข้อควรคำนึง

1. รู้จักตนเองว่ามีความชอบส่วนตัวในสาขาใด หรือมีความใฝ่ฝันจะประกอบอาชีพใดในอนาคต

2. ประเมินผลการศึกษาที่ผ่านมาในแต่ละวิชา และทักษะเฉพาะส่วนตัว

3. ประเมินทักษะด้านภาษาฝรั่งเศสของตนเองว่าจะใช้เน้นไปในสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาได้หรือไม่ เช่นภาษาด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะไม่ใช้ทักษะเดียวกัน

4. กำหนดระยะเวลาที่จะใช้ในการศึกษาในฝรั่งเศสว่าจะถึงระดับใด และควรจะเลือกหลักสูตรระยะสั้น หรือระยะยาว เน้นสายสามัญหรือสายอาชีพ

5. ศึกษาข้อมูลว่าในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีเปิดสอนสาขาวิชาใดบ้าง ในสถาบันแบบใด

6. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการศึกษาและดำรงชีวิตเพื่อประกอบการตัดสินใจ

สาขาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี

บริหารรัฐกิจ Droit et Science politique

* เศรษฐศาสตร์และการบริการ

ประเภทข่าว: 

หลักสูตรอุดมศึกษาของฝรั่งเศส

เพื่อให้เข้าใจง่าย หลักสูตรอุดมศึกษาของฝรั่งเศสจะรับเฉพาะผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับประกาศนียบัตรรัฐ Baccalauréat หรือ BAC หรือเทียบเท่า สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ดังนั้น จะทราบว่าหลักสูตรใดใช้เวลาศึกษาเท่าใด จะเรียกว่าระบบ BAC + เช่นปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษา 3 ปี จะเรียกว่า BAC + 3 เป็นต้น

ประเภทข่าว: 

การเรียนภาษาฝรั่งเศส

ความรู้ทางภาษาเป็นประตูเปิดไปสู่ความเข้าใจทางวัฒนธรรม ระบบการคิด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมฝรั่งเศส ด้านการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน

ข้อคำนึง

1. ควรเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศสก่อนออกเดินทางเพื่อปูพื้นฐานความรู้และช่วยตัวเองได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน

2. ก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ควรต้องเรียนภาษาอย่างน้อยที่สุด 1 ปีเต็ม โดยการเรียนหลักสูตร Intensif

3. ในชีวิตประจำวัน พยายามเข้าร่วมการสนทนาภาษาฝรั่งเศส ฟังวิทยุ และดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์

ประเภทข่าว: 

การขอมีบัตรพำนัก Carte de séjour temporaire ในฐานะนักศึกษา

หลัง 1 ปีที่ศึกษาในฝรั่งเศสด้วยการประทับตราวีซ่าจาก OFII ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ถ้าจะศึกษาต่อ ต้องดำเนินการยื่นเรื่องขอบัตรพำนักในประเทศฝรั่งเศสจากหน่วยงานที่ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย คือ Préfecture

ปารีส : Préfecture de Police de Paris เลขที่ 13 rue Miollis, 75015 PARIS

เขตปริมณฑลปารีส :Préfecture หรือ Sous-Préfecture ของแขวง Département ที่พำนัก

ต่างจังหวัด : ที่สถานีตำรวจ (Commissariat) ที่ใกล้ที่พำนักที่สุด หรือ Sous-Préfecture หรือ Préfecture

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นเรื่องขอบัตรพำนักได้ที่ : หน่วยงานที่ตอบคำถามชาวต่างชาติทางโทรศัพท์ได้จาก Service de renseignements téléphoniques aux étrangers, Préfecture de Police de Paris

ประเภทข่าว: 

วีซ่าระยะยาวและบัตรพำนักของ นศ. ในประเทศฝรั่งเศส

วีซ่าระยะยาวสำหรับนักศึกษาและบัตรพำนักในฐานะนักศึกษาในประเทศฝรั่งเศส

ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 เป็นต้นมา ผู้ที่ได้รับวีซ่าที่ประทับคำว่า “นักศึกษา” (étudiants) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นเรื่องขอบัตรพำนักในช่วงปีแรกที่เดินทางเข้ามาศึกษาในประเทศฝรั่งเศส โดยวีซ่าชนิดนี้มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Visa de long séjour dispensant de titre de séjour (VLSTS)

ในการยื่นเรื่องขอวีซ่านักศึกษา จะต้องแนบแบบฟอร์มหนังสือรับรองเรียกว่า Demande d’attestation OFII (OFII เป็นชื่อย่อขององค์กรมีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Office Français de L’immigration et de l’Intégration) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็ปไซต์ http://www.ofii.fr/ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในไทย จะประทับตราของสถานทูตฯ ไว้เป็นหลักฐาน

การยื่นขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในไทย ดำเนินการดังนี้

ประเภทข่าว: 

ที่พัก-การหาที่พัก ในประเทศฝรั่งเศส

ที่พัก-การหาที่พัก / การเซ็นสัญญา-เอกสารผู้ค้ำประกัน / การตรวจสภาพบ้านพัก การประกันบ้านพัก การขอเงินช่วยเหลือ APL / นวพรรณ ธาตุเพ็ชร- ผู้เขียน

การหาที่พัก สามารถหาได้จากเว็ปไซต์ดังต่อไปนี้ www.pap.comwww.seloger.comwww.explorimmo.com หรือหนังสือ Particulier à particulier (PAP) ซึ่งจะออกขายสัปดาห์ละครั้งทุกวันพฤหัสบดี ข้อดีของการติดต่อกับทาง PAP คือ สามารถติดต่อเจ้าของบ้านได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมกับเอเจนซี่

ประเภทข่าว: 

Pages