ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.
 
 

 

แหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ (e-Learning)

กลุ่มที่ 1 ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DLit100 เข้าถึงและตระหนักดิจิทัล Digital Literacy Digital Literacy หรือ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สำนักงาน ก.พ.
DLit101 ใช้งานคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ(Technology Hardware and System Software) เรียนรู้ส่วนประกอบของคอมฯ วิธีการประกอบคอมฯ หลักการทำงานของคอมฯ วิธีติดตั้งโปรแกรม ดูอาการเสียของคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ รวมถึงการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ThaiMOOC
DLit103 ความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและการปฏิบัติตนสำหรับข้าราชการยุคดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและการปฏิบัติตนสำหรับข้าราชการยุคดิจิทัล การรักษาความมั่นคงปลอดภัย เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้าราชการในยุคดิจิทัลควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้และสามารถป้องกันและตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้นด้วยตนเอง เพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูลและทรัพย์สินทั้งของตนเองและหน่วยงาน สำนักงาน ก.พ.
DLit103 ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

รู้ทันภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness)

 

เรียนรู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ และการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างปลอดภัย การใช้รวมถึงการติดตั้งเครือข่ายไร้สายบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสและมัลแวร์คอมพิวเตอร์

ThaiMOOC

 

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DLit202 ใช้โปรแกรมตารางคำนวณ การใช้ Microsoft Excel เพื่อการบริหารข้อมูล การปฏิรูปประเทศเพื่อไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 มีพันธกิจในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้นในการทำงาน ข้าราชการ จะต้องรู้ เข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม ดังนั้นการใช้ Microsoft Excel เพื่อการบริหารข้อมูลที่ครอบคลุมการทำตารางข้อมูล การใช้สูตร ฟังก์ชันในการคำนวณ การทำกราฟข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และสรุปผลจึงเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ.
DLit203 ใช้โปรแกรมนำเสนอ คอมพิวเตอร์เพื่อการพูดและการนำเสนอ Computer for Speech and Presentations ศึกษาเทคนิคในการออกแบบสไลด์ให้น่าสนใจ และเรียนรู้เทคนิคในการบรรยาย ThaiMOOC
องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DLit301  ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ Google Tools เพื่อการพัฒนางาน (Google Tools to Improve Work Performance) เรียนรู้การใช้งาน Google tools เพื่อการพัฒนางาน, Google Tools เพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างมืออาชีพ, Google Tools เพื่อการแบ่งปันพื้นที่การทำงานและทำงานร่วมกัน, Google Tools เพื่อการสร้างแบบสำรวจและแบบสอบถามออนไลน์, Google Tools เพื่อการค้นหาข้อมูล สารสนเทศ และทรัพยากรเพื่อการทำงาน, Google Tools เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงานและหน่วยงานบนเว็บไซต์อย่างง่ายโดยผู้เรียนในหลักสูตรนี้จะสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำงานและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ OCSC MOOC
DLit302 ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (Digital Media Creation Technology) เรียนรู้การสร้างสื่อดิจิทัล ทั้งรูปแบบภาพ วีดีโอ และการตัดต่อเบื้องต้น โดยแนะนำแอปพลิเคชัน/ โปรแกรม รวมถึงวิธีการใช้เบื้องต้น ThaiMOOC
DLit303 ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย รู้ทันภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness) เรียนรู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ และการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างปลอดภัย การใช้รวมถึงการติดตั้งเครือข่ายไร้สายบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสและมัลแวร์คอมพิวเตอร์ ThaiMOOC
องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DLit703 กำหนดรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูล Data Visualization การทำ Data Visualization เป็นความรู้ที่สำคัญสำหรับข้าราชการยุคดิจิทัล ในการจัดทำข้อมูลภาพแสดงผลเชิงปริมาณที่วัดได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข แผนภูมิ กราฟ และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับประกอบการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผล และการนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน สำนักงาน ก.พ.
DLit703 กำหนดรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูล Data Visualization 2 ข้อมูลในโลกยุคดิจิทัลมีจำนวนมากมาย มหาศาล และหลากหลายรูปแบบ การทำ Data Visualization ให้เหมาะสมกับประเภทของข้อมูล (เช่น Multidimensional Data Visualizations, Relational Data Visualizations, Geospatial Data Visualizations, Interactive Data Visualizations, และ Data Visualization Validations) จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ที่จะทำให้มีนำ Visualization ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงาน ก.พ.

กลุ่มที่ 2 ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standard, and Compliance)

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DG100 ปฏิบัติตามกฎหมาย กรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติ (Principles) ที่ดี ด้านดิจิทัล Digital Code of Merit Digital Code of Merit การเรียนรู้เรื่องแนวปฏิบัติและมารยาทต่าง ๆ ในสังคมดิจิทัล ทั้งมารยาทการใช้งานอินเตอร์เน็ต มารยาทการใช้โทรศัพท์ในที่สาธารณะ การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ การแบ่งปันในโลกออนไลน์ กฎความเป็นส่วนตัว และจริยธรรมการใช้งานต่าง ๆ ในสังคมดิจิทัลปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ.
DG101 อธิบายกฎหมาย กรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ เรียนรู้สิทธิ์ การจัดตั้งข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐ และมาตรการวัดความโปร่งใส สำนักงาน ก.พ.
DG102 นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือหน่วยงานผู้มี อำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง ดังนั้นกฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ เป็น กฎหมายสำคัญเพื่อให้ข้าราชการสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง สำนักงาน ก.พ.

กลุ่มที่ 3 ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร (Digital Technology)

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DT600 วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อตีความและหาข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ Intro to Data Analytics and Big Data เรียนรู้ Data Science in Action, Analytics for Education, Social Network Analytics, การตั้งคำถามสำหรับการทำ Data Analytics, การใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล RapidMiner, การนำเข้าและค้นหาข้อมูล, การจัดเตรียมข้อมูล, การสร้างสมการทำนาย (Prediction Model), และการทำ Map Reduce เป็นต้น Chula MOOC
DT603 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหา ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพการให้บริการ (Analyze Data and Draw Insights) Data Analytics Data Analytics นั้นเป็น Business Intelligence ซึ่งเป็นศาสตร์ของการใช้ ข้อมูลต่าง ๆ จากที่ต่าง ๆ มาวิเคราะห์รวมกัน เพื่อให้สามารถนำข้อมูล จำนวนมากมาวิเคราะห์และแสดงผลเพื่อสนับสนุนการทำงานต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การตัดสินใจสาหรับผู้บริหาร สำนักงาน ก.พ.

กลุ่มที่ 4 ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ (Digital Process and Service Design)

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร (Driving Innovation in Organization) เรียนรู้ ความหมายของนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรม องค์ประกอบ ระบบ และคุณค่าของนวัตกรรม กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐ นวัตกรรมคือการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ข้าราชการจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.

กลุ่มที่ 5 ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (Strategic and Project Management)

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้

SPM404 วางแผนการดำเนินโครงการ

SPM405 จัดทำงบประมาณโครงการและการนำระบบดิจิทัลไปใช้

Project Management สำหรับข้าราชการระดับปฏิบัติการ การบริหารโครงการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิผล ควรดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและมีการกำหนดแผนทั้งแผนงาน แผนเวลา และแผนงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.

SPM404 วางแผนการดำเนินโครงการ

SPM407 วางแผนจัดการความเสี่ยงโครงการ

SPM408 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพของโครงการ

Project Management สำหรับข้าราชการระดับบริหาร การบริหารโครงการสำหรับข้าราชการระดับบริหาร มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้บริหารจะต้องคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มาดำเนินการให้เหมาะสม จึงควรศึกษาเรื่องเทคนิคและวิธีการคัดเลือกโครงการ รวมถึงการติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ สำนักงาน ก.พ.

 

กลุ่มที่ 6 ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership)

 

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DL201 สร้างและบริหารทีมทำงานจากหลายหน่วยงานทีมีระดับทักษะดิจิทัลที่ต่างกัน  ภาวะผู้นำในการทำงานกับผู้อื่นอย่างสมดุล (Working with People) ภาวะผู้นำถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินการขององค์กร ภาวะผู้นำสมัยใหม่จึงควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด กระบวนทัศน์ มีจิตวิทยา เทคนิคในการดึงศักยภาพของทีมงาน ชนะใจทีมงานเพื่อให้ทำงานกับผู้อื่นอย่างสมดุล รวมถึงการตัดสินใจที่มีประสิทธิผล พร้อมจะเป็นผู้นำในขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชน สำนักงาน ก.พ.

 

กลุ่มที่ 7 ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation)

 

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
DTR101 กำหนดเป้าหมายและแผนงานการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (Improving Digital Experiences in Government) DTR102 สร้างกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่วัฒนธรรมการทำงานแบบดิจิทัล  การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation) เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินภารกิจ (Business Operation Model) ของภาครัฐ แนวคิดและหลักการเชื่อมโยงวิสัยทัศน์พันธกิจค่านิยมเป้าหมายองค์กรเป้าประสงค์มาสู่กลยุทธ์องค์กรการพัฒนากลยุทธ์ด้านบริการของภาครัฐและการสื่อสารนำใช้กลยุทธ์องค์กรสู่การปฏิบัติ แนวคิดและหลักการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร และเทคนิคการลดขั้นตอนในกระบวนการทำงาน OCSC MOOC
DTR101 กำหนดเป้าหมายและแผนงานการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (Improving Digital Experiences in Government) DTR102 สร้างกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่วัฒนธรรมการทำงานแบบดิจิทัล  การออกแบบองค์กรดิจิทัล (Designing Digital Organization) เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากอิทธิพลของเทคโนโลยีกับการปรับตัวขององค์กรในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงอธิบายรูปแบบในการปรับตัวขององค์กรให้เข้ากับยุคดิจิทัลสู่ความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงขององค์กรดิจิทัล ประเภท บทบาท และกิจกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง หลักการและวิธีการออกแบบองค์กรดิจิทัลและเครื่องมือสำหรับการพัฒนาองค์กรดิจิทัล OCSC MOOC
DTR104 สร้างความมีส่วนร่วมและหลักคิด (Mindset) ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล  การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ (Effective Change Agent) เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของภาวะผู้นำในบริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อเข้าใจวิสัยทัศน์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้นำในการนำพาองค์การไปสู่การเปลี่ยนแปลงผ่านกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนศึกษากระบวนการและปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ เช่น การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร เครือข่ายทางสังคม และ การจัดการความรู้ในองค์กร นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิธีการบริหารนวัตกรรมในองค์การเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์การต่อไป OCSC MOOC

 

ทักษะอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

 

องค์ประกอบความสามารถ หลักสูตร สรุปหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดแบบสร้างสรรค์ การคิดแบบแก้ปัญหา ความหมายและความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม กระบวนการคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์การใช้การคิด เชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม โดยเรียนรู้ทฤษฎี แนวคิดและตัวอย่างการพัฒนาผลงานนวัตกรรม การจดทรัพย์สินทางปัญญาและแนวทาง การพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ OCSC MOOC
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เรียนรู้ความหมาย ทฤษฎี กรอบแนวคิด เครื่องมือ ขั้นตอนและกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ ได้แก่ การเชื่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนได้ (Mindset) การค้นหาปัญหา แรงบันดาลใจ (Empathy) การตีความ (Interpretation) การระดมความคิด (Ideation) การทดลอง (Experimentation) และการพัฒนา (Evolution) สำนักงาน ก.พ.
ทักษะวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) เรียนรู้ความหมาย ความสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา ลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหาการพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิตและการทำงาน OCSC MOOC
ทักษะวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)  การพัฒนาการคิด การคิดเป็นกระบวนการของจิตใจหรือกระบวนการทางสมองซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ การคิดไม่มีขอบเขตจำกัด กระบวนการคิดของมนุษย์เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่เริ่มจากสิ่งเร้ามากระตุ้นทำให้จิตใส่ใจกับสิ่งเร้าและสมองนำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาประมวล เพื่อให้ได้ผลของการคิดออกมา ดังนั้น การพัฒนาการคิดจึงมีความสำคัญ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที สำนักงาน ก.พ.
ทักษะวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การวางแผนกลยุทธ์ เรียนรู้ความหมาย วัตถุประสงค์ของการวางแผนกลยุทธ์ ความท้าทายของผู้บริหารในการขับเคลื่อนแผนและบริหารองค์กร ระบบการคิดของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการกำหนดกลยุทธ์ อุปสรรคและการแก้ไขการวางแผนกลยุทธ์ ลักษณะของผู้นำที่ดีในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ กระบวนการคิดเพื่อกำหนดแผนและโครงการ รวมถึงการบริหารคนเพื่อกำหนดและขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ สำนักงาน ก.พ.
ทักษะวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การคิดเพื่อประสิทธิผลของงาน เรียนรู้ความหมายของการคิด รูปแบบของการคิดประเภทต่าง ๆ เครื่องมือและเทคนิคในการคิดวิเคราะห์ การเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน การคิดเพื่อประสิทธิผลของงาน และการปรับปรุงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยเทคนิคไคเซ็น สำนักงาน ก.พ.
ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น (Communication and Collaboration)  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทักษะในการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตประจำวันทั้งการปฎิบัติงานและการดำเนินชีวิต ทักษะการสื่อสารคือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นหรือการอธิบายให้ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้และเข้าใจในเรื่องที่ต้องการจะสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่มีสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้อง การสื่อสารจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ที่เข้ามามีส่วนสำคัญในยุคปัจจุบัน สำนักงาน ก.พ.
ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น (Communication and Collaboration)  มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน มนุษยสัมพันธ์เป็นการติดต่อระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไปซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคม การเรียนรู้เรื่องมนุษยสัมพันธ์ เจตคติต่อตนเองและผู้ที่สัมพันธ์ด้วย การสื่อสารในมนุษยสัมพันธ์ และการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีต่อหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีอย่างยั่งยืน สำนักงาน ก.พ.
ทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น (Communication and Collaboration)  EQ กับการพัฒนาภาวะผู้นำ อีคิว หรือ E.Q. มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำที่มีภารกิจในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร จะต้องนำทีมงานให้ประสบความสำเร็จ สำนักงาน ก.พ.
Learning How to Learn  Learning How to Learn เรียนรู้การทำงานของสมองและการเรียนรู้ เทคนิคและวิธีการในการจดจำข้อมูลและเรียนรู้ด้วยจนเอง coursera