ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

หลักสูตร Thailand – Cambodia Civil Service Development Program

รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร

 

Application Form / ใบสมัคร

  • English - Application form
 

1. หลักการและเหตุผล 

การฝึกอบรมหลักสูตร Thailand – Cambodia Civil Service Development Program เป็นโครงการความร่วมมือในการพัฒนาข้าราชการพลเรือนและบุคลากรภาครัฐของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ตามกรอบการประชุม ก.พ. อาเซียน (ASEAN Conference on Civil Service Matters หรือ ACCSM) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สำนักงาน ก.พ. และ The Royal School of Administration (RSA), Ministry of Civil Service (MCS) แห่งประเทศกัมพูชา ได้ร่วมกันกำหนดจัดการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมกับการปฏิบัติราชการในบริบทของการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการไทยและกัมพูชา ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองด้านการบริหารงานภาครัฐ รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการไทยและกัมพูชา
 

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาวะผู้นำให้แก่ข้าราชการของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในบริบทของการเปลี่ยนแปลง 
2.2 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างข้าราชการของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน 
 

3. เนื้อหาหลักสูตร 

หลักสูตร Thailand – Cambodia Civil Service Development Program สามารถจำแนกออกเป็น 5 หลักสูตรย่อย ดังนี้ 
หลักสูตรย่อยที่ 1 การเปลี่ยนผ่านของระบบราชการ (Public Sector in Transition)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศ และระบบราชการในภาพรวม รวมถึงให้มุมมองที่หลากหลายที่จะนำมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศ และการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้ 
(1) เปิดมุมมองข้าราชการ (Future Thinking)
(2) การนำนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติ (Public Policy Process in Practice)
(3) การพัฒนาคุณภาพประชาชนกับการพัฒนาประเทศ  (People's Capacity Building as Enable) 
(4) ความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ทางเลือกสำหรับบริการสาธารณะ (Public Private Partnership (PPP) : a better way to deliver better public services) 
(5) นวัตกรรมการบริการและการคิดสร้างสรรค์สำหรับราชการยุคใหม่ (Service Innovation and Creativity for Public Sector)
หลักสูตรย่อยที่ 2 การพัฒนาภาวะผู้นำกับการพัฒนาศักยภาพข้าราชการ (Leadership Development and Capacity Builder)
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ ปรับเปลี่ยนมุมมอง และสร้างความตระหนักในบทบาทของการเป็นข้าราชการในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้  
(1) ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงของโลก (Leadership in Complex World)
(2) การพูดคุยกับผู้นำตัวอย่าง (Leader Talk) 
หลักสูตรย่อยที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการจัดบริการสาธารณะ (Getting to Know Country’s Practices)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางในการจัดบริการสาธารณะของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา อันจะสนับสนุนการสร้างสรรค์แนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาระบบราชการให้มีความก้าวหน้า และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้ 
(1) การเรียนรู้และเข้าใจระบบราชการของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา (Overview of Thailand and Cambodia Public Service) 
(2) การศึกษาดูงานแนวปฏิบัติที่น่าสนใจของประเทศไทย อาทิ นโยบายการจัดบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข  การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการประชาชน การส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ
(3) การศึกษาดูงานแนวปฏิบัติที่น่าสนใจของประเทศกัมพูชา อาทิ โครงการความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน นโยบายการส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของประชาชน และการอนุรักษ์โบราณสถาน (วัดหรือโบสถ์)
หลักสูตรย่อยที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม (Cultural Diversity Learning)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมของทั้งสองประเทศได้เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้ 
(1) กิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อการเชื่อมความสัมพันธ์ (Connecting Activities : Ice Breaking) 
(2) กิจกรรมทัศนศึกษา (Cultural visit) สถานที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา
หลักสูตรย่อยที่ 5 ประมวลสรุปการเรียนรู้ (Group presentation)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนการเรียนรู้ในแต่ละช่วงด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยกำหนดให้มีการนำเสนอผลการเรียนรู้ในรูปแบบของรายงานกลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง ในวันสุดท้ายของการฝึกอบรมในแต่ละประเทศ ดังนี้ 
(1) การนำเสนอผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 Lesson Learned from Halfway Journey and the Draft Proposal Presentation 
(2) การนำเสนอผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 Lesson Learned from Other Halfway Journey and the Final Presentation 
 

4. รูปแบบการฝึกอบรม 

ใช้วิธีการที่หลากหลาย อาทิ การบรรยาย การอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การฝึกปฏิบัติ การศึกษาจากกรณีศึกษา และการศึกษาดูงาน 
 

5. ระยะเวลาการฝึกอบรม

สามารถจำแนกเป็น 3 ระยะ ดังนี้  
ระยะที่ 1 การชี้แจงผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝ่ายประเทศไทย วันที่ 15 มิถุนายน 2559
ระยะที่ 2 การฝึกอบรม ณ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19 – 25 มิถุนายน 2559 
ระยะที่ 3 การฝึกอบรม ณ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2559 
 

6. กลุ่มเป้าหมาย  

รวม 30 คน ประกอบด้วยข้าราชการไทย จํานวน 15 คนและข้าราชการกัมพูชา จํานวน 15 คน 
 

7. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 
7.1 เป็นข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือเป็นข้าราชการประเภทอื่นที่เทียบเท่าซึ่งรับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการฝึกอบรม 
7.2 เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ 
7.3 หากผู้สมัครเคยได้รับทุนรัฐบาลหรือทุนอื่น ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ต้องกลับมาปฏิบัติราชการแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร (วันที่ 18 พฤษภาคม 2559) 
 

8. เอกสารประกอบการสมัครเข้ารับการฝึกอบรม 

8.1 ใบสมัคร พร้อมติดรูปถ่าย ขนาด 2 x 2 นิ้ว จํานวน 1 รูป 
8.2 หนังสือจากหัวหน้าส่วนราชการแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมการฝึกอบรม
8.3 สำเนาหน้าหนังสือเดินทางราชการ (ถ้ามี) ที่มีระยะเวลาคงเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ปิดรับสมัคร (18 พฤษภาคม 2559) 
 

9. การพิจารณาคัดเลือก 

9.1 ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 7 จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรมโดยพิจารณาจากคุณสมบัติและใบสมัครเป็นสำคัญ 
9.2 ผลการคัดเลือกของสำนักงาน ก.พ. ถือเป็นที่สุด 
 

10. การประกาศผลการคัดเลือก 

สำนักงาน ก.พ. จะประกาศผลการคัดเลือกทางเว็บไซด์สำนักงาน ก.พ. ที่ http://www.ocsc.go.th/node/2287 ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2559
 

11. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

สำนักงาน ก.พ. จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ยกเว้น 
11.1 ค่าที่พักในประเทศไทย
11.2 ค่าพาหนะเดินทาง ไป – กลับ ระหว่างที่พักและสถานที่จัดฝึกอบรมในประเทศไทย 
 

12. การประเมินผล 

12.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการอภิปราย แสดงความคิดเห็น รวมทั้ง
ให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการฝึกอบรม 
12.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งในชั้นเรียน และการศึกษาดูงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 หรือ 9 วัน จึงจะถือว่าสำเร็จการฝึกอบรมและได้รับประกาศนียบัตร กรณีขาดการฝึกอบรมโดยไม่แจ้งเหตุผล จะไม่ได้รับประกาศนียบัตร
 

13. ที่ปรึกษาโครงการ

13.1 นายวิสูตร ประสิทธิ์ศิริวงศ์   เลขาธิการ ก.พ. 
13.2 นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. 
13.3 นางสุทธิลักษณ์  เอื้อจิตถาวร   ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
 

14. ผู้รับผิดชอบโครงการ 

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. 
โทร. 0 2547 1814 โทรสาร 02 547 1752 
 
-----------------------------
Short URL for this page
http://www.ocsc.go.th/node/2287
-----------------------------
เอกสารประกอบข่าว: 
ประเภทข่าว: 

Share this post

สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) องค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการ บริหารกำลังคนในราชการ ให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ