|
ระบบค่าตอบแทน
Compensation
กลุ่มพัฒนาระบบค่าตอบแทน
ที่ตั้ง : อาคารสำนักงาน ก.พ. ชั้น 8 โทรศัพท์ : 0 2547 1000 ต่อ 8823, 8825, 8826, 8827, 8834, 8842
เงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง คือ ค่าตอบแทนกำหนดขึ้นสำหรับข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เช่น ตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะด้านการบริหารซึ่งมีความรับผิดชอบทั้งด้านการบริหารแผนงาน แผนเงิน และแผนคนในองค์กร รวมทั้งตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้านอาชีพ เป็นต้น ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการกำหนดเงินประจำตำแหน่งนั้น ก็เพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนของภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียกำลังคนในภาคราชการในขณะนั้น
การได้รับเงินประจำตำแหน่ง
อัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
กฎ ก.พ
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2564
- (ให้ ผอ.สคทช. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท และรอง ผอ.สคทช. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2561
- (เพิ่มสายงานวิศวกรรมรังวัด (ชช.))
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561
- (ให้เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559
- (เพิ่มสายงานวิชาการสหกรณ์ (ทว.))
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559
- (ให้เลขาธิการ ป.ป.ท. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท และรองเลขาธิการ ป.ป.ท. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2559
- (ให้เลขาธิการ ปปง. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท และรองเลขาธิการ ปปง. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558
- (เพิ่มสายงานจดหมายเหตุ (ชช.) และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด (ชช.))
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
- (เพิ่มสายงานอุตุนิยมวิทยา (ทว.) และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (ชก., ชพ.))
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
- (ให้เลขาธิการ BOI ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท และรองเลขาธิการ BOI ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
- (เพิ่มสายงานกายอุปกรณ์ (ชก., ชพ.))
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
- (ยกเลิกบัญชีกำหนดสายงานท้ายกฎ ก.พ. ปี 2551 และให้ใช้บัญชีกำหนดสายงานท้าย กฎ ก.พ. ฉบับนี้แทน)
- กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
การจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
- พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ update ล่าสุด)
- พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
- พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
- พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ พ.ศ. 2539
- ว21/2551 ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551
ค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน คือ ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะคล้ายคลึงกับเงินประจำตำแหน่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อรักษาไว้ซึ่งกำลังคนคุณภาพในภาครัฐซึ่งในขณะนั้นมีการสูญเสียไปสู่ภาคเอกชนจำนวนมาก โดยข้าราชการที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนเท่ากับเงินประจำตำแหน่ง ยกเว้นตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ จะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนนี้ และข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนในอัตรา 3,500 บาทต่อเดือน
ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ พ.ศ. 2547
ข้อมูล : เงินประจำตำแหน่ง
- 436392 reads