ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

การพัฒนาข้าราชการพลเรือน 

ยินดีต้อนรับสู่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน(สพข.)
ที่ตั้ง : สำนักงาน ก.พ. นนทบุรี อาคาร 3 ชั้น 2 โทรศัพท์ : 0 2547 1806

ติดต่อ สพข. เอกสารเผยแพร่และบรรยาย Hotline ช่วง COVID-19

หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1)

The civil service executive development program : visionary and moral leadership

         การพัฒนาผู้นำหรือผู้บริหารของภาคราชการเพื่อให้เป็นกลไกหลักสำคัญที่จะนำการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เกิดผลในทางปฏิบัตินั้น ได้ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งรัฐบาลและสำนักงาน ก.พ. อย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัด   การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และได้ทำการศึกษา พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบวิธีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้บริหารและผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างซับซ้อนและรวดเร็ว

          ภายใต้แนวทางการพัฒนาผู้บริหารภาคราชการดังกล่าว สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดให้มีโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำ “หลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1)” เพื่อให้นักบริหารระดับสูงในภาคราชการได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ ความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) และการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ประชาชน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน มีการทำงานอย่างมืออาชีพและเป็นสากล สามารถนำการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป

  1. เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการหรือเทียบเท่าในการเข้าสู่ตำแหน่งประเภทบริหารเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่น ตามบทบาทหน้าที่ทางการบริหารและการมีภาวะผู้นำ (Management and Leadership Roles and Functions) ในด้าน
    • การบริหารตน และการบริหารคน (Self and People Management)
    • การบริหารเป้าหมายทิศทาง และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Visioning and Change Management)
    • การบริหารผลลัพธ์ และการบริหารทรัพยากรที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ (Results and Resources Management)
  2. เพื่อพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ตระหนักถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความสามารถทางการบริหารและการมีภาวะผู้นำ เพื่อชีวิตและการทำงานในบริบทสภาวะแวดล้อม
    ที่เปลี่ยนแปลง โดยกำหนดจุดเน้นของการพัฒนาในเรื่องของการตัดสินใจ การสื่อสาร การประสานงานประสานสัมพันธ์ การปรับตัวและความยืดหยุ่น จิตมุ่งบริการ และการบริหารทรัพยากร

    ปรัชญา

                เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำ และความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้ในปัจจุบัน และสอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของบทบาทหน้าที่การงานและชีวิตในอนาคต ซึ่งนำไปสู่การได้รับการยอมรับ ความเชื่อมั่น และความศรัทธา (Trust and Confidence) จากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน และจากทุกภาคส่วน

    แนวคิด

    1. เป็นหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการทำหน้าที่การบริหารจัดการและบทบาทภาวะผู้นำ (Management and Leadership Roles and Functions) ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารตนและการบริหารคน การบริหารเป้าหมายทิศทาง และการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารผลลัพธ์ และการบริหารทรัพยากร และเทคโนโลยีการทำงาน
    2. ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้พัฒนาตนเอง (Personal Development) และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่นด้วยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
    3. จัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถตอบสนองรูปแบบ (Styles) ความต้องการและความจำเป็นเฉพาะตน (Individual Needs) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำได้ โดยให้ความสำคัญกับเครื่องมือและกระบวนการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การบริหารแผนการพัฒนาเฉพาะตน (Individual Development Plan) ที่เชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาของส่วนราชการ (Organization HRD Plan)
    4. พัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทันสมัย โดยเน้นทั้งสมรรถนะที่เป็นสากลและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบริบทราชการไทย
    5. เป็นหลักสูตรที่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วนสมดุลในทุกมิติ ได้แก่ การเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Learning to Learn) การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตามรูปแบบภาวะผู้นำและการบริหารจัดการของตนในสถานการณ์ต่าง ๆ (Learning to do) การเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Learning to be) และการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลายของบุคคลและสังคม (Learning to Live with Others) เพื่อให้นักบริหารระดับสูงได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ การปฏิบัติ การมีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแสดงภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย

    สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม: นักบริหารระดับสูง (นบส.1)

    รายละเอียดโครงการ: ดาวน์โหลด

    โครงสร้างหลักสูตร แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้

    ช่วงที่ 1 การปฐมนิเทศ

                 เป็นการฝึกอบรมแบบอยู่ประจำ และไป – กลับ ประกอบด้วยกิจกรรมการชี้แจงรายละเอียดหลักสูตร การประเมินบุคลิกภาพเพื่อการพัฒนา (MBTI) การพัฒนากระบวนการคิดของนักบริหาร การวางแผนการจัดทำรายงานการศึกษากลุ่ม การฝึกปฏิบัติการวางแผนการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาภาวะผู้นำและเครือข่ายผู้บริหาร

    ช่วงที่ 2 การฝึกอบรม 4 หมวดวิชา

                 เป็นการฝึกอบรมแบบอยู่ประจำและไป - กลับ เน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในสมรรถนะนักบริหาร ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การผลักดันหรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื้อหาประกอบด้วย

    • หมวดวิชาที่ 1 ภาวะผู้นำและการบริหารราชการ กับบริบทการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Management and Leadership in the 21st Century)

                         วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นความสำคัญและเข้าใจในเรื่องของภาวะผู้นำและบทบาทหน้าที่ของนักบริหารในการบริหารราชการ โดยสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และภาวะผู้นำดังกล่าวให้สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในบริบทภาครัฐในมิติต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

    • หมวดวิชาที่ 2 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารทิศทาง นโยบาย และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Visioning, Managing Direction and Change)

                                   วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะ สมรรถนะ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ การกำหนดทิศทางการบริหารราชการ การสร้างธรรมาภิบาล การสร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการจัดบริการสาธารณะ ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมและการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

    • หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารผลงานกับการบริหารจัดการด้านทรัพยากร และเทคโนโลยี (Managing Results, Resources, and Technology)

                                   วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารราชการ ด้านการจัดสรรและบริหารทรัพยากร วิทยาการ และเทคโนโลยี เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเน้นในเรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน การบริหารจัดการทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การจัดการทรัพยากรทางกายภาพและวิทยาการ การบริหารจัดการข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การบริหารแผนงานและโครงการ การสื่อสารแผนงานและโครงการ และการบริหารผลงาน คุณภาพและบริการ

    • หมวดวิชาที่ 4 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารตน และการบริหารคน (Managing Self and Others)

                                   วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาความสามารถ ในการบริหารตน (Managing Self) และมีภาวะผู้นำในการทำงานกับผู้อื่น (Working with People) ได้อย่างสมดุล

    ช่วงที่ 3 การศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ

    ช่วงที่ 4 ปัจฉิมนิเทศ

    หลักเกณฑ์การสำเร็จการฝึกอบรม

                   1) ระยะเวลาการฝึกอบรม

                          ช่วงที่ 1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมครบ ๑๐๐% หากเข้ารับการอบรมในส่วนนี้ไม่ครบ 100% จะไม่สามารถเข้ารับการอบรมในช่วงต่อไปได้

                          ช่วงที่ 2 – 4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 80%

                    2) ผลการศึกษา

                          ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องจัดทำรายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study) รายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project) และรายงานการศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารวิชาการของหลักสูตร

                    3) การประพฤติปฏิบัติตน

                       เป็นผู้มีความประพฤติเหมาะสมตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม หมายถึง การปฏิบัติตนระหว่างการอบรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการเข้าเรียน ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ การอุทิศตน ความร่วมแรงร่วมใจ ภาวะผู้นำ และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียหรือเป็นความเสียหายต่อราชการ

     วิธีการฝึกอบรม

              เน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพิ่มน้ำหนักความสำคัญกับการพัฒนาศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง การนำบทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงดังกล่าวไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกันโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) และการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ภายใต้คำปรึกษาแนะนำ การสอนแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาด้านการเรียนรู้ (Learning Facilitators) ตลอดจนมีโอกาสไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ในหน่วยงานธุรกิจ ส่วนราชการ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     สถานที่ดำเนินการ

    • พิธีเปิด ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงาน ก.พ. จังหวัด นนทบุรี
    • ช่วงที่ 1 การปฐมนิเทศ แบบอยู่ประจำร่วมกันในต่างจังหวัด
    • ช่วงที่ 2 ช่วงการฝึกอบรม 4 หมวดวิชา แบบไป – กลับ ณ สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี
    • ช่วงที่ 3 การศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ
    • ช่วงที่ 4 ปัจฉิมนิเทศ
    # ชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ
    1 นายอริยะ สกุลแก้ว (ผอ.วิทยาลัยนักบริหาร) 02-547-1000 ต่อ 1744
    2 นางสาววิชชุดา ตันเรืองชาติ  02-547-6982
    3 นายเวชยันต์ เอี่ยมสุธน 02-547-1770
    4 นางสาวปุณณัฐฐา ชัยศิริวงษ์ 02-547-2059
    5 นางสาวจันจิรา ไชยาพร 02-547-1765
    6 นางสาวคณาภัทร ดายะ 02-547-1775

    รายชื่อผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส. 1)

    รุ่นที่ 1 - 42 รุ่นที่ 43 - 46 รุ่นที่ 47 - 50 รุ่นที่ 51 - 56 รุ่นที่ 57 - 59
    รุ่นที่ 60 - 62 รุ่นที่ 63 - 64 รุ่นที่ 65 - 66 รุ่นที่ 67 - 70 รุ่นที่ 71 - 76
    รุ่นที่ 77 - 82 รุ่นที่ 83 - 84 รุ่นที่ 85 - 86 รุ่นที่ 87 - 88 รุ่นที่ 89 - 90
    รุ่นที่ 91 - 92 รุ่นที่ 93 - 94 รุ่นที่ 95 - 96 รุ่นที่ 97 - 98  

    รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study)

    รุ่นที่ 23 รุ่นที่ 24 รุ่นที่ 25 รุ่นที่ 26 รุ่นที่ 27 รุ่นที่ 28 รุ่นที่ 29 รุ่นที่ 30 รุ่นที่ 31 รุ่นที่ 32
    รุ่นที่ 33 รุ่นที่ 34 รุ่นที่ 35 รุ่นที่ 36 รุ่นที่ 37 รุ่นที่ 38 รุ่นที่ 39 รุ่นที่ 40 รุ่นที่ 41 รุ่นที่ 42
    รุ่นที่ 43 รุ่นที่ 44 รุ่นที่ 45 รุ่นที่ 46 รุ่นที่ 47 รุ่นที่ 48 รุ่นที่ 49 รุ่นที่ 50 รุ่นที่ 51 รุ่นที่ 52
    รุ่นที่ 53 รุ่นที่ 54 รุ่นที่ 55 รุ่นที่ 56 รุ่นที่ 57 รุ่นที่ 58 รุ่นที่ 59 รุ่นที่ 60 รุ่นที่ 61 รุ่นที่ 62
    รุ่นที่ 63 รุ่นที่ 64 รุ่นที่ 65 รุ่นที่ 66 รุ่นที่ 67 รุ่นที่ 68 รุ่นที่ 69 รุ่นที่ 70 รุ่นที่ 71 รุ่นที่ 72
    รุ่นที่ 73 รุ่นที่ 74 รุ่นที่ 75 รุ่นที่ 76 รุ่นที่ 77 รุ่นที่ 78 รุ่นที่ 79 รุ่นที่ 80 รุ่นที่ 81 รุ่นที่ 82
    รุ่นที่ 83 รุ่นที่ 84 รุ่นที่ 85 รุ่นที่ 86 รุ่นที่ 87 รุ่นที่ 88 รุ่นที่ 89 รุ่นที่ 90 รุ่นที่ 91 รุ่นที่ 92
    รุ่นที่ 93 รุ่นที่ 94 รุ่นที่ 95 รุ่นที่ 96 รุ่นที่ 97 รุ่นที่ 98 - - - -

    รายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project)

    รุ่นที่ 23 รุ่นที่ 24 รุ่นที่ 25 รุ่นที่ 26 รุ่นที่ 27 รุ่นที่ 28 รุ่นที่ 29 รุ่นที่ 30 รุ่นที่ 31 รุ่นที่ 32
    รุ่นที่ 33 รุ่นที่ 34 รุ่นที่ 35 รุ่นที่ 36 รุ่นที่ 37 รุ่นที่ 38 รุ่นที่ 39 รุ่นที่ 40 รุ่นที่ 41 รุ่นที่ 42
    รุ่นที่ 43 รุ่นที่ 44 รุ่นที่ 45 รุ่นที่ 46 รุ่นที่ 47 รุ่นที่ 48 รุ่นที่ 49 รุ่นที่ 50 รุ่นที่ 51 รุ่นที่ 52
    รุ่นที่ 53 รุ่นที่ 54 รุ่นที่ 55 รุ่นที่ 56 รุ่นที่ 57 รุ่นที่ 58 รุ่นที่ 59 รุ่นที่ 60 รุ่นที่ 61 รุ่นที่ 62
    รุ่นที่ 63 รุ่นที่ 64 รุ่นที่ 65 รุ่นที่ 66 รุ่นที่ 67 รุ่นที่ 68 รุ่นที่ 69 รุ่นที่ 70 รุ่นที่ 71 รุ่นที่ 72
    รุ่นที่ 73 รุ่นที่ 74 รุ่นที่ 75 รุ่นที่ 76 รุ่นที่ 77 รุ่นที่ 78 รุ่นที่ 79 รุ่นที่ 80 รุ่นที่ 81 รุ่นที่ 82
    รุ่นที่ 83 รุ่นที่ 84 รุ่นที่ 85 รุ่นที่ 86 รุ่นที่ 87 รุ่นที่ 88 รุ่นที่ 89 รุ่นที่ 90 รุ่นที่ 91 รุ่นที่ 92
    รุ่นที่ 93 รุ่นที่ 94 รุ่นที่ 95 รุ่นที่ 96 รุ่นที่ 97 รุ่นที่ 98 - - - -

    รายงานการศึกษาดูงาน

    รุ่นที่ 83 รุ่นที่ 84 รุ่นที่ 85 รุ่นที่ 86 รุ่นที่ 87 รุ่นที่ 88 รุ่นที่ 89 รุ่นที่ 90 - -