|
การพัฒนาข้าราชการพลเรือน
ยินดีต้อนรับสู่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน(สพข.)
ที่ตั้ง : สำนักงาน ก.พ. นนทบุรี อาคาร 3 ชั้น 2 โทรศัพท์ : 0 2547 1806
ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน
ที่มา
จากการที่บริบทของภาคราชการมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาส่งผลต่อการที่ราชการจำ เป็นต้องมีความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการกำหนดและบริหารนโยบาย ระบบการพัฒนาข้าราชการจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่จะสนับสนุนให้ส่วนราชการมี บุคลากรคุณภาพสูงมีความพร้อมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ราชการท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน ก.พ. จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องจัดให้มียุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนขึ้น โดยเริ่มจัดทำเป็นนโยบายพัฒนาข้าราชการพลเรือนและได้รับความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรี มาโดยลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2539
ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ.2545 ซึ่งได้มุ่ง เน้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมองค์กร และเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการในการปฏิบัติงาน สำนักงาน ก.พ.จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนขึ้นในปี พ.ศ.2547 เพื่อให้สอดคล้องกับแนวการปฏิรูประบบราชการ และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ให้ส่วนราชการถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาข้าราชการ ซึ่งมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 มีเจตนารมณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่เน้นพัฒนาข้าราชการ ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาเป็นการให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันต่อความสำเร็จขององค์การ รวมทั้งให้ข้าราชการปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นที่ประชาชนและสัมฤทธิผล นอกจาก นี้ ข้าราชการต้องปรับเปลี่ยนบทบาท วิธีคิด และวิธีปฏิบัติงาน
สำนักงาน ก.พ. จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องเตรียมกำลังคนภาครัฐให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง สอดคล้อง ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.จึงได้ดำเนินการปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯฉบับเดิมและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556 ขึ้นใหม่ โดยที่ประชุม ก.พ.มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556 ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
หลักการ
- เสริมสร้างให้ข้าราชการพลเรือนมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิตมีขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐและ ประโยชน์สุขประชาชน
วิสัยทัศน์
- ในปี พ.ศ.2556 ข้าราชการพลเรือนต้องมีสมรรถนะ ในการปฏิบัติราชการอย่างมืออาชีพ เป็นที่เชื่อถือศรัทธา ของประชาชน
พันธกิจ
- เสริมสร้างพัฒนาผู้นำและข้าราชการพลเรือนทุกระดับตามสมรรถนะ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
เป้าประสงค์
- เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของข้าราชการทุกระดับให้ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ เกิดผลสัมฤทธิ์ คุ้มค่า เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
- ให้ความเห็นชอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556 ตามที่เสนอ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนดังกล่าว
- เห็นชอบให้ส่วนราชการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาข้าราชการไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ โดยแยกเป็นรายการค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างชัดเจนในเอกสารงบประมาณ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพข้าราชการในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของสมรรถนะ
เป้าหมาย : ข้าราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำ กลุ่มงานตามความจำเป็นและคุ้มค่า
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาสมรรถนะข้าราชการ
กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาทางก้าวหน้าในอาชีพ
เงื่อนไขความสำเร็จ :
บทบาทส่วนราชการ
- ส่วนราชการมีการบริหารผลการ ปฏิบัติงาน โดยผู้บังคับบัญชา และข้าราชการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ระดับความสำเร็จ ของงานและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
- ส่วนราชการมีแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ และแผนการสืบทอดตำแหน่ง
- มีการประเมินผลอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม และมีระบบการสื่อสารภายในส่วนราชการ ที่มีประสิทธิภาพ
บทบาทสำนักงาน ก.พ.
- เป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ และแนะนำส่งเสริมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ และการดำเนินการพัฒนาข้าราชการ
- จัดทำหลักสูตรกลางที่เป็นมาตรฐานเพื่อการพัฒนาข้าราชการ ได้แก่
- หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะด้าน
- หลักสูตรพัฒนาผู้บังคับบัญชาระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
- หลักสูตรพัฒนานักทรัพยากรบุคคลให้เป็นมืออาชีพ
- หลักสูตรพัฒนาข้าราชการเฉพาะกลุ่มพิเศษ เช่น ข้าราชการที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ชายแดน หรือ ต่างประเทศ เป็นต้นทั้งนี้ การจัดทำหลักสูตรกลางของสำนักงาน ก.พ หรือหลักสูตรของส่วนราชการต้องมีลักษณะที่ให้ข้าราชการได้เรียนรู้ระบบ แนวปฏิบัติ และวัฒนธรรม ของภาคอื่น นอกจากภาคราชการด้วย
- วางระบบการพัฒนาสมรรถนะโดยจัดทำเครื่องมือ วิธีการ หลักสูตรการวิเคราะห์หาสมรรถนะ การประเมินและการกำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะ
- ติดตามผลการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการ โดยยึดหลักสมรรถนะ และประเมินผล ความพร้อมของส่วนราชการในการพัฒนาข้าราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาข้าราชการให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย และเข้าถึงประชาชน
เป้าหมาย : ข้าราชการในส่วนราชการต่างๆ ได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัยและเข้าถึงประชาชน
กลยุทธ์ที่ 1 : สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถ และ คุณสมบัติของการเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ตามระบบคุณธรรมเข้ารับราชการ
กลยุทธ์ที่ 2 : กำหนดหลัก เกณฑ์และกรอบมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม ข้อบังคับจรรยาและการประเมินทั้ง ด้านคุณลักษณะภายในของบุคคลและวิธีปฏิบัติงานรวมทั้งมีการบังคับใช้อย่าง เป็นรูปธรรม
กลยุทธ์ที่ 3 : เสริมสร้างจิตสำนึกการเป็นข้าราชการที่ดีอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาผู้บังคับบัญชา ทุกระดับ ให้เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถจูงใจและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมผู้ใต้บังคับ บัญชา และสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยา
เงื่อนไขความสำเร็จ :
บทบาทส่วนราชการ
- กำหนดเกณฑ์ ที่มีตัวชี้วัด และมีการประเมินที่โปร่งใสทั้งด้านคุณลักษณะภายในของบุคคล และวิธีปฏิบัติงาน
บทบาทสำนักงาน ก.พ.
- มีการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่มีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และข้อบังคับจรรยาข้าราชการ
- จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางให้กับส่วนราชการ
- กำหนดมิติและจัดลำดับความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การประเมิน ด้านจริยธรรมข้าราชการทุกระดับ
- สร้างเวทีเครือข่าย / จัดงานรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
- จัดทำหลักสูตรกลางด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นมาตรฐาน เช่น หลักสูตรการพัฒนาจิตบริการของข้าราชการ
- ปลูกฝังอุดมการณ์และปรัชญาการเป็นข้าราชการที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี
- ส่งเสริมภาพพจน์ของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประชาชนเชื่อถือและศรัทธา
- สร้างวัฒนธรรมการไว้วางใจในองค์การ
- ปกป้องและสร้างความปลอดภัยให้กับข้าราชการจากอิทธิพลภายนอก
- ผลักดันเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและข้อบังคับจรรยาของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นมติของคณะรัฐมนตรี
- สร้างเครือข่ายกับสื่อเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของข้าราชการที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย และเข้าถึงประชาชน
- จัดให้มีระบบกรองคนที่ไม่ประพฤติตามข้อ กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบมาตรฐาน ทางคุณธรรม จริยธรรม ข้อบังคับจรรยาและวินัยข้าราชการ ออกจากราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกระดับในองค์การโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ที่หลากหลาย ให้สามารถเป็นผู้นำตนเอง ผู้นำทีม ผู้นำองค์การ และผู้นำเครือข่าย
เป้าหมาย : ผู้นำทุกระดับของทุกส่วนราชการได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่องให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถผลักดันองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ 1 : สร้างระบบการพัฒนาให้ข้าราชการทุกระดับ รู้จักการนำตนเอง นำทีม นำองค์การ และนำเครือข่าย
กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาให้มีความรู้เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง
เงื่อนไขความสำเร็จ :
บทบาทส่วนราชการ
- นำเรื่องผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของ ส่วนราชการ และมีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯอย่างต่อเนื่อง
- กำหนดแผนพัฒนาองค์การและทรัพยากรบุคคลให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์การ
- กำหนดสมรรถนะของภาวะผู้นำ ระบบการพัฒนาผู้นำ และหลักสูตรการพัฒนาผู้นำ
บทบาทสำนักงาน ก.พ.
- รักษาและพัฒนาระบบการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ ระบบพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ จนถึง การพัฒนานักบริหารระดับต้น
- มีระบบการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาของสำนักงาน ก.พ. (เป็นระบบกลาง) ซึ่งเป็นการรองรับความก้าวหน้าในลักษณะระบบเปิด
- สร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคลกับนานาประเทศโดยเฉพาะ ประเทศอาเซียน และภาคเอกชน
- กำหนดมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนตัวชี้วัด ความสำเร็จ
- ประเมินประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการบริหารการเปลี่ยนแปลงและให้การสนับสนุน ตามความจำเป็น
- สนับสนุนด้านองค์ความรู้ เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการทุกคน ทุกระดับ ให้มีพลังกายที่เข้มแข็งและพลังใจที่พร้อมอุทิศ เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน
เป้าหมาย : ราชการเกิดความตระหนัก มีแนวทางปรับปรุง พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และมีจิตสำนึก มี ส่วนร่วมในการแก้ไขสิ่งแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น สามารถปฏิบัติตน ได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมของตนเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์การ
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาเสริมสร้างความรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม และจำเป็น ให้กับ ข้าราชการ
กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาระบบเสริมเพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เงื่อนไขความสำเร็จ :
บทบาทส่วนราชการ
- มีระบบกำกับดูแล และติดตามผลเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการ
บทบาทสำนักงาน ก.พ.
- พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน
- จัดทำหลักสูตรกลางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมาตรฐาน
- สร้างระบบการปกป้อง คุ้มกันภัยให้ข้าราชการจากอิทธิพลภายนอก
หมายเหตุ: รายละเอียดตัวชี้วัดและเงื่อนไขความสำเร็จในการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์ รวม ทั้งแนวทางดำเนินการ สำนักงาน ก.พ. จะนำเสนอในเอกสารคู่มือแนวทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552-2556 ที่สำนักงาน ก.พ. จะชี้แจงและแจ้งเวียนให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ
- แนวทางการยกระดับขีดสมรรถนะของบุคคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2557-2561(เอกสารประกอบ)
- แนวทางการยกระดับขีดสมรรถนะของบุคคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2557-2561(เอกสารประกอบการบรรยาย)
- แนวทางการดำเนินการยกระดับขีดสมรรถนะของบุคคลากรภาครัฐ ตามมติ ครม. พ.ศ. 2557-2561 (เอกสารประกอบการบรรยาย)
- แบบสำรวจการพัฒนาบุคคลากรของหน่วยงานภาครัฐ (เอกสารประกอบ)
# | หน่วยงาน | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
1 | สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. | โทรศัพท์ 02-547-1000 โทรสาร 02-547-1001 |
- 21889 reads