ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

เบ็ดเตล็ด

1. การดำเนินการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัย  กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนพิจารณาโทษไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินคดีอาญา  ดังนั้น แม้ศาลจะมีความเห็น
ในสำนวนคดีแตกต่างออกไป  ก็ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการทางวินัย (นร 0709.2/ป 480  ลงวันที่  8  ตุลาคม  2542) 94

2. ข้าราชการทูลเกล้าฯ  ถวายฎีกาโดยสุจริต  ไม่อาจปรับบทเป็นความผิดวินัยฐานใดได้  (นร  0709.1/ ล 511  ลงวันที่  8 พฤษภาคม  2545) 95

3. ข้าราชการถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีย่อมไม่อยู่ในเงื่อนไขตามมาตรา 53  แห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสืบสวนให้ได้ความจริงว่าถ้าผู้นั้นไม่ถึงแก่ความตายเสียก่อนจะต้องได้รับโทษสถานใด  เพื่อให้ทราบถึงสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญของทายาท (นร 0709.2/ป 152 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2541

4. ข้าราชการที่มีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยเรื่องที่กระทำผิดวินัย การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญต้องรอไว้จนกว่าการสอบสวนปรากฏผล  ถ้าปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นถูกลงโทษถึงไล่ออกหรือปลดออก  ทายาทของข้าราชการผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ  (นร  0709.1/200  ลงวันที่  18  กันยายน 2544

5. การที่จะพิจารณาว่าการดำเนินการทางวินัยในเรื่องใดเป็นการดำเนินการซ้ำหรือไม่  ให้ยึดถือหลักเจตนาของผู้กระทำและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป  หากเป็นเรื่องกล่าวหาที่มีการกระทำหลายครั้งแต่มีเจตนาเดียวต่อเนื่องกันกรณีก็ต้องถือว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ในเรื่องเดียวกัน  เมื่อมีการดำเนินการทางวินัยกับผู้กระทำผิดไปแล้ว  จะดำเนินการทางวินัยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้  (นร 0709.1/ล 90  ลงวันที่  14  กุมภาพันธ์  2545

6. การที่ ก.พ.มอบอำนาจการตรวจสอบการดำเนินการทางวินัย  และการออกจากราชการให้ อ.ก.พ.กระทรวง  เป็นผู้พิจารณาแทนนั้น  หากปรากฏว่าผู้รับมอบไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก.พ.ซึ่งมี
หน้าที่  กำกับ  ดูแล  ตรวจสอบ  การดำเนินการดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินการแก้ไขได้  (นร 0709.2/ล 21  ลงวันที่  27  มกราคม  2543) 99
 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534

 

1. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง  ซึ่งสังกัดกระทรวง  ทบวง กรม  และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม  ย่อมมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น  อีกทั้งมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ ได้  (นร 0709.1/129 ลงวันที่  10  พฤษภาคม 2544) 100

2. ผู้ดำรงตำแหน่งอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ตามมาตรา 38  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนจะกระทำการเกินกรอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายมิได้  หากมีกรณีเป็นที่สงสัยในเรื่องการมอบอำนาจให้พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของผู้มอบเป็นสำคัญ  (นร  0709.1/ล 261  ลงวันที่  13  ธันวาคม 2543)
 

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

ข้าราชการออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญในวันที่ 1 ตุลาคม 2540  ต่อมาคณะกรรมการ  ป.ป.ป. ได้พิจารณามีมติให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงในวันที่  30  กันยายน 2541  ถือว่าเป็นการดำเนินการตามเงื่อนไขของมาตรา 21  จัตวา  แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ  พ.ศ. 2518  แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่  2)   พ.ศ. 2530  ประกอบบทเฉพาะกาล  ตามมาตรา 128  แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542  แล้ว  ผู้บังคับบัญชาย่อมดำเนินการทางวินัยต่อไปได้เสมือนว่าข้าราชการผู้นั้นยังมิได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ  (นร 709.1/263  ลงวันที่  19  พฤศจิกายน  2544) 102