|
OEA.Australia
ยินดีต้อนรับสู่สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย
Office of Educational Affairs. Royal Thai Embassy
74-76 Hopetoun Circuit
Yarralumla, Canberra
ACT 2600
Australia
ประวัติและที่มา
ประวัติของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า “สนร.” ชื่อภาษาอังกฤษ คือ The Office of Educational Affairs (OEA) เป็นหน่วยงานในสังกัดของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สำนักงาน ก.พ. ซึ่งทำหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน และดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวง ทุนของรัฐบาล บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8 (8) (9) และมาตรา 13 (9) (10)
ในอดีตที่ผ่านมาสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน มีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2423 การจัดการการศึกษา และดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลในต่า่งประเทศของสำนักงาน ก.พ. จากอดีตประเทศไทยเริ่มส่งคนไปศึกษาต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยส่งไปประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก คือ “นายฉุน” ไปศึกษาวิชาการเดินเรือ และฝากการดูแลกับกัปตันเดินเรือสมุทร นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จวบจนถึงปัจจุบัน ได้มีการส่งคนไทยไปศึกษาต่างประเทศโดยตลอด
การจัดการการศึกษาของนักเรียนไทยในต่าง ประเทศ เริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยระยะแรกมีผู้ดูแลนักเรียนเป็นชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2471 มีหน้าที่ในการดูแลจัดการศึกษานักเรียนทุนรัฐบาลในต่างประเทศ ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรทุนรัฐบาล การคัดเลือก การดูแลจัดการการศึกษา รวมทั้ง การให้ทำงานรับราชการหลังสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศอีกด้วย
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ( ค.ศ. 1953 )
การดูแลจัดการการศึกษา นักเรียนทุนรัฐบาล บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ.
ในปัจจุบันสำนักงาน ก.พ. ได้จัดตั้ง สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอยู่ในประเทศต่าง ๆ 7 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ สนร. ออสเตรเลียมี อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการศึกษา) เป็น ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน มีหน้าที่เสมือนเป็นผู้ปกครองของนักเรียน ทำหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ ด้านการดูแลจัดการศึกษาแก่ นักเรียนทุนรัฐบาล และ ข้าราชการลาศึกษา และฝึกอบรมในต่างประเทศ ตามแนวทาง ที่ ก.พ. กำหนดมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน โดยสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนได้รับมอบหมายจากสำนักงาน ก.พ. ในการทำหน้าที่ดูแลจัดการการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนรัฐบาล ข้าราชการ และนักเรียนที่ฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ
หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน แบ่งประเภทหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ ได้ดังนี้
- การดูแลจัดการศึกษา การให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียนทุนรัฐบาล ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนอื่นๆที่ฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ.ตามระเบียบที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน ก.พ. เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษา ฝึกอบรม ตามโครงการและระยะเวลาที่ทางราชการหรือหน่วยงานกำหนดไว้ และกลับไปรับราชการหลังสำเร็จการศึกษา
- สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรวจสอบรายงานความก้าวหน้าทางการศึกษา และปรับปรุงงานบริการด้านการศึกษาของ สนร.
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือประสานงานระหว่าง สนร. สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนของต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมงานดูแลจัดการการศึกษา
- ภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตและสำนักงาน ก.พ.
ประวัติทุนเล่าเรียนหลวง และทุนรัฐบาล
การพัฒนาคนโดยการให้ทุนไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน จุดหมายเพื่อให้ผู้รับทุนได้เพิ่มพูนความรู้ สั่งสมประสบการณ์ และนำความรู้และประสบการณ์ที่รับ มาปรับใช้พัฒนาประเทศและสังคมไทย
ระยะแรก ไทยเราส่งคนไปศึกษาฝึกอบรมในต่างประเทศเพียงไม่กี่ด้าน และส่งไปเพียงไม่กี่ประเทศ แต่ปัจจุบันเราส่งคนไปศึกษาฝึกอบรมในทุกด้าน ครอบคลุม 40 กว่าประเทศ
สมัยกรุงสุโขทัย
ในสมัยกรุงสุโขทัย ราชการส่งคณะสงฆ์ไปศึกษาและฝึกอบรมทางพุทธศาสนาที่ประเทศลังกา และส่งไปเรียนการทำชามสังคโลกที่ประเทศจีน
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราชการส่งคนไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ ได้แก่ วิชาการทำน้ำพุ วิชาก่อสร้าง วิชาช่างเงินและช่างทอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมของผู้ดีฝรั่งเศส
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราชการส่งคนไปศึกษาวิชาการเดินเรือที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งสามัญชน ชื่อ “นายฉุน”
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ราชการส่งนักเรียนทุน “นายทด บุนนาค” และ “นายเทศ บุนนาค” ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งไปพร้อมกับคณะทูตไทยเมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากนักเรียนแล้ว ราชการยังส่งข้าราชการไปศึกษาวิชาชีพเฉพาะ เช่น การพิมพ์ และการซ่อมนาฬิกา ส่งข้าราชการไปดูงานในต่างประเทศทางด้านการปกครองและบำรุงบ้านเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2404 ด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราชการส่งนักเรียนไทยจำนวน 206 คน ไปศึกษาในประเทศที่เป็นต้นแบบของวิชาการแต่ละด้าน เช่น อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โดยเน้นให้ไปศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันคณิตศาสตร์ และวิชาตามที่นักเรียนถนัด เช่น วิชาทหารบก ทหารเรือ การทูต กฎหมาย แพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ในสมัยนี้ เริ่มมีการแบ่งนักเรียนทุนเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนตามความต้องการของกระทรวง นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนด้วยอย่างเป็นกิจลักษณะด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ราชการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ จำนวน 304 คน ต่อมาเนื่องจากปัญหาทางฐานะทางการเงินการคลังของประเทศในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กรรมการองคมนตรีและสภาการคลัง จึงได้ลงมติในปี พ.ศ. 2465 ให้งดส่งนักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นการชั่วคราว ยกเว้นทุนเล่าเรียนหลวงที่ยังคงให้มีการจัดส่งต่อไป
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ราชการได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือก การดูแลจัดการศึกษาของนักเรียนทุนรัฐบาลให้เป็นระบบและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีคณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.ร.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบคัดเลือก จัดการดูแลการศึกษาของนักเรียนทุนหลวงฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ และต่อมาในปี 2476 ก็เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบแทน ในช่วงหลังนี้ ได้มีการพักการให้ทุนเล่าเรียนหลวงไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นมาอีกครั้งในปี 2507 และเพิ่มจำนวนทุนเล่าเรียนหลวงจากปีละ 2 ทุน เป็น 9 ทุน และนอกจากทุนเล่าเรียนหลวงแล้ว ยังได้มีการขยายทุนเป็นทุนรัฐบาลประเภทอื่นให้หลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มคนต่าง ๆ เช่น นักเรียนในต่างจังหวัด นักเรียนผู้ด้อยโอกาสเนื่องจากความผิดปกติทางร่างกาย เป็นต้น
ปัจจุบัน ก.พ. โดยสำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนรัฐบาล จะสำเร็จการศึกษาและกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยตามข้อกำหนดของแต่ละประเภททุนได้
ที่มา :
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, วิวัฒนาการของสำนักงาน ก.พ. พ.ศ.2471 – 2540 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2540
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, วิวัฒนาการของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงและนักเรียนทุนรัฐบาล กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2540
หมายเหตุ เนื้อหาในหน้านี้ ได้รับการปรับแต่งจากที่ปรากฎบนเว็บไซต์ สำนักงาน ก.พ. www.ocsc.go.th
บทบาทและหน้าที่
Office of Educational Affairs, Royal Thai Embassy is responsible for Royal Thai Government students who have been granted scholarship to further their education in Australia and New Zealand. Our office performs the role of guardian by caring for students under our jurisdiction and handling their educational and associated financial affairs.
Our responsibilities are as followed
- To provide support, encouragement and offer reliable information, provide effective consultation service on education for Royal Thai Government Scholarship students
- To coordinate with all universities on tuition fees, progress reports and relevant activities
- To coordinate trainings and study trips for Thai civil servants and Thai government officials to expand knowledge and experience to benefit the Thai civil servant system
- To motivate and inspire for all Thai Government Scholarship students to successfully completing their study and return to fulfil their duties in Thailand
- To work closely with other Thai government departments as part of Team Thailand and perform other specific tasks
If you are in Thailand, please contact
Educational & Training Abroad Branch, Office of the Civil Service Commission (OCSC)
- 1390 reads