โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง:
ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

(กลุ่มหลักสูตร ป.ย.ป. ได้แก่ ป.ย.ป.1 ป.ย.ป.2 ป.ย.ป.3 และ ป.ย.ป.4)

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
ที่ตั้ง : อาคาร 3 ชั้น 4

 

หลักสูตรปีงบประมาณ พ.ศ.2562

การสัมมนาบุคลากรภาครัฐ “ยุทธศาสตร์ชาติภาคปฏิบัติ: ร่วมขยับขับเคลื่อนภาครัฐ เพื่อประชาชน” วันที่ 16 กันยายน 2562 ณ ห้อง แกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคาร อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
สื่อและเอกสารประกอบการสัมมนาบุคลากรภาครัฐ
“ยุทธศาสตร์ชาติภาคปฏิบัติ: ร่วมขยับขับเคลื่อนภาครัฐ เพื่อประชาชน”
(National Strategy in Action: integrated implementation for THAIS)
วันที่ 16 กันยายน 2562 ณ ห้อง แกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคาร อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

  1. วิดีทัศน์ช่วงที่ 1 การนำเสนอภาพรวมโดยกลุ่มกำลังคนคุณภาพกลุ่มต่างๆ 
  2. วิดีทัศน์ช่วงที่ 2 ปาฐกถาพิเศษโดยนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) 
  3. วิดีทัศน์ช่วงที่ 3 บรรยายพิเศษ หัวข้อ "Digital Government and Open Innovation" 
  4. วิดีทัศน์ช่วงที่ 4 การนำเสนอ 7 Policies in Action โดยกลุ่มหลักสูตร ป.ย.ป 2 และบรรยายพิเศษโดยนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 
  5. เอกสารประกอบการสัมมนาฯ 
  6. ภาพถ่ายในงานสัมมนาฯ 

งานสัมมนาบุคลากรภาครัฐ “ยุทธศาสตร์ชาติภาคปฏิบัติ : ร่วมขยับขับเคลื่อนภาครัฐเพื่อประชาชน (National Strategy in Action: Integrated Implementation for THAIS)”

1) หนังสือเชิญถึงหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง

2) หนังสือเชิญถึงหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่าปลัดกระทรวงและปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (จำนวน 19 ฉบับ)

3) หนังสือเชิญถึงสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและกระทรวงแรงงาน ผู้เข้าร่วมโครงการเชิงยุทธศาสตร์/โครงการสำคัญ ( Policy Work / Study team)

4) หนังสือเชิญถึงหน่วยงาน 7 หน่วยงาน เพิ่มเติม

5) หนังสือเชิญถึงหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมและเทียบเท่า (จำนวน 109 ฉบับ)

หนังสือขอเชิญผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 1 เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 การนำเสนอโครงการ Flagship ภายใต้กรอบ ป.ย.ป. (Policies in Action) ในวันที่ 9 กันยายน 2562

หนังสือขอเชิญผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 ร่วมนำเสนอโครงการ Flagship ภายใต้กรอบ ป.ย.ป. (Policies in Action)  (อัพเดตวันที่ 29 สิงหาคม 2562)

หนังสือแจ้งปรับกำหนดการฝึกอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รุ่นที่ 5-6  (อัพเดตวันที่ 4 กรกฎาคม 2562)

หนังสือแจ้งปรับเปลี่ยนกำหนดการฝึกอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รุ่นที่ 5 - 6 

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ป.ย.ป.)

 

         

          เมื่อวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 สำนักงาน ก.พ. โดยสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (สพข.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Practical Innovative Leaders : What Got You Here May Not Get You There” สำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 16 ท่าน ณ ห้องดอกรัก โรงแรมเดอะ ระวีกัลยา แบงค็อก และได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “หัวหน้าส่วนราชการ : ความคาดหวัง แผนปฏิรูป และประเทศไทย 4.0” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. (นางเมธินี เทพมณี) เป็นผู้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการสัมมนา ซึ่งกำหนดจัดดำเนินการรวม 6 ครั้ง ภายใต้ Theme ใหญ่ที่มีชื่อว่า Practical Innovative Leaders หมายถึง ผู้นำองค์กรที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่น (Passion) ในการขับเคลื่อนประเทศไทยตามแผนปฏิรูปประเทศและประเทศไทย 4.0 รวมทั้งเสริมสร้างกรอบความคิด (Mindset) ในการทำงานให้มีการสอดประสานบูรณาการกัน

          การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็น Orientation สำหรับ “ปลัดกระทรวงใหม่” เพื่อให้ได้รับรู้เกี่ยวกับบทบาทในฐานะหัวหน้าองค์กร ความท้าทาย และความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปจากฝ่ายรัฐบาลโดยท่านรองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการปรับตัวและการทำงานผ่านการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เปิดเคล็ดลับฉบับผู้นำ : การปรับตัวเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งใหม่” จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ 3 ท่าน ได้แก่ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) นายพงศ์โพยม วาศภูติ ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย) และ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกฤษฎีกา (อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง) ซึ่งมาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ คำแนะนำ และตอบคำถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดา “ปลัดกระทรวงใหม่” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการเสวนาในบรรยากาศเป็นกันเอง แบบรุ่นพี่พูดคุยกับรุ่นน้อง ทั้งนี้ รองเลขาธิการ ก.พ. (นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์) และที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ 2 ท่าน จากสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมดังกล่าวด้วย

          ในช่วงแรก รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้กล่าวและมอบสารแสดงความยินดีกับปลัดกระทรวงใหม่ที่เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน โดยเริ่มต้นจุดประกายว่าการได้มาซึ่งอำนาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่การรักษาอำนาจเป็นเรื่องที่ยากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับ Theme ของการสัมมนา คือ What Got You Here May Not Get You There ผู้ที่เป็นปลัดกระทรวงจะต้องมีคุณลักษณะ 2 ประการ คือ เป็น CEO และบูรณาการเป็น หมายถึงต้องปกครองดูแลคนและทำงานร่วมกับทุกกรมได้ โดยส่วนใหญ่สามารถบูรณาการกันได้ แต่การเป็น CEO ทำไม่สำเร็จเพราะไม่ได้เป็นวัฒนธรรมและกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจความเป็น CEO เหมือนภาคเอกชน อย่างไรก็ดี สิ่งที่รัฐบาลสิ่งที่รัฐบาลคาดหวังให้มีความรู้และความเข้าใจ ได้แก่ “ประเทศไทย 4.0” “การปฏิรูปประเทศ” “ยุทธศาสตร์ชาติ” “Start-up” “Application” “Digital Government” “นวัตกรรม” “ธรรมาภิบาล” “บูรณาการ” รวมทั้งคำอื่น ๆ ที่อาจมีเพิ่มเติมเป็นระยะ ซึ่งปัจจุบันเหมือนจะกลายเป็น Job Description ของปลัดกระทรวงไปแล้ว โดยท่านได้ยกตัวอย่างของการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ไปใช้ในการทำงานของปลัดกระทรวง และที่สำคัญจะต้องทำทั้งงานตามภารกิจ (Function) งานตามพื้นที่ (Area) คือการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ทั้งในแง่อำนาจ งบประมาณ ทรัพยากร สภาพแวดล้อม เป็นต้น และงานตามวาระ (Agenda) คือการทำในสิ่งที่ในกระทรวงไม่เคยทำและต้องทำเป็นวาระพิเศษ เช่น ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องทำเรื่องการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น และท่านได้ทิ้งท้าย 3 เรื่องที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้ความสำคัญ คือ (1) กฎหมาย เพราะกระทรวงต้องเป็นตัวหลักในการออกกฎหมาย (2) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจ รวมถึงการให้ข่าวต่าง ๆ และ (3) การนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการทำงาน

          สำหรับช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นการเสวนานั้น นายพงศ์โพยมฯ ได้ให้ข้อคิดว่าในช่วง 90 วันแรกของการดำรงตำแหน่งถือเป็นช่วงที่สำคัญ ถ้าเห็นอะไรที่อยากเปลี่ยนแปลง ให้รีบจดไว้เพราะนานไปจะเกิดความคุ้นเคยและทำให้นิ่งเฉยกับสิ่งที่ต้องการเปลี่ยน อีกทั้งจะต้องเปลี่ยนแปลงด้วยความระมัดระวังและใช้สติปัญญาสูง ท่านได้ชี้แนะ 3 เรื่องที่สำคัญ คือ (1) ปัญหาและความต้องการของประชาชน (2) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประกาศใช้ในปี 2560 ซึ่งต้องสังเคราะห์และศึกษาให้ดีในการปฏิบัติ (3) การทำงานกับระบบการเมืองใหม่ ซึ่งจะแตกต่างจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มี คสช. อย่างไรก็ตามท่านได้ให้แนวทางการทำงานหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ การตั้งใจสนองนโยบายด้วยความสุจริตใจ และการทำงานที่ไม่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย การรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติในเวทีภูมิภาค การทำงานท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) การปรับ Mindset ในการทำงาน ควรเปลี่ยนบทบาทจาก Doer เป็น Supporter, Facilitator, Tutor การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centric) การทำงานด้วยความโปร่งใส (Transparency & Anti-Corruption) การทำงานแบบ Small and Smart Government โดยลดคนลง เพิ่มการ Outsource และใช้ดิจิทัลในการทำงานให้มากขึ้น การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในราชการ การทำงานเพื่อตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และที่สำคัญคือต้องรู้จักดูแลตัวเอง (Work-life Balance) นอกจากนี้ ท่านยังมองเห็นว่าร้อยละ 80-90 ของปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยภาวะผู้นำ ผู้นำต้องเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ต้องรู้อำนาจหน้าที่ของตนเอง เป็น Buffer ระหว่างอธิบดีกรมต่าง ๆ ต้องรู้จักสร้างผลงาน สร้างระบบงาน และสร้างคน และควรจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้งานดำเนินไปได้

          พล.ต.อ. อดุลย์ฯ ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้นำมีบทบาทที่สำคัญยิ่งดังนั้น ผู้ที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความสามารถ ต้องรู้จักวางแผน มีกลยุทธ์ และมีวินัย ท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นผู้นำของท่าน โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการที่มีเจ้าภาพในการปฏิบัติ ท่านได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการ (War Room) ส่วนตัวเพื่อช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการและตามงานได้ทัน อีกทั้งได้ให้ข้อคิดว่าผู้บริหารสูงสุดต้องเป็นเอกภาพ และใช้ความแข็งแกร่งของเอกภาพจากข้างบนดันข้างล่าง ต้องสร้างความพอใจ และบูรณาการทุกภาคส่วนต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณคนและไม่ลืมคนที่ร่วมสร้างความยิ่งใหญ่ นอกจากนี้จะต้องทำงานอย่างมีเป้าหมาย เข้มแต่ไม่เครียด ต้องรู้จักสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม บริหารเวลาให้ครบทั้งด้านการทำงาน สุขภาพ สังคม และครอบครัว

          นายอารีพงศ์ฯ ได้ให้ความสำคัญกับการมีวิสัยทัศน์ นโยบายเป้าหมายที่ชัดเจนและต้องตอบสนองประชาชน โดยทุกกรมจะต้องเข้าใจตรงกันและทำงานประสานสอดคล้องกันให้ได้ ปลัดกระทรวงควรจะต้องมีตา คือมีผู้ตรวจราชการเป็นผู้ช่วย โดยปลัดกระทรวงยังคงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และต้องคอยกำกับการดำเนินงานโดยการรับฟังจากการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องทำดีที่สุดเพื่อเป็นเกราะป้องกันตนเอง

          การสัมมนาในครั้งนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ปลัดกระทรวงที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ได้รับรู้และเข้าใจถึงประเด็นสำคัญของแผนปฏิรูปและประเทศไทย 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ ตลอดจนความคาดหวังจากรัฐบาลที่ตรงกันแล้ว ยังได้รับทราบเคล็ดลับในการเป็นผู้นำจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ตรงของภาคราชการอีกหลายประเด็น พร้อมด้วย “Toolkit” ที่ระลึกสำหรับการสัมมนา ประกอบด้วย

  1. หนังสือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  2. สารแสดงความยินดีจากท่านรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ที่ส่งถึงปลัดกระทรวงใหม่แต่ละท่านโดยตรง
  3. หนังสือ What Got You Here Won’t Get You There โดย Marshall Goldsmith
  4. สรุปย่อจากหนังสือ The First 90 Days (Michael D. Watkins) สรุปโดย นายเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย
  5. สมุดบันทึกพร้อมคำคมสำหรับนักบริหาร The Leader’s Story
  6. กำหนดการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Practical Innovative Leaders : What Got You Here May Not Get You There วันที่ 22 พ.ย. 2560
  7. กำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Practical Innovative Leaders สำหรับหัวหน้าส่วนราชการในภาพรวมตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
  8. ปากกา
  9. แบบประเมินการจัดสัมมนาฯ ในวันที่ 22 พ.ย. 2560
  10. แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาและข้อเสนอแนะเพื่อออกแบบหลักสูตรสำหรับหัวหน้าส่วนราชการในครั้งต่อ ๆ ไป
  11. วิธีการและช่องทางการติดตามข่าวสารการสัมมนา Practical Innovative Leaders ทั้ง 3 ช่องทาง คือ
  • www.ocsc.go.th/rsr (เข้าถึงได้โดยทั่วไป)
  • http://learn.ocsc.go.th ภายใต้หัวข้อ “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า (Practical Innovative Leaders)” (เฉพาะปลัดกระทรวงใหม่ทั้ง 16 ท่าน)
  • Application “Moodle Mobile” ภายใต้หัวข้อ “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า (Practical Innovative Leaders)” (เฉพาะปลัดกระทรวงใหม่ทั้ง 16 ท่าน)

          การสัมมนาในหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้นำองค์กรนี้ ยังคงมีภาคต่อไปตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ส่วนครั้งต่อไปจะเป็น Theme เรื่องใดนั้น สามารถติดตามได้จากหน้าข่าวรายวันหรือรับข้อมูลผ่านทาง www.ocsc.go.th/rsr กันนะครับ!

Pages