Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
เมนูที่เกี่ยวข้อง

คำถามที่พบบ่อย สตป.

Q: กรณีถ้าข้าราชการต้องการเปลี่ยน E-mail ในระบบทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ (SEIS) ต้องทำอย่างไร

ให้เข้าระบบด้วยการยืนยันตัวตนด้วย Mobile Application ThaiD (ระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง) แล้วไปแก้ไข E-mail ในระบบได้ด้วยตนเอง

Q: กรณีการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิดในระบบทะเบียนประวัติข้าราชการ สามารถดำเนินการแก้ไขอย่างไร

เจ้าของประวัติสามารถดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่ตนเองสังกัด เพื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

Q: การขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติข้าราชการ ก.พ. 7 ของตนเอง ต้องทำอย่างไร

เจ้าของประวัติสามารถขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติข้าราชการ ก.พ. 7 ได้ที่เจ้าหน้าที่ทะเบียนประวัติของหน่วยงานที่ตนเองสังกัด โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการคัดสำเนา ก.พ. 7 พร้อมทั้งมีการลงนามรับรองเอกสารจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย

Q: การขอดูทะเบียนประวัติข้าราชการ ก.พ. 7 ของตนเอง ต้องทำอย่างไร

เข้าระบบทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ (SEIS) ด้วยตนเองที่ Link เพื่อดูประวัติของตนเองเท่านั้น

Q: ระบบ DPIS Version 6.0 มีสถาปัตยกรรมระบบเป็นอย่างไร

ระบบ DPIS Version 6.0 เป็นระบบที่มีสถาปัตยกรรมแบบ Web-Based Application   มีสถาปัตยกรรมระบบโดยสรุป ดังนี้
– พัฒนาด้วย PHP ด้วย Framework Codigneiter ​3 (PHP 7.2.34)
– โปรแกรมเว็บเซอร์เวอร์  NGINX
– ฐานข้อมูล MariaDB (จัดเก็บข้อมูลบุคลากร)   MongoDB (จัดเก็บ Log การใช้งานระบบ)

Q: ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) คืออะไร

ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (Departmental Personnel Information System : DPIS) เป็นโปรแกรมที่สำนักงาน ก.พ. พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ในหน่วยงานระดับกรม ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ในปัจจุบันสำนักงาน ก.พ. ได้พัฒนาและปรับปรุงโปรแกรม DPIS เป็น Version 6.0 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า HRMS โดยได้พัฒนาให้สามาถจัดเก็บข้อมูลบุคลากรประเภทอื่นได้ และพัฒนาระบบเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคลากรระหว่างส่วนราชการและสำนักงาน ก.พ.  ผ่าน API  เพื่อบูรณาการข้อมูลระหว่างส่วนราชการที่ใช้ระบบ DPIS Version 6.0  มีระบบการแจ้งเตือนในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การแจ้งเตือนการยืนขอลา การแจ้งเตือนส่งผลการประเมินการปฏิบัติราชการ เป็นต้น

Q1: การกำหนดตำแหน่งและการจัดทำกรอบอัตรากำลังของพนักงานราชการ

Q: พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ

A: พนักงานราชการในกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะเป็นกลุ่มงานที่ใช้วุฒิเฉพาะทาง และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีองค์กรตามกฎหมายตรวจสอบ และรับรองการประกอบวิชาชีพ หรือเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการหรือเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเชิงพัฒนา เช่น ตำแหน่งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ วิศวกรโยธา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ซึ่งต้องเทียบเคียงได้กับสายงานที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ)

Q: เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้รับเรื่องร้องเรียนหรือตรวจพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัยจะต้องดําเนินการอย่างไร

ต้องรายงานเรื่องร้องเรียนหรือข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทําความผิดวินัยไปยังผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สําหรับในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของราชการ เช่น หากปล่อยให้ล่าช้าไปพยานหลักฐานจะถูกทําลาย หรือไม่อาจรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวได้ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น อาจจะดําเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นและรายงานไปเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

Q08: หากสำนักงาน ก.พ. ประกาศรับสมัครแล้ว ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐจะขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับการจัดสรรทุนจากสาขาวิชาหนึ่งเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งได้หรือไม่

A: เมื่อสำนักงาน ก.พ. ประกาศรับสมัครแล้ว ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำขอรับการจัดสรรทุนได้ดังนั้น ภายหลังจัดส่งคำขอไปยังสำนักงาน ก.พ. แล้ว เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน สำนักงาน ก.พ. จะจัดทำรายละเอียดให้ส่วนราชการยืนยันก่อนการจัดทำประกาศ

Q3: หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง และมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

Q: กรณีเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในการบริหาร ต้องเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง เพื่อพิจารณาหรือไม่ หรือเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการสามารถดำเนินการได้เอง

A: ต้องเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง เพื่อพิจารณา ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

Q09: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดประเทศที่ต้องการให้ไปศึกษา/ฝึกอบรมได้กี่ประเทศ

A: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดประเทศที่ต้องการให้ไปศึกษา/ฝึกอบรมได้หลายประเทศ ทั้งนี้ ต้องระบุชื่อประเทศอย่างชัดเจน เช่น กรณีเป็นประเทศในสหภาพยุโรป จะต้องระบุชื่อประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย ราชอาณาจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฯลฯ ให้ชัดเจน โดยไม่สามารถระบุเป็นทวีปหรือภูมิภาคได้

Q10: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ สามารถขอรับการจัดสรรทุนศึกษา/ฝึกอบรมภายในประเทศได้หรือไม่

A: ปัจจุบันทุนตามความต้องการของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ กำหนดให้เป็นทุนศึกษา/ฝึกอบรมในต่างประเทศเท่านั้น

Q11: กรณีผู้สมัครรับทุนขอรับทุนศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร ต้องมีเงื่อนไขอย่างไร

A: สถาบันที่จะไปศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร จะต้องถูกจัดลำดับอยู่ใน top ๒๐ ในภาพรวม (Overall Ranking) หรือในสาขาวิชาที่จะไปศึกษา (by Subject) อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

Q12: ผู้ใดจะเป็นผู้กรอกข้อมูลต่าง ๆ ในระบบสารสนเทศนักเรียนทุนรัฐบาล เพื่อขอรับการจัดสรรทุน

A: ขึ้นอยู่กับการมอบหมายงาน/การบริหารจัดการภายในของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่บันทึกเข้าสู่ระบบสารสนเทศนักเรียนทุนรัฐบาลจะต้องถูกต้องครบถ้วนตามมติของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ

Q13: กรณีนักเรียนทุนบุคคลทั่วไประดับปริญญา (บรรจุก่อนไปศึกษา) ที่บรรจุเข้ารับราชการแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาจากสถาบันการศึกษาภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งอยู่ในกรณีการเพิกถอนการให้ทุน ส่วนราชการจะต้องให้ออกจากราชการหรือไม่

A: การถูกเพิกถอนการให้ทุนมีผลให้ข้าราชการดังกล่าวไม่มีสิทธิ์ได้รับทุน แต่ไม่มีผลให้ออกจากราชการ

Q14: สำนักงาน ก.พ. มีนโยบายจัดสรรทุนให้กับพนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว หรือการจ้างประเภทอื่น ๆ หรือไม่

A: ปัจจุบันทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐกำหนดจัดสรรทุนให้กับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำในส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐที่ได้รับการจัดสรรทุนเท่านั้น

Q2: การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

Q: พนักงานราชการสามารถนำวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น มาใช้ปรับวุฒิเพื่อเพิ่มค่าตอบแทน ได้หรือไม่

A: ระบบพนักงานราชการ เป็นระบบสัญญาจ้างที่เน้นการจ้างงานตามสมรรถนะและคุณวุฒิของบุคคล ซึ่งได้กำหนดไว้เฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ประกาศรับสมัคร ดังนั้น การได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถนำมาขอปรับอัตราค่าตอบแทนหรือปรับตำแหน่งได้

Q: พนักงานราชการได้รับการจ้างให้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เนื่องจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ในปีนั้นเป็นวันหยุดราชการ จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้นหรือไม่

A: ในกรณีทั่วไป พนักงานที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาครบ 8 เดือน นับจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณ (วันที่ 30 กันยายน) แต่หากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในปีนั้นตรงกับวันหยุดราชการ พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างให้เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ให้ได้รับการเลื่อนขึ้นค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น เป็นกรณีพิเศษได้

Q: หากพนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงานแล้ว จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ เช่นเดียวกับข้าราชการ หรือไม่

A: ไม่มีค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ พนักงานราชการจะได้รับค่าตอบแทนตามอัตราขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงาน ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เท่านั้น (ประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565)

Q: พนักงานราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อน ได้หรือไม่

A: พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีขึ้นไป และในปีงบประมาณที่ผ่านมาใช้สิทธิลาพักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สามารถนำวันลาพักผ่อนที่เหลือมาสะสมได้ ซึ่งวันลาพักผ่อนที่นำมาสะสมต้องไม่เกิน 5 วันทำการ เมื่อรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันแล้วจะต้องไม่เกิน 15 วันทำการ (เป็นไปตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560)

Q: พนักงานราชการชาย สามารถลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตรและดูแลภรรยาหลังคลอดบุตร ได้หรือไม่

A: มีสิทธิลาได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเงื่อนไข (ตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ดังนี้

  • ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • ต้องลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร
  • ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • หากเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร จะไม่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 15 วันทำการ

Q: พนักงานราชการที่มีคู่สมรสเป็นข้าราชการ จะสามารถเลือกใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส ได้เลยหรือไม่

A: พนักงานราชการต้องใช้สิทธิของตนเองจากประกันสังคมก่อน หากยังมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินจึงไปใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส

Q: การพิจารณาดําเนินการในกรณีที่มีการร้องเรียนกล่าวหามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ในกรณีที่มีการร้องเรียนกล่าวหาผู้ใต้บังคับบัญชาว่ากระทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะต้องดําเนินการพิจารณาเบื้องต้นหรือสืบสวนว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยหรือไม่ โดยสํานักงาน ก.พ. ได้วางแนวทางในการดําเนินการดังกล่าวไว้ ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๑๑ /ว ๑๙ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗ โดยสรุปสาระสําคัญ ดังนี้

1. กรณีการร้องเรียนกล่าวหาโดยบัตรสนเท่ห์ (หนังสือกล่าวหาที่ไม่ปรากฏชื่อผู้กล่าวหา หรือใช้นามแฝงอื่นใด) ให้รับพิจารณาเฉพาะเรื่องที่ปรากฏพยานหลักฐานเบื้องต้นหรือเรื่องที่มีการบ่งชี้ถึงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนหรือสอบสวนต่อไปได้
2. กรณีที่มีการร้องเรียนกล่าวหาโดยปรากฏพยานหลักฐานในเบื้องต้นเพียงพอที่จะสามารถพิจารณาได้ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาหรือไม่ ก็ให้ดําเนินการพิจารณาในเบื้องต้นได้ (เพื่อสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 91) โดยไม่ต้องดําเนินการสืบสวน
3. กรณีที่การร้องเรียนกล่าวหาแต่พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาได้ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาหรือไม่ ก็ให้รีบดําเนินการสืบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในเบื้องต้น ทั้งนี้ การดําเนินการให้ดําเนินการในทางลับ (ประกอบหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0206/ว218 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541)

Q07: กรณีชื่อสาขาวิชาที่ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐจะขอรับการจัดสรรทุนไม่ตรงกับชื่อสาขาวิชาใน ISCED (รหัส 4 หลัก) ต้องทำอย่างไร
Q06: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐสามารถขอรับการจัดสรรทุนในสาขาวิชาที่ไม่ตรงตามยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ ได้หรือไม่

A: ไม่ได้

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content