Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
ทั่วไปสอบภาค กe-Learningวินัยระบบ HiPPSอุทธรณ์ร้องทุกข์
เมนูที่เกี่ยวข้อง
ทั่วไปสอบภาค กe-Learningวินัยระบบ HiPPSอุทธรณ์ร้องทุกข์

ค่าตอบแทน พรก.

Q2: การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

Q: พนักงานราชการสามารถนำวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น มาใช้ปรับวุฒิเพื่อเพิ่มค่าตอบแทน ได้หรือไม่

A: ระบบพนักงานราชการ เป็นระบบสัญญาจ้างที่เน้นการจ้างงานตามสมรรถนะและคุณวุฒิของบุคคล ซึ่งได้กำหนดไว้เฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ประกาศรับสมัคร ดังนั้น การได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถนำมาขอปรับอัตราค่าตอบแทนหรือปรับตำแหน่งได้

Q: พนักงานราชการได้รับการจ้างให้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เนื่องจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ในปีนั้นเป็นวันหยุดราชการ จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้นหรือไม่

A: ในกรณีทั่วไป พนักงานที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาครบ 8 เดือน นับจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณ (วันที่ 30 กันยายน) แต่หากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในปีนั้นตรงกับวันหยุดราชการ พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างให้เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ให้ได้รับการเลื่อนขึ้นค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น เป็นกรณีพิเศษได้

Q: หากพนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงานแล้ว จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ เช่นเดียวกับข้าราชการ หรือไม่

A: ไม่มีค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ พนักงานราชการจะได้รับค่าตอบแทนตามอัตราขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงาน ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เท่านั้น (ประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565)

Q: พนักงานราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อน ได้หรือไม่

A: พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีขึ้นไป และในปีงบประมาณที่ผ่านมาใช้สิทธิลาพักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สามารถนำวันลาพักผ่อนที่เหลือมาสะสมได้ ซึ่งวันลาพักผ่อนที่นำมาสะสมต้องไม่เกิน 5 วันทำการ เมื่อรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันแล้วจะต้องไม่เกิน 15 วันทำการ (เป็นไปตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560)

Q: พนักงานราชการชาย สามารถลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตรและดูแลภรรยาหลังคลอดบุตร ได้หรือไม่

A: มีสิทธิลาได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเงื่อนไข (ตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ดังนี้

  • ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • ต้องลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร
  • ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • หากเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร จะไม่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 15 วันทำการ

Q: พนักงานราชการที่มีคู่สมรสเป็นข้าราชการ จะสามารถเลือกใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส ได้เลยหรือไม่

A: พนักงานราชการต้องใช้สิทธิของตนเองจากประกันสังคมก่อน หากยังมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินจึงไปใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content