การดูแลจัดการศึกษาของนักเรียนทุนรัฐบาล
ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้ (ศกศ.) มีหน้าที่ดูแลจัดการศึกษานักเรียนทุนของรัฐบาล ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการรับทุนรัฐบาล และส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้นักเรียนทุนรัฐบาลสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และสามารถเดินทางไปศึกษาได้ รวมทั้งประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลในระหว่างศึกษาเพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามโครงการที่ราชการกำหนด ตลอดจนดำเนินการส่งตัวนักเรียนทุนเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ทุนในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยกระบวนการทั้งหมด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
นักเรียนทุนของรัฐบาลมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้เดินทางไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการก่อนเดินทางไปศึกษา
- ตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.
- ขอหนังสือนำเพื่อตรวจสุขภาพจากหน่วยงานเจ้าของทุน
- เข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. รับรองเท่านั้น (หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพ)
- ผลการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ว่าสามารถเดินทางไปศึกษา
ณ ต่างประเทศได้ - ผลตรวจสุขภาพกายและผลตรวจสุขภาพจิต ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันเดินทาง
- ผลการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ว่าสามารถเดินทางไปศึกษา
- จัดทำสัญญารับทุน (ดำเนินการกับต้นสังกัด/แหล่งทุน)
- ประสานแหล่งทุน/ต้นสังกัด เพื่อนัดหมายเข้าทำสัญญารับทุน
- การจัดทำสัญญารับทุน ประกอบด้วย สัญญารับทุน สัญญาค้ำประกัน ตารางคำนวณวงเงินค้ำประกันและโครงการศึกษา Th/Eng ที่ผ่านการอนุมัติจากต้นสังกัดและแหล่งทุน
- จัดส่งสัญญาคู่ฉบับให้สำนักงาน ก.พ.
- กรอกข้อมูลส่วนตัวในระบบสารสนเทศนักเรียนทุนของรัฐบาล
- จะได้รับรหัสเข้าใช้งานจากเจ้าหน้าที่ ก.พ.
- Link ระบบสารสนเทศนักเรียนทุนของรัฐบาล
- มีผลสอบภาษาอังกฤษตามที่สถานศึกษากำหนด (ต้องมีคะแนน TOEFL/IELTS เท่านั้น)
- ทั้งนี้ คะแนนภาษาอังกฤษจะต้องไม่ต่ำกว่า IELTS 6.0 หรือ TOEFL (IBT) 79
- ขอหนังสือรับรองการเป็นนักเรียนทุนจากแหล่งทุน
- สมัครสถานศึกษา
- จัดส่งหนังสือตอบรับให้เข้าศึกษา ให้สำนักงาน ก.พ. พร้อมผลคะแนนภาษาอังกฤษตามข้อ 4
- ต้องเป็นการตอบรับแบบไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Offer)
- ต้องได้รับการตอบรับตรงตามประกาศ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ทุนกำหนด
- หลักสูตรจะต้องผ่านการอนุมัติจากต้นสังกัด และแหล่งทุน โดยต้นสังกัด/แหล่งทุน จะต้องมีหนังสืออนุมัติหลักสูตรถึงสำนักงาน ก.พ.
- ขอหนังสือรับรองทางการเงินและหนังสือรับรองในการยื่นวีซ่า
- ประสานกับเจ้าหน้าที่แหล่งทุนหรือเจ้าหน้าที่ ก.พ. เพื่อขอหนังสือรับรองทางการเงิน และนำไปยื่นต่อสถานศึกษา เพื่อขอเอกสารประกอบการทำวีซ่า แบบฟอร์มแจ้งความประสงค์
- เมื่อได้รับเอกสารประกอบการทำวีซ่าจากสถานศึกษา (DS-2019/COE/CAS/JW202 ฯลฯ) ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ก.พ. เพื่อขอหนังสือรับรองในการยื่นวีซ่าต่อไป
- นักเรียนทุนของรัฐบาลดำเนินการทำหนังสือเดินทางและวีซ่าด้วยตนเอง
- ขอจองตั๋วโดยสารเครื่องบินและขอเบิกค่าใช้จ่ายก่อนเดินทาง
- ส่งสำเนาหน้าหนังสือเดินทาง สำเนาหน้าวีซ่า และสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ให้เจ้าหน้าที่ ก.พ. พร้อมกรอกแบบฟอร์มต่อไปนี้
- ส่งปฏิทินการศึกษาเพื่อตรวจสอบวันเปิดภาคเรียนและวันปฐมนิเทศภาคบังคับ
- กรณีนักเรียนทุนของรัฐบาลที่เป็นข้าราชการ/บุคลากรภาครัฐไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
- สำนักงาน ก.พ. จะมีหนังสืออนุมัติตัวบุคคล ส่งไปยังต้นสังกัด เพื่อแจ้งกำหนดการเดินทางและให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการให้ข้าราชการทำสัญญาลาศึกษา ตามระเบียบของทางราชการ นักเรียนทุนของรัฐบาลจะมีระยะเวลาศึกษาด้วยทุนรัฐบาลตามระยะเวลาของหลักสูตร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดเท่านั้น
- นักเรียนทุนจัดทำสัญญาลาศึกษาฯ กับหน่วยงานต้นสังกัด
- นักเรียนทุนของรัฐบาลรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ ก.พ. ก่อนเดินทางไปศึกษา
- รายงานตัวผ่านทาง E-mail พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน
- แบบฟอร์มรายงานตัวไปศึกษา (ติดรูปถ่ายหน้าตรง 1 รูป)
- แบบขอยืนยันไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
- สำนักงาน ก.พ. แจ้งการเดินทางไปศึกษาให้ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ (สนร.) หรือ สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) ทราบ
- นักเรียนทุนของรัฐบาลเดินทางไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
ข้อควรระวัง
- สำนักงาน ก.พ. อนุมัติให้นักเรียนทุนของรัฐบาลเดินทางก่อนสถานศึกษาเปิดภาคเรียนได้ไม่เกิน 10 วัน นับถึงวันเปิดภาคเรียน (Class Begin) โดยตรวจสอบจาก Academic Calendar บนเว็บไซต์ของสถานศึกษา
- นักเรียนทุนของรัฐบาลต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการรับทุนของตนเอง
- นักเรียนทุนของรัฐบาลที่เป็นข้าราชการ/บุคลากรภาครัฐ ต้องศึกษาและปฏิบัติตามระเบียบต่อไปนี้
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้ข้าราชการศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติงานวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
นักเรียนทุนของรัฐบาลที่อยู่ระหว่างศึกษา ณ ต่างประเทศ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด
และอยู่ในความดูแลของ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ (สนร.) หรือ สถานเอกอัครราชทูต (สอท.)
ตลอดระยะเวลาที่ศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินการระหว่างศึกษา
- การรายงานตัวต่อ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียน (สนร.) หรือ สถานเอกอัครราชทูต (สอท.)
เมื่อเดินทางถึงประเทศที่ศึกษา นักเรียนทุนของรัฐบาลจะต้องรายงานตัวต่อ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียน (สนร.) หรือ สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) ประจำประเทศนั้น ๆ ในโอกาสแรกที่ไปถึง
ช่องทางติดต่อ สนร. แต่ละประเทศ Link เว็บไซต์ สนร.
- การรายงานผลการศึกษา
รายงานผลการศึกษาให้ สนร. หรือ สอท. ทราบ ทุกภาคการศึกษา
- การยื่นคำขอในกรณีต่าง ๆ
กรณีนักเรียนทุนรัฐบาลประสงค์จะยื่นคำขอ เช่น ขอขยายเวลาศึกษา ขอพักการศึกษาชั่วคราว ขอกลับ
เยี่ยมบ้านชั่วคราว ขอเดินทางออกนอกประเทศที่ศึกษา ขอเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ หรือคำขออื่น ๆ จะต้องแจ้ง สนร. หรือ สอท. เป็นลายลักษณ์อักษร ล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน และต้องได้รับการอนุมัติจาก สนร. หรือ สอท. ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการอื่น ๆ ต่อได้
- การรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยในระหว่างศึกษา
เมื่อนักเรียนทุนของรัฐบาลเดินทางกลับถึงประเทศไทย จะต้องรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. ทุกครั้ง โดยกรอกข้อมูลในแบบรายงานตัวกลับฯ Link แบบรายงานตัวกลับจากต่างประเทศ พร้อมแนบหลักฐานตั๋วโดยสารเครื่องบิน และส่งอีเมลถึงเจ้าหน้าที่ ก.พ. และจะต้องรายงานตัวต่อ สนร. หรือ สอท. ในโอกาสแรกที่กลับถึงประเทศที่ศึกษา
- กรณีนักเรียนทุนของรัฐบาลที่เป็นข้าราชการ/บุคลากรภาครัฐ เดินทางกลับประเทศไทยในระหว่างศึกษา
กรณีนักเรียนทุนของรัฐบาลที่เป็นข้าราชการ/บุคลากรภาครัฐ หากอยู่ระหว่างการกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราว จะต้องไม่รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการ/ปฏิบัติงาน หรือมีชื่อเข้าปฏิบัติราชการ/ปฏิบัติงาน ณ หน่วยงาน
ต้นสังกัด มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาลาศึกษาสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ต้องกลับเข้าปฏิบัติราชการทันที
- กรณีการจัดสรรส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ ให้กับนักเรียนทุนของรัฐบาล (ทุน ก.พ.) ที่ยังไม่มีหน่วยงานต้นสังกัด
นักเรียนทุนของรัฐบาลจะต้องส่งแบบแสดงความจำนงเลือกกระทรวง/กรม ที่จะปฏิบัติราชการชดใช้ทุนฯ Link หนังสือแสดงความจำนงเลือกกระทรวง/กรม ที่จะปฏิบัติราชการชดใช้ทุน ก่อนเสร็จสิ้นการศึกษาประมาณ 6 เดือน เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. จัดทำหนังสือสอบถามความประสงค์ในการรับจัดสรรนักเรียนทุนของรัฐบาล ถึงหน่วยงานต่าง ๆ
นักเรียนทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับถึงประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินการหลังสำเร็จการศึกษา
1. แจ้งกำหนดการสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทย
นักเรียนทุนของรัฐบาลแจ้งกำหนดการสำเร็จการศึกษาและวันเดินทางกลับประเทศไทย ให้ สนร. หรือ สอท. ทราบ เพื่อที่ สนร. หรือ สอท. จะประสานสำนักงาน ก.พ. ต่อไป
2. การเดินทางกลับประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา
นักเรียนทุนของรัฐบาลจะต้องกลับถึงประเทศไทยและรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายในระยะเวลา ดังนี้
– ภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม เกิน 1 ปี
– ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม เกิน 6 เดือน
– ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ไม่เกิน 6 เดือน
– ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปดูงาน
3. การรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อนักเรียนทุนของรัฐบาลเดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา จะต้องกรอกข้อมูลในแบบรายงานตัวกลับฯ Link แบบรายงานตัวกลับจากต่างประเทศ พร้อมแนบหลักฐานตั๋วโดยสารเครื่องบิน และหลักฐานการศึกษา ส่งอีเมลถึงเจ้าหน้าที่ ก.พ.
4. การบรรจุเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ทุน
– กรณีนักเรียนทุนของรัฐบาลที่จะบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะต้องส่งหลักฐานการศึกษา
ให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณาคุณวุฒิก่อนเข้ารับการบรรจุ
– สำนักงาน ก.พ. จะมีหนังสือให้นักเรียนทุนของรัฐบาลรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแจ้งเรื่องการบรรจุเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ทุนและการคำนวณวันชดใช้ทุนของนักเรียนทุนของรัฐบาล
5. กรณีนักเรียนทุนของรัฐบาลที่เป็นข้าราชการ/บุคลากรภาครัฐ เดินทางกลับประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา
– นักเรียนทุนของรัฐบาลที่บรรจุเป็นข้าราชการแล้วตั้งแต่ก่อนไปศึกษา จะต้องรายงานตัวต่อต้นสังกัด
และกลับเข้าปฏิบัติราชการ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 2 ทั้งนี้ หากกลับถึงประเทศไทยเร็วกว่ากรอบระยะเวลาที่กำหนด จะต้องรายงานตัวต่อต้นสังกัดและกลับเข้าปฏิบัติราชการภายในวันทำการถัดไปหลังจากเดินทางถึงประเทศไทย
– สำนักงาน ก.พ. จะมีหนังสือให้นักเรียนทุนของรัฐบาลรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อแจ้งเรื่องการกลับเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ทุนและการคำนวณวันชดใช้ทุนของนักเรียนทุนของรัฐบาล