Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.

คำถามที่พบบ่อย ศบส.

ทุนตามความต้องการของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

Q08: หากสำนักงาน ก.พ. ประกาศรับสมัครแล้ว ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐจะขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับการจัดสรรทุนจากสาขาวิชาหนึ่งเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งได้หรือไม่

A: เมื่อสำนักงาน ก.พ. ประกาศรับสมัครแล้ว ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำขอรับการจัดสรรทุนได้ดังนั้น ภายหลังจัดส่งคำขอไปยังสำนักงาน ก.พ. แล้ว เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน สำนักงาน ก.พ. จะจัดทำรายละเอียดให้ส่วนราชการยืนยันก่อนการจัดทำประกาศ

Q09: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดประเทศที่ต้องการให้ไปศึกษา/ฝึกอบรมได้กี่ประเทศ

A: ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดประเทศที่ต้องการให้ไปศึกษา/ฝึกอบรมได้หลายประเทศ ทั้งนี้ ต้องระบุชื่อประเทศอย่างชัดเจน เช่น กรณีเป็นประเทศในสหภาพยุโรป จะต้องระบุชื่อประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย ราชอาณาจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฯลฯ ให้ชัดเจน โดยไม่สามารถระบุเป็นทวีปหรือภูมิภาคได้

Q1 : หลักเกณฑ์การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570)

Q: ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 อัตราว่างที่จัดสรรคืนให้กับส่วนราชการเดิม อ.ก.พ. กระทรวง
จะสามารถพิจารณานำไปจัดสรรให้กับส่วนราชการอื่นในสังกัดกระทรวงเดียวกันตามความจำเป็น ได้หรือไม่
A: ให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการในตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับตำแหน่งที่เกษียณอายุทุกตำแหน่งคืนส่วนราชการเดิมก่อน กรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาแล้วเห็นควรนำอัตราว่างดังกล่าวไปจัดสรรให้กับส่วนราชการอื่นในสังกัดกระทรวงเดียวกันตามความจำเป็น สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558

Q: อัตราว่างที่จัดสรรคืนให้กับส่วนราชการเดิม อ.ก.พ. กระทรวง จะสามารถจัดสรรคืนเป็นตำแหน่งในสายงานอื่นได้หรือไม่
A: ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการทุกตำแหน่งคืนส่วนราชการเดิมในตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับตำแหน่งที่เกษียณก่อน กรณีที่ส่วนราชการมีความประสงค์จะปรับปรุงตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรคืน เป็นตำแหน่งในสายงานอื่น สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเสนอให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณา

Q: จากแนวทางการบริหารตำแหน่งว่างของส่วนราชการ ที่กำหนดให้ส่วนราชการมีตำแหน่งว่างได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของกรอบอัตราข้าราชการทั้งหมด และไม่ควรว่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 1 ปี นั้น ตำแหน่งที่อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหา จะถูกนับรวมเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ในการบริหารอัตราว่างด้วยหรือไม่ อย่างไร
A: ตำแหน่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการสรรหา อาทิ เพื่อการบรรจุ ย้าย โอน เลื่อน หรือตำแหน่งอื่นที่ถูกกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ (ที่มีเอกสารหลักฐานการดำเนินการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมว่า อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหา เช่น ประกาศสอบแข่งขัน ประกาศสอบคัดเลือก ฯลฯ) จะไม่ถูกนำมานับรวมในสัดส่วนการบริหารตำแหน่งอัตราว่างไม่เกินร้อยละ 5

Q: ในช่วงที่กำหนดให้มีการตรึงอัตรากำลัง (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567) อัตราว่างที่จัดสรรคืนให้กับส่วนราชการเดิมจะเป็นตำแหน่งในระดับแรกบรรจุใช่หรือไม่
A: ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 ที่กำหนดให้มีการตรึงอัตรากำลังให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการในตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับตำแหน่งที่เกษียณทุกตำแหน่งคืนส่วนราชการเดิมทั้งหมด โดยชะลอการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการด้วยกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการปฏิบัติราชการในช่วงที่มีการตรึงอัตรากำลัง
ตัวอย่าง ข้าราชการ กรม ก. เกษียณอายุในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 ตำแหน่ง กรณีดังกล่าว กรม ก. จะได้รับการจัดสรรอัตราว่างคืนจากผลการเกษียณอายุราชการเป็นตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 ตำแหน่ง

Q: ตามแบบฟอร์มแบบรายงานผลการบริหารอัตราข้าราชการระหว่างปี (แบบ คปร. 5) กรณีเหตุที่ว่างด้วยการเกษียณอายุ หมายรวมถึงอัตราว่างจากการเกษียณอายุฯ ในปีที่รายงานผลด้วยหรือไม่
A: จากแบบฟอร์มแบบรายงานผลการบริหารอัตราข้าราชการระหว่างปี (แบบ คปร. 5) การกรอกข้อมูลในส่วนที่ 1
กรณีเหตุที่ว่างด้วยการเกษียณอายุ ให้นำจำนวนอัตราว่างจากการเกษียณอายุฯ ที่ผ่านมาซึ่งยังไม่ได้บริหารจัดการ
มาเป็นข้อมูลในการกรอกแบบฟอร์ม (จำนวนเกษียณอายุสะสม) ทั้งนี้ ไม่ต้องนำอัตราว่างจากผลการเกษียณฯ
ของปีงบประมาณที่รายงานมารวม เนื่องจากผู้เกษียณอายุพ้นจากตำแหน่ง ณ วันที่ 1 ตุลาคม

Q1: การกำหนดตำแหน่งและการจัดทำกรอบอัตรากำลังของพนักงานราชการ

Q: พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ

A: พนักงานราชการในกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะเป็นกลุ่มงานที่ใช้วุฒิเฉพาะทาง และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีองค์กรตามกฎหมายตรวจสอบ และรับรองการประกอบวิชาชีพ หรือเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการหรือเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเชิงพัฒนา เช่น ตำแหน่งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ วิศวกรโยธา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (ซึ่งต้องเทียบเคียงได้กับสายงานที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ)

Q1: มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

Q: ตามที่ระบุในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในส่วนของคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ข้อที่ระบุว่า “ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบได้…” หมายความถึงตำแหน่งใด
A: ตำแหน่งอย่างอื่น หมายความถึง ตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่น ที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนสามัญ (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551) ซึ่ง ก.พ. ได้เทียบการดำรงตำแหน่งข้าราชการอื่นดังกล่าว เท่ากับการดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นตำแหน่งประเภท และระดับ ตามเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด เช่น ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งของข้าราชการทหาร ตำรวจ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งสามารถตรวจสอบการเทียบตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นเพิ่มเติมได้จากหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ. ว 30/2553 ว 4/2558 และ ว 9/2560 หรือที่เกี่ยวข้อง

Skip to content