Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
เมนูที่เกี่ยวข้อง

คลังความรู้ สนร.ออสเตรเลีย

ก่อนการเดินทาง

 1. เมื่อ สนร.ออสเตรเลียได้รับเอกสารหนังสือส่งตัวจาก สนง.กพ.แล้ว สนร. จะติดต่อน้องๆผ่านอีเมล์ เพื่อขอ Line ID โดยมีวัตถุประสงค์ หลักๆ คือ

    •  พี่ๆสนร.ให้ค าแนะน าด้าน การเรียน การใช้ชีวิตเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง โดยพี่ๆ จะแจ้งไลน์ และเบอร์ โทรศัพท์ อทศ.และพี่ๆสนร.คนอื่นๆให้น้องๆได้ท าการพูดคุยท าความรู้จัก
    •  พี่ๆ สนร.จะInvite น้องๆเข้ากลุ่ม นักเรียนทุนรัฐต่างๆ โดยน้องๆ สามารถขอค าแนะน าจากพี่ๆ น้องๆ ในรัฐต่างๆได้และเป็น การสร้างเครือข่ายกลุ่มนักเรียนทุนฯ ที่สามารถพูดคุยกันในเรื่องการเรียน และข่าวสารต่างๆจากนครรัฐนั้นๆ เช่น การหาบ้านเช่า เส้นทางรถเมล์ การเตรียมตัวก่อนเดินทาง สภาพอากาศ เป็นต้น
    • พี่ๆ สนร.สามารถแจ้งข่าวสารให้กลุ่มไลน์รัฐต่างๆได้ทราบ เช่น ข้อมูลข่าวสาร การเตือนภัย สถานการณ์เฝ้าระวัง และข่าวสาร จากทางสถานทูตให้น้องๆได้

2. พี่ๆ สนร.จะท าเอกสาร แบบยินยอมให้ตรวจผลการศึกษา (Consent to the disclosure) ให้น้องๆ ลงนาม ,Student detail ,ข้อมูล บัญชีธนาคาร โดยขอให้น้องๆ ส่งกลับคืนมาคืนมาทางอีเมล์ *เมื่อเดินทางมาถึง ขอให้น้องๆ รีบไปเปิดบัญชีธนาคาร Commonwealth และแจ้งข้อมูลมาที่สนร. ในโอกาสแรกที่กระทำได้ เพื่อความ สะดวกในการส่งเงินค่าใช้จ่ายประจ าเดือนให้ต่อไป

  • การเปิดบัญชีนักศึกษา นักเรียนทุนที่มาศึกษา ณ ประเทศออสเตรเลีย จะขอความร่วมมือให้เปิดบัญชีธนาคาร กับCommonwealth Bank ท่านสามารถเปิด บัญชีประเภทนักศึกษาต่างชาติกับทางธนาคารของประเทศออสเตรเลียได้ทันทีที่ไปถึง เอกสารที่ใช้ ดังนี้
    • passport
    • Accommodation Allocation Letter
    •  Letter of e-visa
    • หรือสามารถเปิด online ได้ กับ Commonwealth Bank และเมื่อเดินทางมาถึงก็น า Passport ไปแสดงตัวตนที่ธนาคารสาขาใกล้ที่ พักหรือมหาวิทยาลัย

    *บัญชีประเภทนักศึกษาต่างชาติจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีดอกเบี้ยจากทุกธนาคารในประเทศออสเตรเลีย

3. ให้น้องๆ ส่งเอกสารต่างๆ ดังนี้มาให้ สนร.ทางอีเมล์ เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีรายละเอียดของผู้เดินทาง ) , สำเนาวีซ่า นักเรียนที่ระบุ visa start and visa expire date , สำเนาบัตรประชาชน ,สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายก่อนการเดินทางที่ทาง ก.พ.ได้ ให้มาก่อนการเดินทาง ,สำเนาบัตรประกันสุขภาพ OSHC (หรือส่งมาภายหลังหลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกให้แล้ว)
4. พี่ๆสนร.จะออกหนังสือรับรอง Sponsor letter เพื่อส่งให้ทางมหาวิทยาลัย ดังนั้นเมื่อมีค่าเทอมมา มหาวิทยาลัยจะส่งให้ทาง สนร. โดยตรงค่ะ แต่หากกรณีที่มหาวิทยาลัยเกิดตกหล่น ส่งค่าเทอมไปที่ สามารถ Forward e-mail มาให้ที่สนร. [email protected] ได้ค่ะ
5. น้องๆควรรู้กฎ ระเบียบต่างๆ ของเมืองหรือรัฐนั้นๆก่อนจะไปอยู่ เช่น การขึ้น-ลง บันไดเลื่อนต้องอยู่ด้านซ้ายเสมอ เพื่อให้คนที่รีบได้มี โอกาสเดินขึ้นหรือลงด้านขวามือได้ , การนิยมใช้บัตรเครดิตแทนการช าระเงินด้วยเงินสด , เทศกาลคริสมาสตร์จะเป็นเทศกาลที่หยุดยาว และร้านค้าไม่เปิด
6. น้องๆสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียด ระเบียบและหลักเกณฑ์ สนร.ก่อนเดินทางมาศึกษาได้ที่ ระเบียน และหลักเกณฑ์ 
7. เสื้อผ้า ควรตรวจสอบสภาพอากาศ ณ เดือนที่ท่านจะเดินทางหากเดินทางหน้าหนาวต้องติดเสื้อหนาวไว้กับตัว หรือในประเป๋าเล็กติด ตัวขึ้นเครื่อง โดยเฉลี่ยประเทศออสเตรเลียจะมีอูณหภูมิต ่าสุดที่ประมาณ -1C -5 C และสูงสุดประมาณ 35-42 C ในหน้าร้อนขึ้นอยู่กับ รัฐ ในหนึ่งปีการศึกษาที่ท่านพ านักอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ท่านจะต้องผ่านทั้งร้อนและหนาวจึงต้องเตรียมไว้ทั้งสองแบบเพื่อเตรียม เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ อาทิ เสื้อกันหนาวแบบหนาสำหรับฤดูหนาว และครีมกันแดด สำหรับฤดูร้อนจัด
8. เตรียมของใช้ส่วนตัวเช่นเครื่องสำอาง แว่นตา คอนแทคเลนส์ และน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา ควรนำแว่น สายตาติดไปอย่างน้อย 2 อันเพราะการตัดแว่นใหม่ที่ประเทศออสเตรเลีย ท่านต้องท าการนัดกับจักษุแพทย์ซึ่งระยะเวลาการนัด การ ตรวจวัด และรอแว่นใหม่อาจเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และราคาแพงกว่าเมืองไทยมาก ท่านที่ใช้คอนแทคเลนส์ ควรนำไปหลายชุดให้ พอเพียง พร้อมน้ำยาล้างเลนส์ เพราะราคาน้ำยาล้างเลนส์ที่ออสเตรเลียแพงกว่าเมืองไทยหลายเท่าตัวเช่นกัน
9. ยาประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน หากต้องการที่จะนำยาเข้าประเทศออสเตรเลียต้องสำแดงแก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ยา ปฏิชีวนะทุกชนิดต้องมีเอกสารก ากับจากแพทย์หรือเภสัชกร และที่สำคัญยาที่จำเป็น (ต้องมีใบกำกับยาจากแพทย์ในกรณีที่เป็นยา ประจำตัว) โดยให้แพทย์ออกหนังสือรับรองการแพทย์เป็นภาษาอังกฤษน
าติดตัวมาด้วย เผื่อต้องมีการรักษาต่อเนื่องขณะศึกษาใน ต่างประเทศ
10. ควรตรวจฟันก่อนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศเนื่องจากประกันสุขภาพนักศึกษาไม่ได้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมซึ่งจัด ว่าสูงมาก จึงควรตรวจฟันและรักษาก่อนเดินทาง (หากมีการจัดฟันที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ควรน าใบรับรองแพทย์ติดตัวมาด้วย)
11. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่น าไปจากเมืองไทย ต้องเตรียม Adapter เพื่อเปลี่ยนหัว ให้เข้ากับช่องปลั๊กไฟของประเทศออสเตรเลีย ระบบไฟฟ้าที่ ใช้ในประเทศ คือ ระบบ 240 V. AC 50 Hz เหมือนในประเทศไทย แต่จะใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ซึ่งต่างจากบ้านเรา หากต้องการน าอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปด้วย ควรจะเตรียมปลั๊กไฟฟ้า 3 ขา ดังในรูปภาพไปด้วย โดยแนะน าให้น าปลั๊กสามตาไปด้วยเพื่อต่อพ่วงเพื่อที่จะสามารถใช้ ชารจ์ไฟฟ้าได้หลายอย่างในครั้งเดียวกัน หากไม่ได้น าติดตัวไป สามารถซื้อได้ที่ร้านจีนที่ออสเตรเลีย ราคาอันละประมาณ 5 เหรียญ
12.  ควรนำเงินสดติดตัวไปให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนแรกเท่านั้น หรือประมาณ 1,500 – 3,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ทั้งนี้อาจ น าไปมากกว่านี้ในกรณีที่ต้องจ่ายค่ามัดจ า หรือค่าเช่าในช่วงเดือนแรก หรือ ค่ารถรับส่งสนามบิน ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษใน การเก็บเงินสด โดยอาจเก็บแยกเพื่อความปลอดภัย บัตรเครดิตการ์ดจากเมืองไทยสามารถนำไปใช้ได้เช่นกันแต่ต้องติดต่อกับธนาคารที่ ประเทศไทยให้สามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้ * หากนำเงินจำนวนกว่า 10,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย หรือเทียบเท่า จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบเมื่อเดินทางเข้าประเทศ ออสเตรเลีย

13. ในวันที่ต้องเดินทางมาศึกษา ณ ต่างประเทศ เอกสารสำคัญที่ท่านต้องนำติดตัวขึ้นเครื่อง

    • พาสปอร์ตเล่มจริง
    • จดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัย (offer letter/ offer of acceptance)
    • Confirmation of Enrolment -e-visa (รายละเอียดวีซ่า)

เอกสารเหล่านี้อาจต้องนำออกมาแสดงที่ด้านตรวจคนเข้าเมือง ณ ประเทศออสเตรเลีย หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ

* ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป คนที่เดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย ไม่จำเป็นต้องทำ Digital Passenger Declaration และไม่ต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีน COVID

14. ประเทศออสเตรเลียมีกฎหมายการนำอาหารเข้าเมืองที่เข้มงวดที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เนื่องจากประเทศออสเตรเลียเป็นทวีปเกาะ ซึ่งการนำอาหารเข้าอาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นที่มาของเชื้อโรคซึ่งอาจระบาดได้ ท่านไม่สามารถนำอาหารสด ผลไม้สด หรือเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ ผ่านการปรุงสุกเข้าประเทศออสเตรเลียได้เลย ถ้าท่านต้องการนำอาหารแห้ง ประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำพริกที่ผ่านการซีลปิดผนึก หรืออาหารกระป๋อง ตลอดจนขนมขบเคี้ยวทุกชนิดเข้า ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการแพ็คอย่างได้มาตรฐาน มีฉลากส่วนผสมชัดเจนและ ท่านต้องสำแดงกับเจ้าหน้าที่ทั้งหมด
Tip แนะนำให้บรรจุอาหารละสิ่งที่ต้องสำแดงลงในกระเป๋าใบเดียวกันเพื่อสะดวกต่อการหยิบ ปัจุบันที่ออสเตรเลียสามารถหาอาหารเกือบทุกชนิดจากประเทศไทย ในราคาที่สมเหตุสมผล
travellers

เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินด่านตรวจคนเข้าเมือง

สิ่งแรกที่จะพบเมื่อเดินออกจากเครื่องบินคือป้ายบอกทาง ขอให้สังเกตป้าย Luggage Claim (เพื่อรับกระเป๋าเดินทาง) ซึ่งเป็นที่หมาย เมื่อมาถึงอาคารชั้นในท่านต้องผ่านด่านเพื่อตรวจพาสปอร์ต ซึ่งต้องเข้าช่องสำหรับคนต่างชาติ เอกสารที่ท่านต้องแสดงที่ด่านมีดังนี้
    1. พาสปอร์ต
    2. แบบฟอร์มเข้าเมืองที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะถามจุดประสงค์ของการเดินทางของท่าน เช่น Immigration officer: What’s the purpose of your visit?, Name at Your institution name?, etc. เราอาจยื่นจดหมายตอบรับให้ดู ประกอบเพื่อความชัดเจนในกรณีที่ไม่มั่นใจที่จะสื่อสารโดยการพูด
    • e-visa แนะนำว่าให้ติดแผ่นรายละเอียดวีซ่าไว้ที่ตัวเวลาเดินทาง ในกรณีที่ลืม ซึ่งทางสถานทูตออสเตรเลียจะไม่ได้ติดสติกเกอร์ให้ใน พาสปอร์ตของท่าน แต่มีเพียงกระดาษที่ถูกปริ้นท์ออกมาแนบ เนื่องจากประเทศออสเตรเลียมีระบบวีซ่าที่ทันสมัยเชื่อมต่อออนไลน์ เพียง สแกนผ่านพาสปอร์ต รายละเอียดทั้งหมดก็จะปรากฏหน้าจอของเจ้าหน้าที่ด่านคนเข้าเมือง ท่านจึงอุ่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาใดๆหากท่าน ลืมแผ่นปริ้นท์วีซ่า เมื่อท่านไปถึงเมืองปลายทาง รับกระเป๋า เมื่อผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ท่านจะเห็น
 
    • Luggage Claim และจอทีวีเพื่อตรวจรางกระเป๋าของท่าน รับกระเป๋าและ เดินออกช่องแดงถ้าท่านมีของต้องสำแดง หรือออกช่องเขียวหากท่านไม่มีอะไรต้องสำแดง ทำอย่างไรเมื่อกระเป๋าหาย ข้อควรจำ ท่านจะได้รับ Luggage Tag ตามจำนวนกระเป๋าที่ท่านโหลดขึ้นเครื่อง เช่น ถ้าท่านโหลดกระเป๋า 2 ใบท่านจะได้รับ Luggage Tag 2 อันในกรณีประเป๋าหายที่สนามบินปลายทาง ท่านต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ Lost Luggage Claim Counter ซึ่งมีอยู่ทุกสนามบิน ปลายทาง บริเวณจุดรับกระเป๋า เจ้าหน้าที่จะ ขอดู Luggage Tag เพื่อสแกนด์หมายเลข Tracking Number และติดตามกระเป๋าคืนมา ให้ท่านโดยจะส่งไปยังที่อยู่ที่อยู่ของท่านในประเทศออสเตรเลีย
 
  • Airport Pick-up รถรับส่งสนามบิน เมื่อท่านออกมาสู่บริเวณรอรับผู้ได้สาร ขอให้ท่านสังเกตุป้ายที่มีชื่อ นามสกุลของท่าน หรือชื่อ สถาบันการศึกษา หากท่านไม่พบใคร ท่านควรติดต่อเบอร์ฉุกเฉินของบริษัทรถ หรือ ขอความช่วยเหลือจาก เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หากท่านไม่เคยเดินทางคนเดียวมาก่อนและยังไม่มั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ไม่ควรออกไปนอกบริเวณสนามบิน หรือพยายาม เดินทางไปยังที่พักด้วยตัวเอง แต่ควรรออยู่ที่บริเวณเคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ
Tip: นำโทรศัพท์มือถือของเมืองไทยติดตัวไปและเปิด Roaming ให้สามารถใช้ได้ในระยะเวลาช่วงแรกของการเดินทาง (จนกว่า จะหาซื้อโทรศัพท์ใหม่ในประเทศออสเตรเลียได้) เพราะอุ่นใจกว่า ถ้าท่านไม่พบใครที่สนามบินอย่างน้อยก็สามารถติดต่อขอความ ช่วยเหลือจากทางบ้าน หรือจากทางสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย +612 6260 3614 ซึ่งยินดีเป็นศูนย์ประสานงานขอ ความช่วยเหลือแก่นักเรียนทุนในความดูแลของสำนักงาน ก.พ.

การรายงานตัวกับสนร</strong>

  1. น้องๆจะต้องโทรศัพท์รายงานตัวกับ อทศ. +614 5111 9709 เมื่อเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลีย และอีเมลแจ้งเบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ให้ทราบด้วย
  2. น้องๆ ส่งข้อมูลตามข้อ 1 – 4 มาที่ สนร.ออสเตรเลีย ผ่านอีเมล [email protected] ในโอกาสแรกที่กระทำได้
  3. น้องๆ สามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลระยะเวลาทุน ตรวจสอบรายการเบิกจ่ายต่างๆ การรับเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน และสามารถ เข้ามาอัพเดตที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ได้ที่ หน้าเวประบบฐานข้อมูลนักเรียนทุนของสนร.ออสเตรเลีย https://ssis.ocsc.go.th/login
  4. น้องๆควรมีเอกสารต่างๆเหล่านี้ ติดตัวทุกครั้ง /และให้ความสำคัญกับวันเริ่มและวันหมดอายุได้
      • VISA แสกน หรือ Shot Screen ในโทรศัพท์ได้
      •  COE หลักสูตรการเรียน แสกน หรือ Shot Screen ในโทรศัพท์ ได้
      • บัตรประกันสุขภาพ OSHC
      • Passport หนังสือเดินทาง
      • บัตรประกันสุขภาพ OSHC
  5. ประกันสุขภาพนักศึกษา ประเทศออสเตรเลียมีกฎหมายให้นักศึกษาต่างชาติทำประกันสุขภาพ ประกัน Overseas Student Health Cover (OSHC) เพื่อรองรับ ค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นระหว่างศึกษา มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาจะมอบบัตรประกันสุขภาพ พร้อมคำชี้แจงการใช้บริการ ให้ น้องๆ เมื่อหลักสูตรเริ่มขึ้น ซึ่งเราสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัย ในกรณีที่สงสัยหรือไม่เข้าใจสิทธิ์ใน กรรมธรรม์ของท่าน
  6. น้ำประปา การประปาของประเทศออสเตรเลียมีระบบการทำน้ำประปาที่สะอาดมาก ซึ่งเราสามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำตามบ้านหรือสาธารณะโดยไม่ ต้องผ่านการกรองได้ โดยสามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเย็นเท่านั้น ส่วนนำร้อนนั้นไม่ควรดื่ม เพราะมีการเติมสารเคมี
  7. การซื้ออาหารและของใช้ เมืองต่างๆในออสเตรเลียมีห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Kmart และ Target และห้างสรรพสินค้า เช่น ห้าง Myer และ David Jones แถบชานเมืองของเมืองใหญ่จะมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และ ช็อปปิ้งมอลล์ มีร้านขายของหลากหลาย ทั้งร้าน เสื้อผ้า, ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า, และของใช้ในบ้าน และร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เช่น Coles, Woolworths, IGA และ Aldi เวลา เปิด-ปิดร้านค้าในประเทศออสเตรเลียมีการควบคุมโดยแต่ละรัฐและ เขตการปกครอง โดยทั่วไป วันและเวลาทำการสำหรับร้านค้าใน ประเทศ ออสเตรเลีย สำหรับวันจันทร์ถึงศุกร์ คือ เวลา 8.00 น. – 17.30 น. โดย ในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ ร้านค้าส่วนใหญ่จะเปิดถึง เวลา 21.00 น. ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ร้านค้าส่วนใหญ่ เปิดเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ยกเว้นย่านการค้า ร้านค้าจะปิดช้ากว่า
  8. การติดต่อสื่อสาร
      • ไปรษณีย์: ที่ทำการไปรษณีย์ออสเตรเลีย เปิดทำการเวลา 09.00-17.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ บางแห่งอาจเปิดทำการในวันเสาร์ 09.00- 12.00 น. ด้วย ไปรษณีย์ออสเตรเลียให้บริการหลายอย่าง เช่นขายแสตมป์ ซองจดหมาย โปสการ์ด บัตรโทรศัพท์ และขาย โทรศัพท์มือถือ กับให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ (เช่น บริษัท Western Union) ด้วย ค่าส่งโปสการ์ดจากออสเตรเลียมาเมืองไทย 1.45 เหรียญ ค่าส่งจดหมายเริ่มที่ 1.50 เหรียญ ซองจดหมายที่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน จะเสียค่าส่งแพงกว่าปกติ ที่ทำการไปรษณีย์ และ Post Shop จะมีโปสการ์ดแบบที่รวมค่าส่งไว้แล้วจำหน่าย ไปรษณีย์ออสเตรเลีย หรือ ออสเตรเลียนโพสต์ มีความน่าเชื่อถือและมี ประสิทธิภาพด้วยการจัดส่งวันถัดไปภายในเมืองเดียวกัน ไปรษณีย์ ออสเตรเลียส่งจดหมายวันละครั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สามารถ ดู ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.austpost.com.au
      • โทรศัพท์: รหัสทางไกลของประเทศออสเตรเลียคือ 61 ออสเตรเลียมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย การโทรศัพท์แบบใช้สายภายใน เขตจะ ไม่จ ากัดเวลา และมีค่าบริการประมาณ 40 เซ็นต์ การโทร ระหว่างรัฐและระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ออสเตรเลียมีผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือหลายราย สามารถซื้อโทรศัพท์ แบบชำระเงินล่วงหน้าหรือเรียกเก็บเงินภายหลัง โทรศัพท์แบบเติมเงิน เป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับนักเรียนที่มีเงินจำกัด โดยจ่ายเงินซื้อ เครื่องโทรศัพท์ (โทรศัพท์แบบการใช้งานธรรมดาสามารถซื้อได้ในราคา ต่ำกว่า 100 ดอล ล่าร์ออสเตรเลีย) แล้วเติมเงินเก็บไว้ สามารถใช้ได้หลาย เดือน โทรศัพท์มือถือแบบเรียกเก็บเงินส่วนใหญ่จะเป็นการให้ฟรี โดยต้องใช้ บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้นๆเป็นเวลาสองปี ผู้ให้บริการโทรศัพท์ราย ใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ Telstra, Optus, Virgin Mobile และ Vodafone
  9. น้องๆควรรู้ระเบียบและแนวปฏิบัติของ สนร. ดังนี้
        • ส่งรายงานความก้าวหน้าทางการเรียน กรณีป.ตรี และป.โท ให้แจ้งรายงานผลการเรียนทุกเทอมการศึกษา กรณีป.เอก รายงานผลการท าวิจัยทุกๆ 6 เดือนตามที่พี่ๆสนร.ส่งอีเมล์ไปแจ้ง
        •  ขยายเวลาศึกษาต่อ โดยหากครบก าหนดจะต้องท าเรื่องก่อนล่วงหน้า 60 วันซึ่งจะมีอีเมล์แจ้งเตือน
        • การไปร่วมประชุมทางวิชาการ Conference / Study trip
        • การลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน
        • การกลับเยี่ยมบ้านชั่วคราว
        • การกลับไปเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์ในประเทศไทย
        • • การแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่/การแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญขีธนาคาร
        • • การเปลี่ยนแปลงแนวทางการศึกษา / สาขาวิชาที่จะศึกษา
        • การเปลี่ยนระดับการศึกษา
        • การเปลี่ยนประเทศที่ศึกษา
        • การย้ายสถานศึกษา
        • การฝึกอบรม- ดูงานหลังสำร็จการศึกษา
        • การพักการศึกษาชั่วคราว
      <l/i>
    รายละเอียดข้อมูลระเบียบและหลักเกณฑ์ สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล ระเบียน และหลักเกณฑ์ 
  10. ติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์จากสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย (สนร.ออสเตรเลีย) ดังนี้·       Website: www.ocsc.org.au·       Email :  mailto:[email protected] ·       Facebook: OEA Canberra OEA Canberra – Home | Facebook ·       Instagram: @OEACanberra ที่อยู่ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย Office of Educational Affairs, Royal Thai Embassy 76 Hopetoun Circuit, Yarralumla ACT 2600 Tel: (02) 6260 3614

การเดินทางในออสเตรเลีย

     ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในประเทศออสเตรเลีย มีความหลากหลายและสะดวกสบายมากทีเดียว ใช้เวลาเพียงไม่นานก็น่าจะสามารถคุ้นเคย ทุกเมืองของประเทศออสเตรเลีย ล้วนมีบริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งสิ้น แต่จะเดินทางด้วยวิธีการใดให้ถึงจุดหมายรวดเร็วที่สุดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ การเดินทางที่เราแนะนำเป็นพิเศษคือรถบัสที่มีอยู่หลาย วิ่งสายครอบคลุมแทบทุกพื้นที่และสถานที่สำคัญต่างๆ ภายในเมือง แถมยังมีราคาประหยัดกว่าแท็กซี่มากทีเดียว

ทุกเมืองจะมีสถานีรถบัสเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถเข้าไปข้อมูลเส้นทางการเดินรถและราคาตั๋วได้จากจุดประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้อีกด้วย อย่างเช่น ตั๋วราคาพิเศษสำหรับนักศึกษา ตั๋วรายสัปดาห์ หรือตั๋วรายเดือน ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้พอสมควร หลายเมืองในประเทศออสเตรเลีย ส่งเสริมให้ประชาชนใช้จักรยานเป็นยานพาหนะในการเดินทาง เพื่อความสะดวก ประหยัด ช่วยลดมลพิษ และยังเป็นการออกกำลังกายอีกด้วย

  • รถไฟ : รถไฟของออสเตรเลียเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเหมาะสำหรับการเดินทางข้ามเมืองเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่า จะต้องการเดินทางไป Sydney, New South Wales หรือ Newcastle ก็ล้วนแล้วแต่มีรถไฟให้บริการทั้งสิ้น และหากซื้อตั๋วรายเดือน หรือ ตั๋วสำหรับท่องเที่ยว ก็จะมีส่วนลดให้ด้วย เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการ จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทาง  นอกจากนี้บางเมืองอาจจะมีส่วนลดค่าตั๋วให้กับนักศึกษาด้วย ควรลองสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานีดู
  • การเดินทางข้ามเมือง : อีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะแก่การเดินทางข้ามเมืองก็คือรถโค้ช ซึ่งมีจุดหมายปลายทางให้เลือกหลากหลายมาก และโดยส่วนมากจะมีราคาตั๋วถูกกว่ารถไฟ แต่ก็จะใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานกว่า ผู้ที่จะเดินทางโดยรถโค้ชจึงอาจจะต้องเป็นคนที่มีเวลาว่างหรือไม่รีบร้อนมากนัก ถึงแม้การเดินทางข้ามเมืองด้วยรถไฟจะมีราคาแพงกว่ารถโค้ช แต่ก็มีหลายวิธีมากที่จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ถูกลงได้ อย่างเช่นการวางแผนซื้อตั๋วล่วงหน้า ส่วนใหญ่ก็จะได้ราคาตั๋วที่ถูกกว่าซื้อในวันเดินทาง หรือบางทีก็อาจจะมีโปรโมชั่นลดราคาสำหรับคนที่ซื้อตั๋วพร้อมกันหลายใบด้วย

บางครั้งการเดินทางของก็อาจจะต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า 1 ประเภท ในกรณีนี้ก็ต้องหาข้อมูลให้ดีว่า จะมีตั๋วแบบที่ซื้อครั้งเดียวแล้วเดินทางด้วยรถได้หลายชนิดหรือไม่ จะได้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น หรือในบางกรณีถ้าลองเช็คดีๆ อาจจะพบว่า การซื้อตั๋วแบบไปกลับแยกกัน อาจจะถูกกว่าซื้อตั๋วไปกลับในใบเดียว ก่อนออกเดินทางก็ควรหาข้อมูลด้วยว่ารถโดยสารที่เรานั่งผ่านเส้นทางไหนบ้าง บางทีอาจพบว่าระหว่างเส้นทางนั้น มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจให้แวะชมเพิ่มขึ้น

 

การนำเงินสดเข้าออสเตรเลีย

    ควรนําเงินสดสกุลดอลล่าร์ออสเตรเลียไปให้พอสําหรับใช้ในช่วงแรกที่อยู่ ในออสเตรเลีย แต่ไม่ควรนําเงินสดติดตัวไปจํานวนมากเกินไป ควรซื้อ เช็คเดินทางประมาณ 1,500 – 3,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (ในชื่อของคู่มือเรียนต่อและใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย > 7 นักเรียน) ติดตัวไปเพื่อให้สามารถจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆในช่วงแรก ได้ หากนําเงินจํานวนกว่า 10,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย หรือเทียบเท่า จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบเมื่อเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย

 

ระบบไฟฟ้า

   ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ คือ ระบบ 240 V. AC 50 Hz เหมือนในประเทศไทย แต่จะใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ซึ่งต่างจากบ้านเรา หากต้องการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าไปด้วย ควรจะเตรียมปลั๊กไฟฟ้า 3 ขา ดังในรูปภาพไปด้วย โดยแนะนำให้นำปลั๊กสามตาไปด้วยเพื่อต่อพ่วงเพื่อที่จะสามารถใช้ชารจ์ไฟฟ้าได้หลายอย่างในครั้งเดียวกัน หากไม่ได้นำติดตัวไป สามารถซื้อได้ที่ร้านสินค้าราคาถูกของจีนที่ออสเตรเลีย 

 

น้ำประปา

   การประปาของประเทศออสเตรเลียมีระบบการทำน้ำประปาที่สะอาดมาก ซึ่งเราสามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำตามบ้านหรือสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านการกรองได้ โดยสามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเย็นเท่านั้น ส่วนน้ำร้อนนั้นไม่ควรดื่ม เพราะมีการเติมสารเคมี

 

อาหาร

   สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรม การกินของชาวออสเตรเลียนอย่างแท้จริง แนะนำให้ไปลองชิม อาหารพื้นเมืองออสเตรเลียขนานแท้ ได้แก่ Shepherd Pie หรือจะเป็นอาหารจานโปรดของชาวออสซี่ เช่น Vegemite ถ้าเอ่ยถึงของหวานก็จะเป็น Lamington หรือ Lemmington ขนมหวานออสเตรเลียนที่ใครได้ลองเป็นต้องติดใจไปทุกราย ซึ่งนิยมทานกับน้ำชาหรือกาแฟยามบ่าย ในออสเตรเลียย มีภัตตาคาร และร้านอาหารไทยอยู่มากมายตามเมืองต่างๆ เพราะมีชาวไทยไปเรียน และไปทำงานกันมาก

  • การซื้ออาหารและของใช้ : เมืองต่างๆในออสเตรเลียมีห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Kmart และ Target และห้างสรรพสินค้า เช่น ห้าง Myer และ David Jones แถบชานเมืองของเมืองใหญ่จะมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และ ช็อปปิ้งมอลล์ มีร้านขายของหลากหลาย ทั้งร้านเสื้อผ้า, ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า, และของใช้ในบ้าน และร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เช่น Coles, Woolworths, IGA และ Aldi ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายและมีชาวต่างชาติ หลากหลายเชื้อชาติเข้ามาพํานักซึ่งจะพบความหลากหลายของอาหาร นานาชาติในซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมี ร้านอาหารขนาดเล็กที่ขายอาหารชาติต่างๆ ในขณะที่ร้านอาหารแบบซื้อ กลับบ้าน และร้านอาหารต่างๆที่มีอยู่มากมาย ก็มีอาหารรสชาติที่ นักเรียนคุ้นเคยให้ได้ลิ้มลอง เวลาเปิด-ปิดร้านค้าในประเทศออสเตรเลียมีการควบคุมโดยแต่ละรัฐและ เขตการปกครอง โดยทั่วไป วันและเวลาทําการสําหรับร้านค้าในประเทศ ออสเตรเลีย สําหรับวันจันทร์ถึงศุกร์ คือ เวลา 8.00 น. – 17.30 น. โดย ในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ ร้านค้าส่วนใหญ่จะเปิดถึงเวลา 21.00 น. ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ร้านค้าส่วนใหญ่ เปิดเวลา 10.00 น. ” 16.00 น. ยกเว้นย่านการค้า ร้านค้าจะปิดช้ากว่า
  • เครื่องดื่ม : ประเทศออสเตรเลียมีการผลิตไวน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ชาวออสซี่ส่งออกไวน์มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ลองจากอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส อุตสาหกรรมไวน์ทำเงินให้กับประเทศออสเตรเลียถึงปีละ 5.5 ล้านดอลล่าร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเช่นเบียร์ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน โดยได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ที่เจ้าอาณานิคมเอาเหล้ารัมเข้ามาเผยแพร่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบการสังสรรค์และดื่มแอลกอฮอล์บ้างเล็กน้อย ออสเตรเลียก็น่าจะเป็นประเทศที่เหมาะกับคุณไม่น้อย

นอกจากมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องไวน์และเบียร์แล้ว ออสเตรเลียยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมกาแฟอีกด้วย กาแฟยี่ห้อ Victoria ของออสเตรเลียเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากคอกาแฟว่ามีรสชาติดีทีเดียว หากคุณมีโอกาสได้มาออสเตรเลีย เราขอแนะนำให้ลองชิม ‘flat white’ กาแฟลาเต้แบบไร้ฟองนม ที่ชาวออสเตรเลียคิดค้นขึ้น

 

การติดต่อสื่อสาร

  • ไปรษณีย์ : ที่ทำการไปรษณีย์ออสเตรเลีย เปิดทำการเวลา 09.00-17.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ บางแห่งอาจเปิดทำการในวันเสาร์ 09.00-12.00 น. ด้วย ไปรษณีย์ออสเตรเลียให้บริการหลายอย่าง เช่น ขายแสตมป์ ซองจดหมาย โปสการ์ด บัตรโทรศัพท์ และขายโทรศัพท์มือถือ กับให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ (เช่น บริษัท Western Union) ด้วย ค่าส่งโปสการ์ดจากออสเตรเลียมาเมืองไทย 1.45 เหรียญ ค่าส่งจดหมายเริ่มที่ 1.50 เหรียญ ซองจดหมายที่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน จะเสียค่าส่งแพงกว่าปกติ ที่ทำการไปรษณีย์และ Post Shop จะมีโปสการ์ดแบบที่รวมค่าส่งไว้แล้วจำหน่าย ไปรษณีย์ออสเตรเลีย หรือ ออสเตรเลียนโพสต์ มีความน่าเชื่อถือและมี ประสิทธิภาพด้วยการจัดส่งวันถัดไปภายในเมืองเดียวกัน ไปรษณีย์ ออสเตรเลียส่งจดหมายวันละครั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สามารถดู ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.austpost.com.au
  • โทรศัพท์ : รหัสทางไกลของประเทศออสเตรเลียคือ 61 ออสเตรเลียมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย การโทรศัพท์แบบใช้สายภายใน เขตจะไม่จํากัดเวลา การโทรระหว่างรัฐและระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ออสเตรเลียมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายราย สามารถซื้อโทรศัพท์ แบบชําระเงินล่วงหน้าหรือเรียกเก็บเงินภายหลัง โทรศัพท์แบบเติมเงิน เป็นตัวเลือกที่ดีสําหรับนักเรียนที่มีเงินจํากัด โดยจ่ายเงินซื้อ เครื่องโทรศัพท์ (โทรศัพท์แบบการใช้งานธรรมดาสามารถซื้อได้ในราคา ตํ่ากว่า 100 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย) แล้วเติมเงินเก็บไว้ สามารถใช้ได้หลาย เดือน โทรศัพท์มือถือแบบเรียกเก็บเงินส่วนใหญ่จะเป็นการให้ฟรี โดยต้องใช้ บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้นๆเป็นเวลาสองปี ผู้ให้บริการโทรศัพท์ราย ใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ Telstra, Optus, Virgin Mobile และ Vodafone
  • การโทรออกต่างประเทศ : สําหรับการโทรออกไปต่างประเทศจาก ออสเตรเลีย กดรหัส (0011) + รหัสประเทศ + รหัสพื้นที่ (ถ้ามี) + หมายเลขโทรศัพท์
  • การโทรภายในประเทศ : สําหรับโทรออกภายในประเทศออสเตรเลีย กดรหัสพื้นที่ (หากจะโทรไปยังพื้นที่อื่น หรือ โทรต่างรัฐ) + หมายเลข โทรศัพท์ รหัสพื้นที่สําหรับรัฐต่างๆ มีดังนี้
    • (02) รัฐนิวเซาธ์เวลส์, ออสเตรเลียน แคปิตอล แทริทอรี่
    • (03) รัฐวิกตอเรีย, รัฐแทสมาเนีย
    • (07) รัฐควีนส์แลนด์
    • (08) รัฐเซาท์ออสเตรเลีย, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและ นอร์ทเทิร์นแทริทอรี
  • โทรฉุกเฉิน : ตำรวจท้องถิ่น ในสถานการณ์ที่ไม่ฉุกเฉิน

รายละเอียดการติดต่อ- โทร 131 444 (ทุกเมืองยกเว้นเมืองวิคตอเรีย). ในวิคตอเรียท่านจะต้องโทรไปที่สถานีตำรวจท้องถิ่น (สอบถามเบอร์โทรได้ที่โทรศัพท์ท้องถิ่นโดยตรง)

 

ธนาคาร

   ธนาคารในออสเตรเลียเปิดให้บริการวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 09.30-16.00 น. วันศุกร์ขยายเวลาถึง 17.00 น. บางธนาคารเปิดทำการวันเสาร์ในช่วงครึ่งวันเช้าด้วย ธนาคารหลักๆ เช่น ANZ, Commonwealth, National, Westpac และธนาคารในเครืออยู่ทุกแห่งมีสาขาอยู่ทั่วออสเตรเลีย และมีหลายแห่งที่ให้บริการตู้เอทีเอ็มตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทุกตู้รับบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารอื่น และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายนานาชาติได้ทั้งสิ้น

  นอกจากนี้ Eftpos (การโอนเงินทางอีเล็กทรอนิกส์ ณ จุดซื้อขาย) ก็เป็นบริการแสนสะดวกที่ธุรกิจของออสเตรเลียหลายแห่งได้นำเข้ามาใช้แล้ว นั่นหมายความว่า ท่านสามารถใช้บัตรธนาคารของท่าน (บัตรเครดิตหรือเดบิต) ในการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถเบิกเงินสดได้อีกด้วยบัตรเครดิตอย่างเช่นบัตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดสามารถใช้บริการได้ทุกประเภท เช่น ถอนเงินสดล่วงหน้าที่เคาน์เตอร์ของธนาคารและจากตู้เอทีเอ็มหลายๆแห่ง

   ส่วนบัตรชาร์จการ์ดอย่างเช่นไดเนอส์คลับและอเมริกันเอ็กซ์เพรส (Amex) นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายเมื่อเทียบกับสองแบบแรกการเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลียเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้มาเยือนจากต่าง ประเทศ แต่ต้องทำภายใน 6 สัปดาห์หลังจากมาถึงเพียงแค่แสดงหนังสือเดินทางและแจ้งที่อยู่ให้ธนาคารทราบ ทางธนาคารก็จะเปิดบัญชีและส่งบัตรเอทีเอ็มให้ท่าน แต่หากท่านเปิดบัญชีหลังจากที่เข้าเมืองมาแล้วเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ท่านต้องแสดงหลักฐานประจำตัวเพิ่มอีก ตัวอย่างเช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตร และใบขับขี่สากลพร้อมรูปถ่าย

 

วัฒนธรรมของออสเตรเลีย

   ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพราะมีประชากรจากทั่วทุกมุมโลกมาอาศัยอยู่ที่นี่ ออสเตรเลียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทุกคนในประเทศจึงสามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ ซึ่งถือเป็นจุดร่วมสำคัญของคนในประเทศนี้ ถึงแม้จะเป็นประเทศที่รวมคนหลายเชื้อชาติไว้ด้วยกัน แต่ออสเตรเลียก็ถือเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก และมีอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมาก แต่ถึงอย่างไรคุณก็ควรรอบคอบ ระมัดระวังตัวตลอดเวลา และเก็บของสำคัญติดตัวไว้เสมอ การเดินทางมาอาศัยอยู่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมแปลกใหม่ บางคนอาจจะตกอยู่ในสภาวะ Culture Shock ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวล้วนเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของ

   ประเทศนั้นๆ และเตรียมตัวเตรียมใจไปก่อนล่วงหน้า จะทำให้สามารถปรับตัวในระยะแรกได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเริ่มต้นชีวิตในต่างแดน คนออสเตรเลียส่วนใหญ่ ค่อนข้างเป็นคนสบายๆ ไม่ซีเรียส แต่ก็ไม่ได้มีนิสัยเหมือนคนไทยเสียทีเดียว ช่วงแรกอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยบ้าง แต่เมื่ออยู่ไปสักพักและเริ่มเข้าใจขนบธรรมเนียมต่างๆ จะสามารถปรับตัวเข้ากับพวกเขาได้อย่างแน่นอน

  • บรรยากาศในมหาวิทยาลัย : สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย มักมีบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นมิตร และยินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนเรื่องการแต่งกายก็ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด นักศึกษาสามารถเลือกใส่ได้ตามความชอบ และความเหมาะสมกับสภาพอากาศ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ยังยินดีให้ปรึกษาในเรื่องต่างๆ  โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องปรึกษาแค่เรื่องการเรียนเท่านั้น เมื่อมีปัญหาใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนหรือการใช้ชีวิต สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยได้ทันที โดยไม่ต้องเกรงใจหรือรู้สึกไม่กล้า พวกเขาพร้อมจะช่วยเหลืออยู่เสมอ และไม่ได้คิดว่ามันเป็นการรบกวนจนเกินเหตุแต่อย่างใด
  • การทักทาย : แต่ละเมืองของออสเตรเลียไม่ได้มีจำนวนประชากรมากนัก ผู้คนในเมืองส่วนใหญ่จึงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และมักเอ่ยคำทักทายเมื่อเดินสวนกันตามท้องถนน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่เคยพูดคุยกันมาก่อน เมื่อพบใครสักคนเป็นครั้งแรก การเช็คแฮนด์ด้วยมือขวา คือการทักทายแบบปกติที่ชาวออสเตรเลียนิยมทำกัน โดยทั่วไปแล้วชาวออสเตรเลียจะไม่ได้ทักทายกันแบบเป็นทางการมากนัก จะเน้นความสบายๆ ให้ทั้งสองฝ่ายที่พบกันรู้สึกผ่อนคลายมากกว่า คนออสซี่มักทักทายกันด้วยคำว่า “G’day, mate” เป็นศัพท์แสลงย่อมาจาก Good day mate มีความหมายประมาณว่า “เป็นไงเพื่อน” หรือหากยังไม่คุ้นเคยกับประโยคนี้ จะทักทายด้วยคำภาษาอังกฤษทั่วไปอย่าง ‘Hello’ และ ‘How are you?’ ก็ได้
  • มารยาทที่ควรรู้ : หากคุณได้รับเชิญจากเพื่อนในชั้นเรียน ให้ไปร่วมงานปาร์ตี้หรืองานปิ้งย่างบาร์บีคิว โดยทั่วไปแล้วแขกจะต้องนำเครื่องดื่ม อย่างเช่นไวน์หรือเบียร์ ติดไม้ติดมือไปร่วมงานด้วย และคุณควรสอบถามเจ้าของงานสักนิดว่า ต้องการให้นำอะไรไปร่วมแจมในปาร์ตี้เพิ่มอีกไหม หรือหากได้รับเชิญไปดินเนอร์มื้อค่ำที่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของบ้านจะจัดเตรียมทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว คุณควรหาของขวัญเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ดอกไม้หรือช็อกโกแลต ไปให้ตามธรรมเนียมของชาวออสซี่ด้วย

  นอกจากนี้ยังมีมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ควรรู้อีกเล็กน้อยคือ คุณควรถือส้อมด้วยมือซ้าย ถือมีดด้วยมือขวา และไม่ควรวางข้อศอกไว้บนโต๊ะ ควรจะมีแต่มือเท่านั้นที่อยู่เหนือโต๊ะในขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร วัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กับวัฒนธรรมของชาวตะวันตก แต่ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันพอสมควร เมื่อมีโอกาสได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่แล้ว คุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเรื่องราวของชาวอะบอริจิน ชนพื้นเมืองเก่าแก่ของประเทศออสเตรเลียที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนแห่งนี้ มาตั้งแต่เมื่อ 60,000 ปีก่อน

หน่วยงานศุลกากรและป้องกันพรมแดนและกฎหมายกักและตรวจโรคติดต่อ (Customs and Border Protection and Quarantine laws)

คุณควรศึกษาว่าสิ่งใดที่นำเข้าประเทศออสเตรเลียไม่ได้ https://www.agriculture.gov.au/biosecurity-trade/travelling จะได้ไม่จัดใส่กระเป๋าติดตัวไปด้วย การนำยาเสพย์ติดที่รวมถึง กัญชา ใบกระท่อม เฮโรอีน และแอมเฟตามีน เข้าและออกจากประเทศออสเตรเลียเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนั้นยังมีสิ่งของบางประเภทที่ต้องสำแดงเมื่อเดินทางถึงออสเตรเลีย ได้แก่

  • อาวุธปืน อาวุธ และกระสุน : เงิน 10, 000 เหรียญออสเตรเลีย (หรือสกุลเงินต่างประเทศมูลค่าเทียบเท่า)
  • ยาบางประเภท
  • อาหาร พืช สัตว์ และสินค้าชีวภาพ : ส่วนหนึ่งของงานประจำของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและป้องกันพรมแดนคือการสุ่มถามผู้เดินทาง และยังมีสุนัขที่ได้รับการฝึกฝนให้ตรวจจับยาผิดกฎหมายหรือสิ่งของที่ห้ามมิให้นำเข้าประเทศ ถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ แนะนำให้สำแดงของสิ่งนั้นหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ การสำแดงของไม่ได้หมายความว่าคุณจะถูกตรวจสัมภาระเสมอไป ผู้ที่จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของหน่วยงานศุลกากรและป้องกันพรมแดนอาจถูกปรับ หรือถูกนำขึ้นชั้นศาลได้

 

การทำงาน ขณะที่กำลังศึกษาในประเทศออสเตรเลีย

  ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการเป็นนักศึกษาต่างชาติของ ออสเตรเลียคือ คุณได้รับอนุญาตให้ทำงานพิเศษได้ (วีซ่านักเรียนของประเทศออสเตรเลีย สามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ระหว่างที่คุณเรียนอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณไม่มีสิทธิเริ่มทำงานจนกว่าคุณจะได้เริ่มเรียนในหลักสูตรที่ลงทะเบียนไว้ และหากคุณมีครอบครัวของคุณเป็นวีซ่าผู้ติดตามมาด้วย ผู้อยู่ในอุปการะของคุณจะมีสิทธิทำงานได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เช่นกัน

เมื่อคุณได้เริ่มเรียนหลักสูตรของคุณในออสเตรเลีย ทั้งระดับภาษา อนุปริญญา ปริญญาโทหรือเอกไป แล้ว ผู้อยู่ในอุปการะของคุณก็จะมีสิทธิทำงานได้โดยไม่จำกัดชั่วโมง แต่ถ้าคุณหรือผู้อยู่ในอุปการะของคุณทำงานเกินกว่าข้อกำหนดข้างต้น วีซ่า ของคุณอาจจะถูกเพิกถอนได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีตราประทับวีซ่า (Visa label) ในหนังสือเดินทางของคุณเพื่อแสดงให้นายจ้างของคุณทราบว่าคุณได้รับอนุญาตให้ ทำงาน เพราะข้อมูลวีซ่าของคุณจะถูกเก็บไว้บนศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดย DIBP (Department of Immigration and Border Protection) และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาโดยใช้ระบบให้บริการตรวจสอบสิทธิวีซ่าออนไลน์ (VEVO) ดังนั้น นายจ้าง ธนาคาร และหน่วยงานบริการของรัฐก็จะสามารถตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิวีซ่าของ คุณได้ทาง VEVO เมื่อคุณยินยอมให้ตรวจสอบได้ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้บริการระบบ VEVO ได้จากเว็บไซต์  https://immi.homeaffairs.gov.au/visas/already-have-a-visa/check-visa-details-and-conditions/check-conditions-online

 

  • ประเภทงานที่นักศึกษาต่างชาติทำได้

นักศึกษาต่างชาติมักจะได้งานทำในธุรกิจค้าปลีก การบริการ และงานธุรการ คุณจะได้ค่าแรงประมาณชั่วโมงละ A$6-15 เหรียญออสเตรเลีย ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ทำและอายุของคุณ คุณอาจได้ค่าแรงมากกว่านี้หากทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ การสอนพิเศษเด็กนักเรียนในสาขาที่คุณกำลังศึกษา อยู่หรือการสอนภาษาของคุณก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีในการหารายได้เช่นกัน การสอนพิเศษจะมีรายได้ประมาณ A$40 เหรียญออสเตรเลียต่อชั่วโมง  

 

  • หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

คุณต้องขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax File Number – TFN) จากทางกรมสรรพากรออสเตรเลีย หากคุณต้องการจะทำงานในออสเตรเลีย นอกจากข้อมูลชื่อที่อยู่ปัจจุบันและวันเกิดแล้วคุณอาจจำเป็นต้องแจ้งวันที่เดินทางมาถึงออสเตรเลีย

รวมทั้งแสดงหนังสือเดินทางและหลักฐานการลงทะเบียนเรียนของคุณด้วย หมายเลข TFN ของคุณมีค่ามากห้ามบอกให้เพื่อนทราบ และห้ามให้หมายเลข TFN ของคุณทางอินเตอร์เน็ตเวลาที่สมัครงาน ควรเก็บรักษาให้ปลอดภัย

 

ควรเตรียมอะไรไปบ้าง

ตรวจสอบให้ครบ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระเป๋าเดินทางที่แนะนำให้น้องๆ เตรียม ได้แก่

  • ชุดเเเต่งกาย
    • ชุดนอน
    • ชุดลำลอง
    • ชุดทางการ
    • กางเกงยีนส์หรือกางเกงที่ใส่สบายคล่องตัว
    • เสื้อกันหนาวหรือแจ็คเก็ต
  • เครื่องเเต่งกาย
    • ถุงเท้า/ ถุงมือ
    • ผ้าพันคอ
  • รองเท้า
    • รองเท้าแตะ
    • รองเท้าผ้าใบ
    • รองเท้าบูท (ถ้าไปช่วงหน้าหนาว)
  • อื่นๆ
    • คอนแทคเลนส์ และน้ำยาล้างเลนส์
    • แว่นตา
    • แว่นกันแดด
    • ชุดอุปกรณ์อาบน้ำ
    • ครีมกันแดด
    • เครื่องสำอางค์
    • โลชั่นทาผิว
    • ร่มพับ

   ที่ชาร์ตแบตมือถือ อุปกรณ์แปลงไฟสำหรับท่านที่นำอุปกรณ์ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ในประเทศอังกฤษ อย่าลืมนำปากกาและสมุดจดบันทึกไปด้วยเพราะไปซื้อทีประเทศอังกฤษจะมีราคาสูงกว่า สิ่งสุดท้ายอย่าลืมนำอาหารและยาที่จำเป็น (ต้องมีใบกำกับยาจากแพทย์ในกรณีที่เป็นยาประจำตัว)

 

ข้อควรจำในการแพ็คกระเป๋า

  • น้าหนักกระเป๋า : สายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นักศึกษาที่จะเดินทางไปต่างประเทศนำสิ่งของไปได้ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ฉะนั้นท่านควรนำสิ่งที่จำเป็นติดตัวไปในปริมาณที่พอเหมาะ ท่านสามารถแยกเป็น 2 กระเป๋าใหญ่หรือจะนำไปเพียงกระเป๋าเดียวก็ได้นอกจากนี้ท่านควรมีประเป๋าเล็กที่ติดตัวขึ้นเครื่อง น้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ไว้สำหรับเก็บเอกสารสำคัญทางการเรียน (สำหรับ Jetstar นำขึ้นเครื่องบินได้ 10 กิโลกรัม)
  • เอกสารสำคัญที่ท่านต้องนำติดตัวขึ้นเครื่อง : ได้แก่ เอกสารสำคัญที่จะต้องโชว์ให้เจ้าหน้าเมื่อเจ้าหน้าที่ขอดูเอกสารที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เช่น พาสปอร์ตเล่มจริง, เอกสารยืนยันการลงทะเบียนจากสถานศึกษา (COE), ใบผลตรวจสุขภาพ, เอกสารรับรองที่พัก (Host family/Residential Hall)
  • การจัดเสื้อผ้า : เสื้อผ้า ควรตรวจสอบสภาพอากาศ ณ เดือนที่ท่านจะเดินทางหากเดินทางหน้าหนาวต้องติดเสื้อหนาวไว้กับตัว หรือในประเป๋าเล็กติดตัวขึ้นเครื่อง รองเท้า ควรเลือกที่ใส่สบายและควรติดรองเท้าผ้าใบไปด้วยเพราะสถาบันภาษา หรือ มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียมีบริเวณกว้าง และผู้คนก็นิยมเดินในระยะใกล้ รองเท้าที่เหมาะกับการเดินจึงขาดไม่ได้
  • แว่นตา : สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา ควรนำแว่นสายตาติดไปอย่างน้อย 2 อันเพราะการตัดแว่นใหม่ที่ประเทศออสเตรเลีย ท่านต้องทำการนัดกับจักษุแพทย์ซึ่งระยะเวลาการนัด การตรวจวัด และรอแว่นใหม่อาจเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และราคาแพงกว่าเมืองไทยมาก ท่านที่ใช้คอนแทคเลนส์ ควรนำไปหลายชุดให้พอเพียง พร้อมน้ำยาล้างเลนส์ เพราะราคาน้ำยาล้างเลนส์ที่ออสเตรเลียแพงกว่าเมืองไทยหลายเท่าตัวเช่นกัน

 

เมื่อถึงสนามบินสุวรรณภูมิ

  • เช็คจากจอ Monitor ว่า สายการบินของท่านต้อง Check-in ที่ Counter ใด เมื่อเช็คอินแล้ว ท่านจะได้รับ Boarding Pass และ Luggage Tag ตามจำนวนกระเป๋าที่ท่านโหลด (ส่วนใหญ่ทุกสายการบินจะมีให้น้องๆทำ check-in Online ไว้ก่อนล่วงหน้าได้ค่ะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคิวนาน)
  • ควรเดินเข้าเพื่อตรวจ Passport ขาออกที่กองตรวจคนเข้าเมือง Passport Control ก่อนเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อเผื่อเวลาเดินเข้า Gate ในกรณีที่ Gate อยู่ไกล

 

เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแล้วต้องติดต่อใครบ้าง

   สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล เมื่อท่านเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลียแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำได้คือ แจ้งให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย (สนร.ออสเตรเลีย) ทราบเพื่อรายงานตัวการมาเรียน โดยสามารถติดต่อได้ที่

Office of Educational Affairs. Royal Thai Embassy (สนร.ออสเตรเลีย)

76 Hopetoun Circuit Yarralumla, Canberra ACT 2600 Australia

Tel: (02) 6281-1371 Fax: (02) 6285-3071

Website: http://www.ocsc.org.au

Email: [email protected]

และอย่าลืมแจ้งให้ทางมหาวิทยาลัยและทางที่พักทราบว่าคุณจะเดินทางไปถึงวันไหน สายการบินอะไร เวลากี่โมง ลองถามดูว่ามหาวิทยาลัยมีบริการมารับนักศึกษาต่างชาติที่สนามบินหรือไม่ จดรายละเอียดที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของคนที่คุณต้องติดต่อติดตัวไว้เสมอ ถ้าต้องเดินทางไปยังที่พักเอง ควรตรวจสอบวิธีการเดินทางและแลกเงินให้พอสำหรับค่ารถไปก่อนล่วงหน้า

เบอร์โทรอื่นๆ ที่ควรทราบ  : สถานทูตและกงศุลไทยประจำประเทศออสเตรเลีย

  • สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย

111 Empire Circuit, Yarralumla, ACT 2600

Tel: (02) 6272 3084

  • สถานกงสุลไทยประจำรัฐควีนส์แลนด์

87 Annerley Rd., South Brisbane, QLD 4102

Tel: (07) 3846 7771

  • สถานกงสุลไทยประจำรัฐวิคตอเรีย

Suite 301, 556 St Kilda Road, Melbourne, VIC 3004

Tel: (03) 9533 9100

  • สถานกงสุลไทยประจำรัฐเซาท์ออสเตรเลีย

Level 1, 72 Flinders Street, Adelaide, SA 5000

Tel: (08) 8232 7474

  • สถานกงสุลไทยประจำรัฐนิวเซาท์เวลส์

Level 8, 131 Macquaire St., Sydney, NSW 2000

Tel: (02) 9247 8312

  • สถานกงสุลไทยประจำรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

135 Victoria Ave, Dalkeith, WA 6009

Tel: (08) 9386 8092

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เมื่อเราเข้ามาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง นั่นก็คือธรรมเนียมท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เราห้ามทำในพื้นที่ นั้น ๆ เพราะสิ่งนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมือง หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยของตัวเราเอง วันนี้ สนร.ออสเตรเลีย Blogger ก็ไม่พลาดที่จะมาแนะนำน้องๆ สิ่งที่ไม่ควรทำในออสเตรเลียมาฝากนะคะ เผื่อว่าจะได้เอาไปเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นนะคะ

1.กฏจราจร จะบอกว่าเราไม่รู้เรื่องไม่ได้นะ

กฏจราจร เช่น การข้ามทางม้าลาย หรือข้ามตรงจุดทางให้สัญญาณไฟข้ามถนน การจอดรถ ซึ่งก็เหมือนเมืองไทย แต่ต่างกันที่ออสเตรเลียค่าปรับผิดกฏจราจร แพงมาก จับจริง ยิ่งถ้าให้ข้อมูลเท็จละก็ยิ่งเรื่องใหญ่เลยทีเดียว

2.กฎหมายเรื่องแอลกอฮอล์

การถือขวดเบียร์เดินในเมือง อาจดูเป็นเรื่องปกติ แต่ในประเทศออสเตรเลียคุณอาจโดนจับปรับได้ เพราะห้ามถือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพื้นที่สาธารณะ ชายหาด  สวนสาธารณะ และเส้นทางคมนาคมก็เป็นเขตปลอดแอลกอฮอล์ ฉะนั้นถ้าต้องซื้อเครื่องดื่มก็ห่อปิดให้มิดชิดนะจ๊ะ

3. รถดับเพลิง ไม่ใช่บริการดับเพลิงฟรีๆ นะจ๊ะต้องระมัดระวังเรื่องฟืนไฟ เช่น ขณะทำอาหารก็ระวังเรื่องเตาแก๊สดีๆ เพราะเครื่องจับควันจะส่งสัญญาณ และรถดับเพลิงก็จะมาถึงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นค่าบริการรถดับเพลิงคันละ $800 เลยทีเดียว

4. รถปฐมพยาบาล.

ถ้าเกิดไม่สบายหน้ามืดเป็นลม ขอให้รีบตั้งสติด่วน! เพราะจะมีผู้หวังดีแจ้งรถพยาบาลมารับคุณนั้นเอง ซึ่งก็คันละ $500 โดยเฉพาะเป็นลมอยู่ที่ชานชาลารถไฟ แต่ทางที่ดี ให้เราพกบัตรประกันสุขภาพไปกับเราทุกที่ปลอดภัยสุดคะ

ประกันสุขภาพ OSHC ครอบคลุมค่าอะไรบ้าง?

OSHC Worldcare ให้การประกันความปลอดภัยกับนักศึกษาต่างชาติ คล้ายคลึงกับที่คนออสเตรเลียได้รับจาก Medicare ยิ่งไปกว่านั้น OSHC Worldcare ยังรวมถึงการเข้าถึง โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ศัลยกรรมผู้ป่วยนอก การครอบคลุมด้านรถพยาบาลฉุกเฉิน และผลประโยชน์ในการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์

5.จ่ายเงินค่าขึ้นรถบัส/รถไฟ

อย่าลืมแตะก่อนขึ้น-หลังลง มิฉะนั้นคุณจะถูกเรียกเก็บเงินจำนวนสูงสุดของทริปนั้นๆ

 

6.ห้ามตากผ้าบนระเบียง

การตากผ้าบนระเบียง หรือเอาสิ่งอืื่นสิ่งใดมาพิงบนระเบียง แบบที่สามารถมองเห็นได้ ถือว่าผิดกฏหมายตามรูปแบบอาคาร Office of Fair Trading ซึ่งไม่ดีต่อสภาพแวดล้อมและไม่ดีต่อความสมดุลของอาคาร โดนปรับไปตามระเบียบจ้าาาาา

7. ห้ามละเลยป้ายเตือนที่ชายหาดเด็ดขาด

ทะเลของออสเตรเลียถือว่าแตกต่างกับของไทยค่อนข้างมาก เพราะค่อนข้างมีอันตรายอยู่เยอะ ไม่ว่าจะเป็นฉลาม จระเข้ แมงกะพรุน หรือกระแสน้ำ (rip current ซึ่งเป็นอันตรายมาก) เพราะฉะนั้นคุณ ไม่ควรจะละเลยหรือมองข้ามความสำคัญของป้ายเตือนหรือธงสีแดงที่ปักเตือนนักท่องเที่ยวเอาไว้

8. เกิดเหตุด่วนเหตุร้าย โทรแจ้ง 000 *ไม่ใช่โทร 911 นะจ๊ะ

9. ห้ามให้อาหารหรือสัมผัสหมาป่าดิงโก้

เวลาที่ออกไปปิกนิก เราอาจจะพบเห็นหมาป่าดิงโก้ที่แสนน่ารักได้ แต่ก็อย่าลืมว่ายังไงมันก็เป็นสัตว์ป่า การที่เราไปให้อาหาร หรือเข้าใกล้มันจนมาเกินไป อาจจะทำให้มันเข้ามาทำอันตรายเราได้ ดังนั้นการเว้นระยะห่างจากสิ่งมีชีวิตหน้าตาน่ารักที่แสนจะอันตรายนี้จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุด

10. ปั่นๆ ปั่นๆ จักรยานกันเถอะ แต่ระวัง! การขี่จักรยานไม่ใส่หมวกกันน็อก ถือว่าผิดกฏหมาย

โดนตำรวจจับปรับ $AU 250 หรือ แม้กระทั่งขี่จักรยานบนทางเท้าก็ถือว่าผิดกฎหมาย น่ะจ๊ะ

ภาพจาก : https://visitcanberra.com.au

การขี่ E Scooter ก็กำลังเป็นที่นิยม มี E Scooter วางให้บริการอยู่ทั่วไปตามเมืองใหญ่ๆ สามารถ โหลดแอป และใช้บัตรธนาคารเติมเงินได้ที่ตัว E Scooter โดยตรง

ควรจะศึกษากฎข้อบังคับในการใช้ ซึ่งแต่รัฐก็จะมีข้อบังคับต่างกัน เช่นบางรัฐ ห้ามให้ขี่ในถนน แต่บางรัฐอนุญาติ บางที่ห้ามขี่บนทางเท้า หรือใช้ทางจักรยาน แต่บางรัฐก็สามารถให้ทำได้ 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

Is it legal to ride Electric Scooters in my state in Australia? Updated November 2023

#Image from Vic Roads.#

ข้อมูลโดย สนร.ออสเตรเลีย BLOGGER (#KS_11/02/19)

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก IDP, Youth Law Australia และ Jingjonenew

nz-01

ประเทศนิวซีแลนด์

เป็นประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนมาก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 76 ของโลก โดยพื้นที่ของประเทศนิวซีแลนด์จะประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะหลักๆ และมีหมู่เกาะเล็กๆ เมืองหลวงของประเทศนี้คือ เมืองเวลลิงตัน (Wellington) เมืองที่ถูกจดจำในอีกชื่อว่า “เมืองแห่งสายลม” เพราะว่าบริเวณที่ตั้งของเมืองเปรียบเสมือนช่องลมใหญ่ ๆ ที่รับลมได้เต็มที่ จากการตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะเหนือระหว่างช่องแคบทั้งสอง นอกจากนั้นเมืองหลวงนี้ยังเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม ที่ยังคงความสวยงามของสถาปัตยกรรมไม้สไตล์วิคตอเรีย และมีจุดชมวิวที่สวยงามตรึงตาระดับโลกหรือภูเขาวิคตอเรียด้วย เสน่ห์ของเมืองจะรายล้อมไปด้วยพื้นที่ธรรมชาติและชายหาดที่เดินทางไปได้ง่ายๆ

 

กีวี่ (Kiwi) หมายถึง ชาวนิวซีแลนด์

คำว่า กีวี่ นอกจากจะหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว ยังหมายถึงคำเรียกชาวนิวซีแลนด์ได้อีกด้วย แต่สำหรับชนพื้นเมืองเราจะไม่ใช่คำนี้เรียกนะคะ แต่จะเรียกพวกเขาว่า เมารี ซึ่งเป็นชื่อเรียกชาวพื้นเมืองของนิวซีแลนด์โดยเฉพาะ

 

เวลานิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกทางซ้ายของเส้นแบ่งวัน– International Date Line ซึ่งทำให้เวลาของนิวซีแลนด์เร็วกว่าเวลาของทุกประเทศในโลกนี้

  • เวลามาตรฐานของนิวซีแลนด์ (NZST – New Zealand Standard Time) คือ GMT +12
  • ซึ่งควรจะทำให้เวลาในนิวซีแลนด์เร็วว่าไทย 5 ชั่วโมงตลอดปี เนื่องจากเวลามาตรฐานของประเทศไทยคือ GMT +7
  • แต่เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่อยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตร ความเป็นประเทศแถบขั้วโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์กลางวันยาวนานมากในหน้าร้อนและสั้นมากในหน้าหนาว เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศนิวซีแลนด์หันเข้าหาดวงอาทิตย์ต่างมุมกันในแต่ละช่วงของปี
  • หน้าร้อน (ธ.ค.-ก.พ.) พระอาทิตย์ขึ้น 6 โมงเช้า ตก 4 ทุ่ม
  • หน้าหนาว (มิ.ย.-ส.ค.) พระอาทิตย์ขึ้น 8 โมงครึ่ง ตก 5 โมงเย็น
  • ดังนั้น นิวซีแลนด์จึงเป็นหนึ่งในหลายสิบประเทศทั่วโลก ที่นำเอาระบบ Daylight Saving มาใช้
  • ซึ่ง Daylight Saving นี้ ช่วยประหยัดพลังงาน ลดอุบัติเหตุจากแสงแยงตาเวลาขับรถ และทำให้ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ สอดคล้องกับเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละฤดูกาล
  • เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ในคืนวันอาทิตย์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน) นิวซีแลนด์ทั้งประเทศจะพร้อมใจกันหมุนนาฬิกาไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง (Spring = forward) ทำให้จาก GMT+12 กลายเป็น GMT +13 ทำให้เวลาในนิวซีแลนด์เร็วกว่าเวลาในประเทศไทย 6 ชั่วโมง ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
  • และเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง (ในวันอาทิตย์สัปดาห์แรกของเดือนเมษายน) นิวซีแลนด์ทั้งประเทศก็จะหมุนนาฬิกาย้อนกลับ 1 ชั่วโมง (Fall = back) กลับเป็น GMT+12 ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานของประเทศ ทำให้เวลาในนิวซีแลนด์กลับมาเร็วกว่าเวลาไทย 5 ชั่วโมงเท่าเดิม ระหว่างเดือนเมษายนไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายนของปีเดียวกัน

 

ค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตที่นิวซีแลนด์

ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอันดับที่ 2 ของโลกในเรื่องของความปลอดภัย มีการตรวจรักษาความปลอดภัย และระบบการจัดการกับคดีทั้งเล็กและใหญ่อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด เรทของอาชญากรรมในประเทศนี้จึงน้อยมาก ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปต่างๆ คุณภาพชีวิตของประชากรที่นิวซีแลนด์จึงนับว่ามั่นคง แต่ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าครองชีพก็จะสูงตามระดับคุณภาพชีวิตที่ได้รับ ทั้งวิวธรรมชาติอันงดงาม ความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง ชาวเมืองที่มอบความเป็นมิตรให้เป็นปรกติ และความเชื่อในแต่ละองค์กรหรือสถาบันที่ยกให้เรื่องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่าเป็นเรื่องสำคัญพอๆ กับการเรียนหรือการทำงาน เพราะฉะนั้นใครที่ได้ไปยังประเทศนิวซีแลนด์จะได้สัมผัสกับกิจกรรมสนุกๆ นับไม่ถ้วนที่ไม่เคยได้ทำมาก่อนแน่นอน

การไปโรงพยาบาล คลินิก หรือร้านทำผมต้องทำการจองหรือ Booking ก่อนเสมอ ส่วนสถานีตำรวจในประเทศนิวซีแลนด์จะหยุดวันเสาร์และอาทิตย์ ถ้ามีเรื่องติดต่อต้องทำการ Booking ก่อนเช่นกัน ยกเว้นกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถกดสายด่วน 111 เพื่อแจ้งตำรวจหรือสถานีดับเพลิงได้ทันที

 

ภูมิอากาศของประเทศนิวซีแลนด์

ภูมิอากาศโดยทั่วไปของประเทศนี้มีแนวโน้มไปทาง เย็น ๆ อุ่นถึงร้อน ไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอากาศหนาวเลย อย่างที่โอ๊คแลนด์ (Auckland) ช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงถึง 10 องศาเซลเซียส สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีฝนตกตลอดปี ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก – ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก – กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก โดยประกอบด้วย 4 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูร้อน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ภูมิอากาศประมาณ 16-25 °C
  • ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคน-พฤษภาคม) ภูมิอากาศประมาณ 13-19 °C
  • ฤดูหนาว (มิถุนายน-สิงหาคม) ภูมิอากาศประมาณ 2-10 °C
  • ฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน-พฤศจิกายน) ภูมิอากาศประมาณ 7-17 °C

 

นิวซีแลนด์มีเพลงชาติ 2 เพลง

นิวซีแลนด์เป็น 1 ใน 3 ประเทศในโลกที่มีเพลงชาติ 2 เพลง และทั้งสองเพลงก็ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการด้วย โดยเพลงแรกมีชื่อว่า God Defend New Zealand และเพลงที่สองมีชื่อว่า God Save The Queen

 

อิสระในเรื่องเพศและ LGBT

ประเทศนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ค่อนข้างเปิดรับ LGBT โดยอนุญาตให้หญิงรักหญิงหรือชายรักชายสามารถแต่งงานกันได้

ข้อมูลจาก : https://www.smart-nz.com/

ภาพและข้อมูลจาก https://www.smart-nz.com/

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย ในนิวซีแลนด์มีทั้งหมด 8 แห่ง ทุกแห่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต่ำกว่าปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งในสายสามัญและสาขาวิชาชีพชั้นสูง

มหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ New Zealand Vice-Chancellors’ Committee (NZVCC) หรือแปลเป็นไทยได้ว่า สภาอธิการบดี

มหาวิทยาลัยทั้งแปดแห่งของนิวซีแลนด์ กระจายตัวอยู่ในเมืองสำคัญ 6 เมืองของนิวซีแลนด์

  • 5 มหาวิทยาลัยอยู่ในเกาะเหนือ มี U of Auckland, AUT, U of Waikato, Massey U และ VUW
  • 3 มหาวิทยาลัยอยู่ในเกาะใต้     มี U of Canterbury, Lincoln U และ U of Otago

ในนิวซีแลนด์เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีจุดแข็งของตน เนื่องจากจำนวนประชากรทั้งประเทศที่ไม่มากเพียง 5.2 ล้านคน ทำให้ไม่นิยมเปิดคณะซ้ำซ้อนกัน ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศอย่างไม่จำเป็น คณะใดที่ต้องใช้เงินทุนมากๆในการก่อตั้ง จัดสร้าง และจ้างบุคลากร จึงจะรวบไปไว้ที่มหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง

  • ถ้าต้องการเรียนแพทย์หรือสาขาทางการแพทย์ระดับสูง ต้องไปเรียนที่  U of Otago หรือ U of Auckland
  • แต่ถ้าเป็น Health Science ทั่วๆ ไป มีให้เรียนในทุกมหาวิทยาลัย
  • ถ้าต้องการเรียนสถาปัตย์ มี 3 มหาวิทยาลัยให้เลือก คือ Victoria, U of Auckland, AUT แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ ม. Victoria
  • ถ้าต้องการเรียนสัตวแพทย์ หรือการบิน (Aviation) ต้องไปที่ Massey University
  • ถ้าต้องการเรียนวิศวะโยธา เคมี เมคคาทรอนิคส์ สามารถไปเรียนที่ U of Auckland หรือ U of Canterbury
  • แต่ถ้าเป็นสาขา Digital Engineering ก็จะมีที่ Victoria University ให้เลือกอีกที่หนึ่ง เป็นต้น
หลักสูตรในมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์

มหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์มี “วุฒิ” อะไรแบบไหนบ้าง เรียกว่าอะไร ซึ่งการเรียกวุฒิก็มีทั้งที่เหมือนและที่ต่างจากมหาวิทยาลัยในไทยหรือในประเทศอื่นๆ อยู่บ้างเล็กน้อย โดยมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์มีวุฒิต่อไปนี้เปิดสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้ง 8

<td”>Bachelor’s Degree with Honours

Certificate of Studiesหลักสูตรเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัย
Bachelor’s Degreeหลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรปริญญาตรีเกียรตินิยม
Graduate Certificateหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
Graduate Diplomaหลักสูตรอนุปริญญาบัณฑิต
Postgraduate Certificateหลักสูตรประกาศนียบัตรมหาบัณฑิต
Postgraduate Diplomaหลักสูตรอนุปริญญามหาบัณฑิต
Master’s Degreeหลักสูตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
Doctorateหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)
  • ปริญญาตรี ปริญญาตรีที่นิวซีแลนด์มีสองแบบ คือปริญญาตรีแบบธรรมดา (Bachelor’s Degree) กับปริญญาตรีเกียรตินิยมที่เรียกว่า Bachelor’s Degree with Honours หรือ Honours Degree Programme
    • ข้อควรทราบก่อนเข้าดูข้อมูลหลักสูตรบางมหาวิทยาลัยจะจัดวางหลักสูตรปริญญาตรีแบบ Honours ไว้ในกลุ่มบัณฑิตศึกษา เนื่องจากปริญญาตรี Honours มีระดับ NZQF อยู่ที่ Level 8 เทียบเท่า PGDip ซึ่งเป็นหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาโทปี 1 (กรุณาดูตาราง Level ด้านล่างประกอบ)

หลักสูตรสายหมอ เช่น แพทย์, ทันตแพทย์ จะมีระยะเวลาเรียนต่างจาก ป.ตรีปกติ  โดยแพทย์เรียน 6 ปี ทันตแพทย์เรียน 5 ปี สัตวแพทย์เรียน 5 ปี  ส่วนเภสัชเรียน 4 ปี  นักศึกษานานาชาติสมัครเข้าเรียนได้แต่จะถูกจำกัดจำนวนด้วยโควต้า เช่น รับปีละ 10-25 คนเป็นอย่างมาก    

    • ระดับภาษาสำหรับการเรียนปริญญาตรี

ปกติกำหนดไว้ที่ IELTS 6.0 แต่จะดีกว่ามากถ้านักศึกษามี IELTS 6.5 ขึ้นไป โดยต้องมี Writing ไม่ต่ำกว่า 6.0 

  • Postgraduate Study | ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
    • Graduate Certificate (GCert) และ Graduate Diploma (GDip) : หลักสูตร 1 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแล้ว แต่จบสาขาอื่นมาและไม่มีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อ
    • Postgraduate Certificate (PGCert) และ Postgraduate Diploma (PGDip) : สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีตรงสาย และต้องการเรียนต่อปริญญาโทในสาขาเดิม ในกรณีเรียน ป.ตรีมาเป็นภาษาไทย หรือเกรดไม่ถึงที่จะเรียนปริญญาโท (ปกติกำหนดไว้ที่ GPA 2 ขึ้นไป) หรือทั้งสองอย่าง มหาวิทยาลัยจะออฟเฟอร์ให้เรียน PGCert หรือ PGDip ก่อน เพื่อจะ bring up academic level และ Research skills ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเรียนหลักสูตรปริญญาโท
    • Master’s Degree : หลักสูตร 1-2 ปี เกณฑ์รับเข้าเรียนปริญญาโทของนิวซีแลนด์โดยทั่วไปต้องการผู้ที่จบปริญญาตรีแบบเกียรตินิยม หรือได้ GPA 20 ขึ้นไป
  • Doctorate: หลักสูตรปริญญาเอก ปกติใช้เวลาเรียน 3-4 ปี (full-time study) โดยปริญญาเอกที่มีในนิวซีแลนด์จะมีสองลักษณะ คือ PhD (Doctor of Philosophy) และ Doctor of (ชื่อ Discipline ที่เรียน)
  • Foundation หลักสูตรประกาศนียบัตรเพื่อเตรียมพื้นฐานเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อปรับความรู้ของนักเรียนโดยเฉพาะนักเรียนต่างชาติที่มาจากระบบการศึกษาแตกต่างกันจากทั่วโลก  ให้มีความรู้ใกล้เคียงเป็นมาตรฐานเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ University Foundation และ English Pathwayการ

ระดับภาษาที่เหมาะสมสำหรับการเรียนหลักสูตร Postgraduate  ปกติกำหนดไว้ที่ IELTS 6.5 แต่จะดีกว่ามากถ้านักศึกษามี IELTS 7.0 ขึ้นไป ปริญญาโทบางสาขา (Law, Education) ต้องการระดับภาษาขั้นต่ำ IELTS 7.0

ทำความเข้าใจกับ NZQF Level ต่างๆ

→   Bachelor’s Degree  เป็น NZQF Level 7

→  Graduate Certificate  เป็น NZQF Level 7 นอกจากจะเป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบสายสามัญแล้วก็ยังเหมาะสำหรับผู้ที่จบสายอาชีพ (Diploma Level 6) และต้องการวุฒิที่มีระดับเทียบเท่าปริญญาตรีในสาขาเดิมที่เรียน Dip มา แต่ไม่ได้อยากไปเรียน ป.ตรีใหม่หมด 3 ปี – เรียนจบได้วุฒิ GCert 

ถ้าเรียนสายอาชีพมาแต่ต้องการได้ Bachelor’s จะต้องใช้วิธีเทียบโอนหน่วยกิต ส่วนใหญ่จะเรียนเพิ่มอีก 1.5-2 ปี

→  Graduate Diploma เป็น NZQF Level 7 สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีมา (Level 7) และต้องการต่อโท (Level 9)  แต่เรียนตรีมาสายหนึ่งต้องการต่อโทอีกสายหนึ่ง จึงต้องเรียน GDip (L7) อีกหนึ่งรายการ เพื่อปูพื้นฐานให้มีพื้นความรู้เท่ากับ/ใกล้เคียงผู้ที่จบตรีสาขานั้นๆมา  

→  Bachelor Degrees with Honours เป็น NZQF Level 8 นั่นคือนับปริญญาตรีที่เรียน 3 ปีแรกเทียบเท่า Level 7  + 1 ปีที่เรียน Honours = จบด้วยวุฒิ Level 8

→  Postgraduate Certificate / Postgraduate Diploma เป็น NZQF Level 8 หลักสูตรนี้เหมาะกับผู้ที่จบปริญญาตรีมาตรงสายที่จะต่อโท แต่อาจจะมีเกรดเฉลี่ย ป.ตรี ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำรับเข้าเรียนปริญญาโท หรือเรียน ป.ตรีมาจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หรือเรียน ป.ตรีมาเป็นภาษาต่างประเทศ

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลักสูตรที่แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอน  

auckland
Auckland

เมืองใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ ในปี 2019 ออคแลนด์ยังได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 8 ด้วยจำนวนประชากร 1.4 ล้านคน และสถาบันการศึกษามากมายให้เลือกสรร “โอ๊คแลนด์” จึงไม่เพียงแต่เป็นเมืองน่าอยู่ติดอันดับโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยโอกาสในการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด เมืองมีภูมิทัศน์สวยงาม มีย่านการค้าที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ใกล้ชิดธรรมชาติด้วยชายฝั่งและเกาะแก่งที่อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปเพียง 10-15 นาที โอ๊คแลนด์เป็นบ้านเกิดและที่ทอดกายตลอดกาลของ Sir Edmund Hilary ผู้สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักปีนเขาคนแรกของโลกที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ในแต่ละปีมีนักเรียนนักศึกษานานาชาติจำนวนกว่า 70,000 คนจากทั่วโลก เลือกมาศึกษาและเก็บเกี่ยวประสบการณ์อยู่ที่เมืองนี้

Wellington

เวลลิงตัน เป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่บริเวณตอนปลายสุดของเกาะเหนือ ซึ่งจะเป็นแหล่งที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลและเมืองนี้ได้รับสมญาว่าเป็น Windy city เวลลิงตันเป็นเมืองท่าที่เชื่อมระหว่าง เกาะเหนือ และเกาะใต้ ที่มีช่องแคบคุก (cook) คั่นกลาง ทำให้เกิดกระแสลมแรง เป็นแหล่งรวมสถานที่สำคัญ ผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ไม่เร่งรีบ ตั้งอยู่บนอ่าวของทางตอนใต้สุดของเกาะเหนือ มีความสำคัญในด้านการปกครอง และเป็นจุดเชื่อมระหว่างเกาะเหนือและเกาะใต้ ด้านการศึกษา มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง 3 แห่ง  คือ มหาวิทยาลัย Massey University มีชื่อเสียงด้านศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัย University of Otago มีชื่อเสียงด้านสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ และ มหาวิทยาลัย Victoria University of Wellington มีชื่อเสียงในสาขาวิชากฏหมาย          

                     Image:https://www.newzealand.com/au/ 

Christchurch

ไคร้สท์เชิร์ช เป็นเมืองเก่าแก่และ ใหญ่ที่สุดทางเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษอย่างแท้จริง มีสวนดอกไม้สวยงาม มีแม่น้ำเอวอนไหลผ่านกลางเมืองและประกอบด้วยสถาปัตยกรรมในรูปแบบของอังกฤษยุคบุกเบิก ไคร้สท์เชิร์ชถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสวนดอกไม้ตระการตา (Garden City) 

มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจในเมืองนี้ได้แก่ University of Canterbury และ Lincoln University

image: https://www.travelmanagers.com.au/

Hamilton
Hamilton

แฮมิลตันตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Waikato ความยาวกว่า 16 กิโลเมตรซึ่งถือเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของประเทศ เป็นเมืองขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของนิวซีแลนด์ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยไวคาโต้ (U of Waikato) และ Wintec (Waikato Institute of Technology)

เนื่องจากอยู่ใกล้กับโอ๊คแลนด์ สถาบันอุดมศึกษาใหญ่น้อยอีกหลายแห่ง ต่างก็เลือกแฮมิลตันเป็นที่ตั้งแคมปัสรองของตน เป็นการกระจายนักศึกษาต่างชาติออกจากโอ๊คแลนด์ ตามนโยบายของรัฐบาลนิวซีแลนด์ ที่จะให้สิทธิ์นักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้เรียนในโอ๊คแลนด์ ได้สิทธิ์ประโยชน์เพิ่มขึ้นในการได้วีซ่าทำงานหลังเรียนจบนานขึ้น 1 ปี เพื่อระบายความแออัดและแก้ไขปัญหาจราจรในโอ๊คแลนด์  

Image: https://www.heartsandminds-edu.com

Rotorua

โรโตรัวเมืองที่ได้รับสมญานามว่าเมืองแห่งสปาและการท่องเที่ยว ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบโรโตรัวสูงจากระดับน้ำทะเล 280 เมตร ไม่ไกลจากเมืองอ๊อคในเมืองจะได้กลิ่นของกำมะถันและควันขาวของน้ำพุร้อนพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดิน

สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง Agrodome ซึ่งเป็นสถานที่โชว์การตัดขนแกะ ชมไร่องุ่นและชิมไวน์ บ่อโคลนเดือด (Bubbling Mud Pools) และ น้ำพุร้อน (Geysers) นอกจากนี้ โรโตรัวยังเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมเมารีที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นถิ่นที่มีชาวเมารีอาศัยอยู่มากที่สุด นอกจากนี้ โรโตรัวยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นเรือใบและการตกปลาเทราต์อีกด้วย

Image: https://www.workwhilestudy.com

Queenstown

เป็นสถานที่ที่ถ่ายทำหนังในเรื่อง Lords of the Ring หรือ Hobbit ในหลายๆฉาก ซึ่งใครที่เป็นแฟนหนังเรื่องนี้ ไม่ควรพลาดที่จะไป!! ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาและทะเลสาบวาคาติปู ที่ถือเป็น ที่ถือเป็นทะเลสาบสำคัญของเมือง และยังมีกิจกรรมสนุกๆมากมาย เช่น เดินป่า ปีนเขา พายเรือคายัค หรือจะล่องเรือเพื่อชมเมืองอีกด้วย

 Image: https://www.newzealand.com/au/

Image : Alexa Vincent https://www.farandwide.com

Image : Alexa Vincent https://www.farandwide.com

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content