Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
เมนูที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ข้อ 38 กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.  (โดยสำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน ในฐานะฝ่ายเลขานุการ) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ซึ่งคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ มีองค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

  1. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย        
  2.  เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  3.  ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
  4.  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  5.  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  6.  เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม  
  7.  อัยการสูงสุด
  8.  อธิบดีกรมบัญชีกลาง 
  9.  ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 
  10.  ผู้แทนกระทรวงการคลัง
  11.  ผู้แทนกระทรวงแรงงาน   
  12.  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 
  13.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาการบริหารงานบุคคล
  14.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขากฎหมาย 
  15.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาเศรษฐศาสตร์     
  16.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาแรงงานสัมพันธ์     
  17.  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน   
  18.  ผู้แทนสำนักงบประมาณ  
  19.  ผู้แทนกรมบัญชีกลาง                                                                                                   

ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ
กรรมการ
กรรมการ                                 
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการและเลขานุการ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

  1.  กําหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติรวมทั้งเสนอแนะส่วนราชการในการปรับปรุงหรือแก้ไขระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับ การบริหารพนักงานราชการเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
  2.  กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสรรหาและการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการ
     รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง 
  3.  กําหนดกลุ่มงานและลักษณะงานในกลุ่มงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานของพนักงานราชการ
  4.  ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากําลังพนักงานราชการที่ส่วนราชการเสนอ
  5.  กําหนดอัตราค่าตอบแทนและวางแนวทางการกําหนดสิทธิประโยชน์อื่นของพนักงานราชการ
  6.  กําหนดมาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
  7.  ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับระเบียบนี้
  8.  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามที่เห็นสมควร
  9.  อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือกฎหมายอื่น
ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content