Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
วินัยระบบ HiPPSอุทธรณ์ร้องทุกข์
เมนูที่เกี่ยวข้อง
วินัยระบบ HiPPSอุทธรณ์ร้องทุกข์

สิทธิประโยชน์ พรก.

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

อัปเดต

ใช้งาน

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547

อัปเดต

ใช้งาน

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

คู่มือ

สื่อมัลติมีเดีย

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Q2: การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

Q: พนักงานราชการสามารถนำวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น มาใช้ปรับวุฒิเพื่อเพิ่มค่าตอบแทน ได้หรือไม่

A: ระบบพนักงานราชการ เป็นระบบสัญญาจ้างที่เน้นการจ้างงานตามสมรรถนะและคุณวุฒิของบุคคล ซึ่งได้กำหนดไว้เฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ประกาศรับสมัคร ดังนั้น การได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถนำมาขอปรับอัตราค่าตอบแทนหรือปรับตำแหน่งได้

Q: พนักงานราชการได้รับการจ้างให้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เนื่องจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ในปีนั้นเป็นวันหยุดราชการ จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้นหรือไม่

A: ในกรณีทั่วไป พนักงานที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาครบ 8 เดือน นับจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณ (วันที่ 30 กันยายน) แต่หากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในปีนั้นตรงกับวันหยุดราชการ พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างให้เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ให้ได้รับการเลื่อนขึ้นค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น เป็นกรณีพิเศษได้

Q: หากพนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนถึงขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงานแล้ว จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ เช่นเดียวกับข้าราชการ หรือไม่

A: ไม่มีค่าตอบแทนเพิ่มเติมพิเศษ พนักงานราชการจะได้รับค่าตอบแทนตามอัตราขั้นสูงของบัญชีกลุ่มงาน ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ เท่านั้น (ประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565)

Q: พนักงานราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อน ได้หรือไม่

A: พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีขึ้นไป และในปีงบประมาณที่ผ่านมาใช้สิทธิลาพักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สามารถนำวันลาพักผ่อนที่เหลือมาสะสมได้ ซึ่งวันลาพักผ่อนที่นำมาสะสมต้องไม่เกิน 5 วันทำการ เมื่อรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันแล้วจะต้องไม่เกิน 15 วันทำการ (เป็นไปตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560)

Q: พนักงานราชการชาย สามารถลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตรและดูแลภรรยาหลังคลอดบุตร ได้หรือไม่

A: มีสิทธิลาได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเงื่อนไข (ตามประกาศ คพร. เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ดังนี้

  • ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • ต้องลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร
  • ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา ไม่เกิน 15 วันทำการ
  • หากเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร จะไม่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 15 วันทำการ

Q: พนักงานราชการที่มีคู่สมรสเป็นข้าราชการ จะสามารถเลือกใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส ได้เลยหรือไม่

A: พนักงานราชการต้องใช้สิทธิของตนเองจากประกันสังคมก่อน หากยังมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินจึงไปใช้สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นข้าราชการของคู่สมรส

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content