ค้นหาข้อมูล
สำนักงาน ก.พ.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12 กำหนดให้ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ โดยจำนวน คุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการ พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ก.พ. ได้ประกาศแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญต่าง ๆ เพื่อทำการแทนและรับผิดชอบภารกิจต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ของ ก.พ. จำนวน 9 คณะ และ คณะกรรมการแพทย์ ก.พ. อีก 1 คณะ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายลำดับรองให้ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทการเแลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคล เพื่อให้เกิดการบริหารงานบุคคลภาครัฐเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

2. ทำการแทน ก.พ. ในการพิจารณาตีความ และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือนสามัญ การให้คำปรึกษาแนะนำส่วนราชการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายลำดับรอง การให้คำปรึกษา แนะนำสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ประธาน อ.ก.พ.
2 นายนพดล เฮงเจริญ อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
4 นายกมลชัย รัตนสกาววงศ์ อ.ก.พ.
5 นางชื่นสุมน นิวาทวงษ์ อ.ก.พ.
6 นายภพ เอครพานิช อ.ก.พ.
7 นายวันชาติ สันติกุญชร อ.ก.พ.
8 ร้อยตำรวจโทหญิง ศรัณย์กร เลิศโอภาส อ.ก.พ.
9 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ. และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับวินัย และจริยธรรม

2. ทำการแทน ก.พ. ในการพิจารณาตรวจสอบการดำเนินการทางวินัย การยกเว้นให้ผู้มีลักษณะต้องห้ามเข้ารับราชการ การส่งเสริมกับรักษาจริยธรรม การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ และการส่งเสริมกับรักษาจริยธรรม ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการดังกล่าว

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายนพดล เฮงเจริญ ประธาน อ.ก.พ.
2 นายปกรณ์ นิลประพันธ์ อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
4 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อ.ก.พ.
5 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ อ.ก.พ.
6 นายธงชัย ณ นคร อ.ก.พ.
7 นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ อ.ก.พ.
8 พลตำรวจโท ปัญญา เอ่งฉ้วน อ.ก.พ.
9 นายภิรมย์ ศรีจันทร์ อ.ก.พ.
10 นายวิชัย ศรีขวัญ อ.ก.พ.
11 นายสีมา สีมานันท์ อ.ก.พ.
12 นายสุวัฒน์ ตันประวัติ อ.ก.พ.
13 นายอดุล จันทรศักดิ์ อ.ก.พ.
14 นายอนุสรณ์ สุขแสงทอง อ.ก.พ.
15 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ.และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ หลักเกณฑ์และวิธีการการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เป็นระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ

2. ทำการแทน ก.พ. ในการสร้างนวัตกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบดิจิทัล ปรับปรุงระบบข้อมูล กระบวนการทำงาน ระบบทะเบียนประวัติข้าราชการพลเรือนให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ บูรณาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ให้คำปรึกษาแนะนำส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงพัฒนาและเสริมสร้างระบบ วัฒนธรรม แลละประสบการณ์ในการทำงานที่ดีของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐจากการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลดิจิทัลในการบริหารจัดการงานภาครัฐ ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการดังกล่าว

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ประธาน อ.ก.พ.
2 นายพานิช เหล่าศิริรัตน์ อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
4 อธิบดีกรมบัญชีกลาง อ.ก.พ.
5 ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ อ.ก.พ.
6 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล อ.ก.พ.
7 นายเดช ฐิติวณิช อ.ก.พ.
8 นายวิโรจน์ วงศ์สถิรยาคุณ อ.ก.พ.
9 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ.และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับค่าตอบแทน สวัสดิการ ประโยชน์เกื้อกูล การเสริมสร้างแรงจูงใจ คุณภาพชีวิต และการสร้างความผูกพันต่อราชการ ให้มีมาตรฐาน เป็นธรรม ยืดหยุ่น เหมาะสม ภายใต้ภาวะชีวิตวิถีใหม่

2. ทำการแทน ก.พ. ในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม หรือค่าตอบแทนอื่นใด รวมทั้งการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ตลอดจนการกำกับดูแล ติดตาม ประเมินผล และการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการและข้าราชการในการเสริมสร้างแรงจูงใจ คุณภาพชีวิต ความผูกพันต่อราชการ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐ

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 เลขาธิการ ก.พ. ประธาน อ.ก.พ.
2 เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อ.ก.พ.
3 อธิบดีกรมบัญชีกลาง อ.ก.พ.
4 นายกิติ มาดิลกโกวิท อ.ก.พ.
5 นายโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ อ.ก.พ.
6 นางชินริณี วีระวุฒิวงศ์ อ.ก.พ.
7 นายณัฐวุฒิ พงศ์สิริ อ.ก.พ.
8 นายนพดล เภรีฤกษ์ อ.ก.พ.
9 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ อ.ก.พ.
10 นายพรชัย ฐีระเวช อ.ก.พ.
11 นายภาณุวัฒน์ เบ็ญเราะมาน อ.ก.พ.
12 นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ อ.ก.พ.
13 นายวิโรจน์ วงศ์สถิรยาคุณ อ.ก.พ.
14 นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ อ.ก.พ.
15 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ.และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับระบบตำแหน่งและระบบแต่งตั้งให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว ให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ส่วนราชการ การพัฒนารูปแบบและกลไกการจ้างงานให้สอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการ การพัฒนารูปแบบและกลไกการจ้างงานให้สอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการเพื่อดึงดูดผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นทางเลือกให้ส่วนราชการนำไปใช้ตามความจำเป็นของภารกิจ การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารระบบตำแหน่ง ระบบแต่งตั้ง และความเขื่อมโยงกับระบบความก้าวหน้าในอาชีพ

2. ทำการแทน ก.พ. ในเรื่องเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบกอบอัตรากำลัง การให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขปัญหาการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ ทั้งการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง การปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การเทียบตำแหน่ง การแต่งตั้งและการพิจารณาคุณสมบัติของบุคคล ตลอดจนการตรวจสอบและการติดตามประเมินผลการใช้กำลังคนของส่วนราชการ รวมทั้งการบังคับใช้ หรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประธาน อ.ก.พ.
2 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ.ร. อ.ก.พ.
4 นายกิติ มากิลกโกวิท อ.ก.พ.
5 นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อ.ก.พ.
6 นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง อ.ก.พ.
7 นางพรรณพิมล วิปุลากร อ.ก.พ.
8 นายภาณุวัฒน์ เบ็ญเราะมาน อ.ก.พ.
9 นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ อ.ก.พ.
10 นายสมคิด จันทมฤก อ.ก.พ.
11 นางสุจินดา พลอยมนตรี อ.ก.พ.
12 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อ.ก.พ.
13 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ. และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการการเตรียมกำลังคนคุณภาพของราชการในอนาคต การสร้างคลังกำลังคนคุณภาพ ตลอดจนการรักษาและใช้ประโยชน์กำลังคนคุณภาพของราชการ

2. ทำการแทน ก.พ. ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการทุนเล่าเรียนหลวง และทุนของรัฐบาล ได้แก่ การจัดสรรทุน การสรรหาและเลือกสรรผู้รับทุน การดูแลจัดการศึกษาและการเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพ การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้รับทุน และการอื่นที่ ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางไว้แล้วตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธาน อ.ก.พ.
2 นายเอกพล ณ สงขลา อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
4 นายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย อ.ก.พ.
5 นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ อ.ก.พ.
6 นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ อ.ก.พ.
7 นายทวารัฐ สูตะบุตร อ.ก.พ.
8 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ อ.ก.พ.
9 นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ อ.ก.พ.
10 ร้อยตำรวจโทหญิง ศรัณย์กร เลิศโอภาส อ.ก.พ.
11 นายศรุต วานิชพันธุ์ อ.ก.พ.
12 นายศุภวัฒน์ วัฒน์ธนปติ อ.ก.พ.
13 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ. และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับระบบการสรรหาและเลือกสรร การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การประเมินบุคคลเพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการ และการทบทวนคุณลักษณะ กลไกการประเมินสมรรถนะที่เหมาะสมของข้าราชการ

2. ทำการแทน ก.พ. ในเรื่องเกี่ยวกับการสรรหาและเลือกสรรบุคคล การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับรองคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้ง การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการประเมินบุคคลเพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการ ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการดังกล่าว

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายพานิช เหล่าศิริรัตน์ ประธาน อ.ก.พ.
2 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
3 นายเฑวิณฑร์ สมงาม อ.ก.พ.
4 นายณัฐวุฒิ พงศ์สิริ อ.ก.พ.
5 นายนภดล ร่มโพธิ์ อ.ก.พ.
6 นายปรัชญา เวสารัชช์ อ.ก.พ.
7 นายภาณุ สังขะวร อ.ก.พ.
8 นายวิเชียร ชนาเทพาพร อ.ก.พ.
9 นางสาวศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ อ.ก.พ.
10 นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ อ.ก.พ.
11 นางสาวสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ อ.ก.พ.
12 นายสุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ อ.ก.พ.
13 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ. และเลขานุการ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรภาครัฐและเพิ่มพูนความรู้และทักษะของบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการทำงานภายใต้ภาวะชีวิตวิถีใหม่ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บุคลากรภาครัฐเกิดการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

2. ทำการแทน ก.พ. ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ การกำหนดกรอบมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานหลักสูตรที่ ก.พ. กำหนด การปรับปรุงขอบเขตเนื้อหาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ. ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน การรับรองหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดทำตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรที่ ก.พ. กำหนด ตลอดจนการกำกับดูแล ติดตาม ประเมินผล และการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการในการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากรภาครัฐ

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายเอกพล ณ สงขลา ประธาน อ.ก.พ.
2 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา อ.ก.พ.
3 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
4 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล อ.ก.พ.
5 นายบวรนันท์ ทองกัลยา อ.ก.พ.
6 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อ.ก.พ.
7 นายปรัชญา เวสารัชช์ อ.ก.พ.
8 นายพลวรรธน์ วิทูรกลชิต อ.ก.พ.
9 นายวรวัจน์ สุวคนธ์ อ.ก.พ.
10 นางสาวศิริยุพา รุ่งเริงสุข อ.ก.พ.
11 นายสุรพันธ์ ปุสสเด็จ อ.ก.พ.
12 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อ.ก.พ.
13 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ. และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการประเมินบุคคล และประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งงให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ

2. ทำการแทน ก.พ. ในการพิจารณาคุณสมบัติและประเมินผลงานของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ตลอดจนการกำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล และการให้คำปรึกษาแนะนำส่วนราชการในการดำเนินการดังกล่าว

เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีมติเป็นประการใด ให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ ทั้งนี้ เรื่องใดที่ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งทำการแทน ก.พ. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาแล้ว อ.ก.พ. วิสามัญฯ อาจมอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแทนได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการให้ ก.พ. ทราบ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันของ อ.ก.พ. วิสามัญหลายคณะ หรือระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. กิจการอื่น ๆ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นางเบญจวรรณ สร่างนิทร ประธาน อ.ก.พ.
2 เลขาธิการ ก.พ. อ.ก.พ.
3 นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อ.ก.พ.
4 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อ.ก.พ.
5 นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อ.ก.พ.
6 นางธีรพร สถิรอังกูร อ.ก.พ.
7 นางสาวเยาวนุช วิยาภรณ์ อ.ก.พ.
8 นายวิจารย์ สิมาฉายา อ.ก.พ.
9 นายสมคิด จันทมฤก อ.ก.พ.
10 นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อ.ก.พ.
11 นายสุระ วิเศษศักดิ์ อ.ก.พ.
12 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อ.ก.พ.
13 นายอนันต์ ชูโชติ อ.ก.พ.
14 นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อ.ก.พ.
15 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย อ.ก.พ.และเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1. เพื่อทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการตรวจ ประเมิน ควบคุมดูแลสุขภาพและอนามัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการทุน การดูแลจัดการศึกษา การปฏิบัติราชการของข้าราชการ บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุความครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป

2. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อ ก.พ. ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา กฎหมาย ระเบียบ เกี่ยวกับสุขภาพและอนามัยของข้าราชการภายใต้ภาวะชีวิตวิถีใหม่ โรคที่เป็นลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนแนวทางการพิจารณาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการด้วยเหตุเจ็บป่วย ไม่อาจปฏิบัติราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ

3. ในการดำเนินการตามข้อ 1. และข้อ 2. หากเลขาธิการ ก.พ. เห็นว่า เรื่องใดมีผลกระทบต่อระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยรวม หรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เลขาธิการ ก.พ. อาจจัดให้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันระหว่าง อ.ก.พ. วิสามัญกับคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เป็นกรณีพิเศษก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้สำนักงาน ก.พ. รายงานผลการดำเนินการต่อ ก.พ. ทราบด้วย

4. แต่งตั้งคณะบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามความจำเป็นและเหมาะสม

5. ดำเนินกิจการอื่นตามที่ ก.พ. มอบหมาย

# ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการ
2 เลขาธิการ ก.พ. กรรมการ
3 อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการ
4 อธิบดีกรมสุขภาพจิต กรรมการ
5 ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กรรมการ
6 เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กรรมการ
7 นายพงศธร พอกเพิ่มดี กรรมการ
8 นางสาวอัญชลิตา กองอรรถ กรรมการ
9 รองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. ที่เลขาธิการ ก.พ.มอบหมาย กรรมการและเลขานุการ