Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
ทุนสำหรับบุคลากรภาครัฐe-Learning
เมนูที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับโครงการ ส.นบส.

หลักการและเหตุผล

         1.1 การพัฒนาผู้นำหรือผู้บริหารของภาคราชการเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญที่จะนำการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์
การพัฒนาประเทศให้เกิดผลในทางปฏิบัตินั้น เป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งรัฐบาลและสำนักงาน ก.พ. โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และได้ทำการศึกษา พัฒนา และปรับปรุงรูปแบบวิธีการพัฒนาผู้นำภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมความพร้อมนักบริหารภาครัฐให้มีศักยภาพในการเป็นผู้บริหารและนำการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลก
         1.2 ในปี พ.ศ. 2564 ก.พ. มีมติเห็นชอบกรอบมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง (ฉบับปี พ.ศ. 2563) เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นใช้เป็นมาตรฐานกลางในการดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง
ในราชการพลเรือน รวมทั้งเป็นกรอบในการพิจารณารับรองหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นด้วย โดยที่การผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ. หรือหลักสูตรอื่นใด ที่ ก.พ. รับรอง เป็นเงื่อนไขตามมาตรฐาน
กำหนดตำแหน่งของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร
         1.3 ที่ผ่านมามีหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นขอให้ ก.พ. พิจารณาให้การรับรอง ซึ่ง ก.พ.
ได้พิจารณาเห็นชอบให้ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ก.พ. กำหนด ต้องเข้ารับการฝึกอบรมใน “โครงการฝึกอบรมเสริมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง (ส.นบส.)” ของสำนักงาน ก.พ.
เพื่อเสริมเนื้อหาสาระที่จำเป็นบางส่วนตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรฯ จึงจะเป็นผู้มีคุณสมบัติเสมือนได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร
นักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ.

วัตถุประสงค์

        โครงการฝึกอบรมเสริมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง (ส.นบส.) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเสริมเนื้อหาสาระและสร้างทัศนะ (Mindset) พัฒนาทักษะ (Skillset) และติดอาวุธทางการบริหาร (Toolset) ที่จำเป็นตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หรือ
หลักสูตรเฉพาะด้านที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากสำนักงาน ก.พ. จึงจะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเสมือนได้ผ่านการฝึกอบรม
หลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ. โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา ดังนี้
๑) เพื่อพัฒนานักบริหารระดับสูงภาคราชการที่ได้รับการยอมรับ ความเชื่อถือ ไว้วางใจ และ
ความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) จากผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒) ความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และยืดหยุ่น สร้างการเปลี่ยนแปลง
ที่เหมาะสม ทั้งในระดับตนเอง ทีมงาน องค์กร และระบบราชการ (Agile Leader)
๓) ความพร้อมในการผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ (Driving Execution
and Results) เพื่อประโยชน์แก่ภาครัฐและการพัฒนาประเทศ
๔) ส่งเสริมการทำงานบูรณาการระหว่างส่วนราชการ (Collaborative Capability) โดยสร้าง
เครือข่ายของนักบริหารระดับสูงที่จะนำไปสู่การทำงานบูรณาการข้ามส่วนราชการ ผ่านกิจกรรมกลุ่มและ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าอบรมจากต่างส่วนราชการ 

ปรัญญาและแนวความคิดของหลักสูตร

ปรัชญา

            เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำ และความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพงาน        และคุณภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้ในปัจจุบัน และสอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของบทบาทหน้าที่การงาน       และชีวิตในอนาคต ซึ่งนำไปสู่การได้รับการยอมรับ ความเชื่อมั่น และความศรัทธา (Trust and Confidence) จากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน และจากทุกภาคส่วน

แนวคิด

  1. เป็นหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการทำหน้าที่การบริหารจัดการและบทบาทภาวะผู้นำ (Management and Leadership Roles and Functions) ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารตนและการบริหารคน การบริหารเป้าหมายทิศทาง และการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารผลลัพธ์ และการบริหารทรัพยากร และเทคโนโลยีการทำงาน
  2. ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้พัฒนาตนเอง (Personal Development) และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่นด้วยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
  3. จัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถตอบสนองรูปแบบ (Styles) ความต้องการและความจำเป็นเฉพาะตน (Individual Needs) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำได้ โดยให้ความสำคัญกับเครื่องมือและกระบวนการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การบริหารแผนการพัฒนาเฉพาะตน (Individual Development Plan)
    ที่เชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาของส่วนราชการ (Organization HRD Plan)
  4. พัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทันสมัย โดยเน้นทั้งสมรรถนะที่เป็นสากลและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบริบทราชการไทย
  5. เป็นหลักสูตรที่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วนสมดุลในทุกมิติ ได้แก่ การเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Learning to Learn) การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตามรูปแบบภาวะผู้นำและการบริหารจัดการของตนในสถานการณ์ต่าง ๆ (Learning to do)
    การเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Learning to be) และการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลายของบุคคลและสังคม (Learning to Live with Others) เพื่อให้นักบริหารระดับสูงได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ การปฏิบัติ การมีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแสดงภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย
ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content