Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
ทุนสำหรับบุคลากรภาครัฐe-Learning
เมนูที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับโครงการ นบส. 2

หลักการและเหตุผล

          การพัฒนาผู้บริหารขององค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันและการเจริญเติบโตขององค์กรและของประเทศ เพื่อสร้างผู้นำที่มีความสามารถที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความแตกต่างและซับซ้อน มีมุมมองและวิสัยทัศน์ในระดับของสังคมโลกที่เชื่อมต่อและโยงใยกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น มีความพร้อมที่จะใช้กระบวนการทำงานแบบใหม่ สามารถสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานและประสานการบริหาร สามารถใช้กระบวนการทำงานแบบส่งเสริมความร่วมมือของบุคลากรภายในและเครือข่ายการทำงานภายนอกให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำสำหรับอนาคต

          สำนักงาน ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พิจารณาเห็นความจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง โดยได้ดำเนินโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส. 2) สำหรับรองหัวหน้าส่วนราชการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นการเสริมสร้าง (Enhance) เร่งเร้า (Accelerate) และรักษาไว้ (Maintain) ซึ่งศักยภาพและสมรรถนะด้านการบริหาร และเพื่อเตรียมการให้รองหัวหน้าส่วนราชการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายการบริหารในราชการเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการสามารถนำการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนได้อย่างยั่งยืน

เจตนารมณ์

เจตนารมณ์

โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส. 2) มีเจตนารมณ์เพื่อเตรียมนักบริหารผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการ ให้มีความพร้อมที่จะรับตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการปรับเปลี่ยนบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ (Preparing for Critical Position)

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนานักบริหารให้เป็นผู้นำที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กรนวัตกรรม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง มีภาวะผู้นำระดับสากล มีทักษะการบริหารที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน เป็นผู้นำต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นข้าราชการส่วนกลาง ข้าราชการส่วนภูมิภาค และทุกภาคส่วน และที่สำคัญ เพื่อมีความพร้อมที่จะรับตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างมีนัยสำคัญ (Preparing for Critical Position)

กลุ่มเป้าหมาย

ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน ๔๐ คน

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพความเป็นเลิศด้านภาวะผู้นำที่มีความเป็นสากล เสริมทักษะทางการบริหารยุคใหม่ เป็นผู้นำต้นแบบที่พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน และมีเครือข่ายคุณภาพในการบริหารราชการ สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน
  2. ผลงานทางวิชาการของนักบริหารที่ดำเนินการศึกษาและจัดทำระหว่างการฝึกอบรม

องค์ประกอบเนื้อหาวิชา

ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
      1.ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills)
      2.ทักษะด้านการบริหาร (Managerial Skills)
      3.ทักษะด้านอารมณ์และการบริหารจัดการความคิด (Soft Skills)

วิธีการอบรม

ดำเนินการผสมผสานระหว่างการอบรมออนไลน์และในชั้นเรียน ด้วยรูปแบบวิธีการดังนี้

  1. การอบรมในชั้นเรียน (Training)
  2. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารองค์กรกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน การเมือง ผู้นำทางความคิด สื่อมวลชน และอื่น ๆ (Executive Forum)
  3. การเสริมศักยภาพและสร้างทักษะทางการบริหารด้วยการเรียนรู้อย่างเข้มข้นเพื่อถอดรหัสการบริหารองค์กรจากที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน (Executive Coaching)
  4. การศึกษาดูงานภายในประเทศ (Field Trip) และการศึกษาดูงานผ่านระบบออนไลน์กับองค์กรต่างประเทศ (Virtual Field Trip)
  5. การจัดทำผลงานวิชาการ (Group Project)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วิทยาลัยนักบริหาร สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. 
เลขที่ 47/111 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร 0-2547-1000 ต่อ 6937, 1785, 1755
โทรสาร 0-2547-2049

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content