Accessibility Tools

สำนักงาน ก.พ. (OCSC)

ocsc-nav-logo

ติดต่อเรา

Search
Close this search box.
ทุนสำหรับบุคลากรภาครัฐe-Learning
เมนูที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรการสอนงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างด้วยการ โค้ช (Coaching) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)

หลักการและเหตุผล

การก้าวสู่สังคมเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ในภาครัฐต้องเผชิญกับความท้าทายหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ การให้บริการเชิงสร้างสรรค์ และการคิดค้นเชิงนวัตกรรม เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และความต้องการของสังคมและผู้รับบริการ ยังผลให้บุคลากรภาครัฐต้องมีการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถตนเองเพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ที่เกิดขึ้น

                แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ตลอดจoเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจของรัฐไปสู่เป้าหมายการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนหนึ่งของแผนงานได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐเห็นความสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำ เพื่อให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์การเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่าง (Leadership by Example) และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง

                   หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าวก็คือ ผู้สอนงาน (Coach) หรือพี่เลี้ยง (Mentor) ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในองค์กร รวมทั้งเป็นผู้กระตุ้น โน้มน้าว และสร้างกำลังใจที่จะปรับปรุงและการพัฒนางานให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน ซึ่งโดยมากมักเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ใกล้ชิดการทำงานของบุคลากรดังกล่าว

                   โดยที่การโค้ช (Coaching) เป็นบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของผู้บังคับบัญชาในการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) เนื่องจากสามารถดึงศักยภาพภายในของบุคลากรไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำนักงาน ก.พ. พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็น การสนับสนุนให้บุคลากรภาครัฐ ได้มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านการสอนงานที่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่าง โดยการโค้ช (Coaching) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ขึ้น เพื่อให้ผู้สอนงานหรือผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการรับบทบาทโค้ชและผู้สอนงานอย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และปรารถนาที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีขีดสมรรถนะที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่าง โดยการโค้ชและการเป็นผู้สอนงานหรือ
    พี่เลี้ยงเพื่อดึงศักยภาพของสมาชิกในทีมงานหรือองค์กรมาใช้ในการพัฒนาผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการ กระบวนการ และเทคนิควิธีการโค้ชที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถนำการโค้ชไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์และทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงาน

ประเด็นเนื้อหา

แนวความคิดด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของหัวหน้างาน TAPS Model มิติในการวิเคราะห์ตัวตน และการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินบุคลิกภาพ หลักการพื้นฐานของการสอนงานและการโค้ช ทักษะการฟังและการสะท้อนสิ่งที่ฟัง การตั้งคำถามเพื่อการเปลี่ยนแปลง กระบวนการสอนงานและการโค้ชโดยใช้ GROW Model รวมทั้งเทคนิค วิธีการสอนงานและการโค้ชในขั้นตอนต่าง ๆ อาทิ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับการสอน (Rapport Building) เทคนิคการให้ความคิดเห็นต่อผลการปฏิบัติงาน (Feedback) ตลอดจนการจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะผู้สอนงาน

วิธีการ

การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิเช่นเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมสมอง การฝึกการโค้ช และการทดลองปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)

วิทยากร

วิทยากรซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการโค้ชจากสถาบันชั้นนำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรสำหรับโค้ชมืออาชีพในระดับ Approved Coach Specific Training Hours (ACSTH) จากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ International Coach Federation (ICF)

ท่านคิดว่าข้อมูลหน้าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ใช่ ไม่
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ด้วยการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
Skip to content